สืบค้นงานวิจัย
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหงส์เหินชนิด Globba winitii Gangnep
วีระอนงค์ คำศิริ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหงส์เหินชนิด Globba winitii Gangnep
ชื่อเรื่อง (EN): Morphology of Globba winitii Gangnep.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีระอนงค์ คำศิริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Weeraanong Kumsiri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ฉันทนา สุวรรณธาดา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Chuntana Suwanthada
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหงส์เหินชนิด Globba winiti Gagnep. แบบช่อขาว ศึกษา จากต้นพืชที่อยู่ในระยะของการเจริญเดิบใตแตกต่างกัน พบว่า พืชชนิดนี้เป็นพืชหัวใบเลี้ยงเดี่ยว มีการเจริญเติบโตแบบแตกกอ มีลำต้นเรียวยาวสีเขียว หัวเป็นแบบเหง้าสั้นมีรากสะสมอาหารติดอยู่เป็นกระจุกที่ โคนหัวรากเป็นรากฝอย ใบเรียงตัวแบบเวียนรอบลำต้น ประกอบด้วยกาบใบห่อหุ้มลำต้นและแผ่นใบรูปหอกมีสีเขียวช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะแยกแขนง ช่อยาว หลวมและห้อยลง มีใบประดับสีขาวเกิดตามแนกลางช่อดอก ดอกย่อยมีสีเหลืองเกิดออกมาจากซอกของใบประดับย่อยซึ่งอยู่บนแกนย่อยของช่อดอกดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศแบบไม่สมมาตร ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีโคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกกัน กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ กลีบดอกมี 6 กลีบ 3 อันเป็นกลีบปกติ อีก 3 อันเป็นเกสรตัวผู้ลดรูปซึ่งหนึ่งกลีบมีลักษณะเหมือนปากเกสรตัวผู้ที่ปกติมี 1 อัน เกสรตัวเมียมีก้านเกสรยาวแทรกอยู่ในร่องของก้านชูอับละอองเกสร รังไข่อยู่ต่ำกว่าส่วนประกอบอื่นของดอก มี 1 ช่อง ไข่อ่อนติดกับผนังรังไข่แบบพลาเซนตาตามแนวตะเข็บ ฝักเป็นแบบผลแห้งแตก รูปร่างกลมรี เมล็ดมีขนาดใหญ่รูปร่างกลมรี
บทคัดย่อ (EN): Morphological study of white Globba winitii Gagnep. was carried out, observing from the plants at various stages of growth and development. It showed that the plant was monocotyledonous bulbous plant having green and slender stem. The plant produced compact rhizomes with some storage roots attached to each rhizome. The root system was fibrous. The leaf phyllotaxis was spiral. The leaf comprised of a leaf sheath folded around the stem and a green lanceolated lamina. The inflorescence was hanging, long and loose racemose penicle, bearing white bracts along the rachis. The yellow florets were found located at the axils of bracteoles of each rachilla. The flower was of asymmetrical perfect type with short pedicel. Sepals were 3 in number. Corolla comprised of 3 ordinary petals and 3 petaloid staminodes. One petaloid staminode modified as a lip. The basal parts of sepals and petals were fused forming calyx tube and corolla tube, respectively. The flower had only one normal stamen. The pistil obtained a long thread -like style located along the filament furrow. The ovary was inferior and mono-loculed. Ovules attached parietally to placenta. The oblong-shaped pod was of capsule type containing large oval seeds.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246954/168949
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหงส์เหินชนิด Globba winitii Gangnep
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2546
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา ลักษณะนิเวศวิทยาของโสนในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผลผลิตของโสนในพื้นที่ปลูก ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Colletotrichum spp. โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเทคนิค ISSR ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อลักษณะสัณฐานวิทยาของกระเจี๊ยบเขียว ที่ผลิตในภาคใต้ของประเทศไทย ชนิดพันธุ์และลักษณะสัณฐานวิทยาที่คลุมเครือนำไปสู่การประเมินความหลากหลายโมเลกุลของเชื้อราแมลง (ทุนวิจัยเพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์ นายสิรภพ ภูมิภูติกุล) ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อลักษณะทางสัณฐานบางประการและการเจริญเติบโตของปลานิล การศึกษาลักษณะทางนิเวศน์วิทยาและสัณฐานวิทยาของกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ ในสกุลซีโลจีเนและสกุลซิมปิเดียมที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ศึกษาโครงสร้าง สัณฐานวิทยา การวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของเปลือกไข่นกไทยโดยนาโนเทคโนโลยี ลักษณะสัณฐานและกายวิภาคของแก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.) ที่ปลูกในประเทศไทย ค่าความชุกและสัณฐานวิทยาของหนอนพยาธิในลำไส้กบนาชนิด Hoplobatrachus rugulosus (Wiegmann, 1834) จากอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก