สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
พรศักดิ์ ชุ่มกิ่ง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรศักดิ์ ชุ่มกิ่ง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อมูลพื้นฐานบางประการของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังในตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปี 2546 จำนวน 637 ราย เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง 246 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.99 ปี สมรสแล้ว มีบุตรเฉลี่ย 2.78 คน สำเร็จการศึกษาระดับประถมปีที่ 4 สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.65 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.71 คน พื้นที่ถือครองการเกษตรเฉลี่ย 55.71 ไร่ ประกอบอาชีพการทำไร่ ส่วนใหญ่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. มีการกู้เงินมาลงทุนปลูกมันสำปะหลัง มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 29.50 ไร่ มีรายได้จากภาคเกษตรเฉลี่ย 104,833 บาท รายได้จากการปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 72,581 บาท มีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 15.6 ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านการอบรม แต่ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 โดยซื้อพันธุ์จากภายนอกหมู่บ้าน ไม่มีการปรับปรุงดิน และใช้ปุ๋ยคอกน้อยกว่า 1 ตัน/ไร่ ไถเตรียมดิน 2 ครั้ง ส่วนใหญ่มีการยกร่องตามแนวลาดเทของพื้นที่ ใช้การปลูกแบบปักตรง ส่วนใหญ่ตัดท่อนพันธุ์ยาว 20 เซนติเมตร ปักครึ่งหนึ่งของท่อนพันธุ์ ส่วนใหญ่คิดว่าใช้ส่วนกลางของท่อนพันธุ์ดีที่สุด ใช้ท่อนพันธุ์อายุ 11-12 เดือน ปลูกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ใช้ระยะปลูกต่ำกว่า 0.8 x 0.8 เมตร เกษตรกรมีการกำจัดวัชพืชจำนวน 3 ครั้ง ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 26-50 ก.ก./ไร่ โดยใส่ปุ๋ยเคมีหลังจากปลูก 3 เดือน ส่วนใหญ่มีการกลบปุ๋ย เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังอายุ 11-12 เดือน ไม่มีการวัด เปอร์เซนต์แป้งก่อนการขุดเก็บเกี่ยว ได้ผลผลิตเฉลี่ย 3,165.30 ก.ก./ไร่ มีปัญหาในด้านปัจจัยการผลิตราคาแพง ราคาจำหน่ายผลผลิตไม่แน่นอน ขาดเงินทุน เกษตรกรมีความต้องการในด้านการประกันราคามันสำปะหลัง การใช้พันธุ์ดี แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ความรู้เรื่องเทคโนโลยีการผลิต มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ เทคนิควิธีการปรับปรุงดิน การศึกษาดูงานการผลิตมันสำปะหลัง การปลูกพืชตระกูลถั่วแซมมัน การประชุมสัมมนา ระยะเวลาปลูกที่เหมาะสม และการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต ข้อเสนอแนะควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ควรจัดการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปรับปรุงดิน และควรแนะนำให้เกษตรกรมีการวัดเปอร์เซนต์และปริมาณแป้งมันสำปะหลังก่อนการขุดเก็บเกี่ยว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา อาหารจากมันสำปะหลัง สภาพการผลิตส้มโอของเกษตรกรในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลหนองกรวด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีในการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก