สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาสืบพันธุ์ของปลาทูในบริเวณอ่าวไทยตอนใน
ปิยวรรณ หัสดี, ปุณณวิทย์ แก้วมูล, ขนิษฐา เสรีรักษ์, เรวัต แก้ววิจิตร, ศรีประภา สิทธิโชคธนา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาสืบพันธุ์ของปลาทูในบริเวณอ่าวไทยตอนใน
ชื่อเรื่อง (EN): Reproductive Biology of Short Mackerel in the inner Gulf of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ชีววิทยาสืบพันธุ์ของปลาทูในบริเวณอ่าวไทยตอนใน ได้ทำการศึกษาปลาทู [Rasrtrelliger brachysoma, (Bleeker, 1851)] ในบริเวณอ่าวไทยตอนใน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2557 โดยเก็บตัวอย่างจากเครื่องมือประมงประเภท อวนล้อม อวนลอย และโป๊ะ บริเวณอ่าวไทยตอนใน ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี จนถึงจังหวัดเพชรบุรี ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียของปลาทู มีค่าเท่ากับ 1 ต่อ 1.16 ขนาดเริ่มสืบพันธุ์ของปลาทูเพศเมียเท่ากับ 17.52 เซนติเมตร ความดกไข่เฉลี่ยเท่ากับ 31,924.54 + 2,027.60 ฟอง ปลาทูในบริเวณอ่าวไทยตอนในมีการสืบพันธุ์วางไข่ได้ตลอดทั้งปี และมีช่วงการวางไข่มากที่สุด 2 ช่วงเวลาในรอบ 1 ปี อยู่ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน และอีกช่วงคือเดือนพฤศจิกายนตามลำดับ แหล่งสืบพันธุ์วางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนในอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีและจังหวัดเพชรบุรี
บทคัดย่อ (EN): Study on reproductive biology of short mackerel [Rasrtrelliger brachysoma, (Bleeker, 1851)] in the inner Gulf of Thailand was conducted in year 2014 during January to December. Data collecting was done by collected data from ports and piers along coastline in the inner Gulf of Thailand in from Chonburi to Petchaburi. Study result found sex ratio between male to female was 1 to 1.16. Average fecundity was 31,924.54 + 2,027.60. Short mackerel can spawn all year round. However peak of spawning period found in August to September while and the other was in November. Spawning areas were found around Chonburi province and Pechaburi Province.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาสืบพันธุ์ของปลาทูในบริเวณอ่าวไทยตอนใน
กรมประมง
30 กันยายน 2558
กรมประมง
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาทูแขกครีบยาว Decapterus maruadsi (Temminck & Schlegel, 1843) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาแข้งไก่(Megalaspis cordyla (Linnaeus,1758)) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenopthalmus Bloch, 1793)) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกสายขาว (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) บริเวณอ่าวไทยตอนใน ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) ในอ่าวไทย แบบจำลองทางเศรษฐกิจ-ชีววิทยาเพื่อการจัดการประมงปลาทูบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก การประมง แหล่งและฤดูวางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย โครงสร้างทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินบริเวณอ่าวไทยตอนในถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก