สืบค้นงานวิจัย
การอนุบาลปลาเวียนในบ่อซีเมนต์ด้วยความหนาแน่นแตกต่างกัน
ญาณัท แสงชื่น - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การอนุบาลปลาเวียนในบ่อซีเมนต์ด้วยความหนาแน่นแตกต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Nursing on Greater Brook Carp (Tor tambroides Bleeker, 1854) at Different Stocking Densities in Cement Tanks
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ญาณัท แสงชื่น
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการเจริญเติบโตและต้นทุนผลผลิตของการเลี้ยงปลาเวียนจากขนาด 7 เซนติเมตร ให้ได้ขนาด 13 เซนติเมตร ที่ระดับความหนาแน่น 50, 100 และ 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 7.69?0.75, 7.86?0.14 และ 7.78?0.21 เซนติเมตร ตามลำดับ และน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 5.37?0.17, 5.66?0.19 และ 5.17?0.79 กรัม ตามลำดับ เลี้ยงปลาเวียนในบ่อคอนกรีตขนาด 2 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 25 เซนติเมตร จำนวน 9 บ่อ ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ โปรตีน 40 เปอร์เซ็นต์ โดยให้กินจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง เลี้ยงเป็นระยะเวลา 32 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ปลาเวียนมีความยาวสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 13.21?0.20, 13.73?0.88 และ 14.26?0.60 เซนติเมตร น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 23.43?1.42, 25.90?2.45 และ 28.96?3.09 กรัม น้ำหนักเพิ่มต่อวันมีค่า 0.07?0.00, 0.08?0.01 และ 0.10?0.01 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ โดยน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย และน้ำหนักเพิ่มต่อวันของปลาเวียนที่เลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มากกว่าปลาเวียนที่เลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 50 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) กับปลาเวียนที่เลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 100 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร และปลาเวียนที่เลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 100 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย และน้ำหนักเพิ่มต่อวัน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับปลาเวียนที่เลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 50 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร อัตราการรอดตายเฉลี่ยทั้ง 3 ชุดการทดลองเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ อัตราการกินอาหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.19?0.10, 1.51?0.25 และ 1.27?0.18 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ จากการทดลองพบว่า ทุกชุดการทดลองมีอัตราการรอดตาย และอัตราการกินอาหารแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยระยะเวลาที่เลี้ยงให้ได้ขนาดความยาวเหยียด 13 เซนติเมตร เท่ากับ 32, 28 และ 24 สัปดาห์ ตามลำดับ และต้นทุนการผลิตต่อตัวเท่ากับ 239.37, 168.29 และ 144.25 บาท ตามลำดับ เมื่อพิจารณาด้านอัตราการเจริญเติบโต ระยะเวลาการเลี้ยง และต้นทุนการผลิต สรุปได้ว่า การเลี้ยงปลาเวียนในบ่อคอนกรีตจากขนาด 7 เซนติเมตร เป็น 13 เซนติเมตร ที่ระดับความหนาแน่น 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร เป็นระดับความหนาแน่นที่เหมาะสม เนื่องจากมีอัตราการเจริญเติบโตดีที่สุดระยะเวลาการเลี้ยงน้อยสุดและต้นทุนการผลิตต่อตัวน้อยที่สุด
บทคัดย่อ (EN): The study on growth and product cost of culture Greater Brook Carp Tor tambroides (Bleeker, 1854) from 7 centimeters to 13 centimeters at stocking densities of 50, 100 and 150 fish per cubic meter. The averages initial length were 7.69 ? 0.75, 7.86 ? 0.14 and 7.78 ? 0.21 cm, respectively, and the averages initial weight were 5.37 ? 0.17, 5.66 ? 0.19 and 5.17 ? 0.79 grams, respectively. Fish were cultured in 2 square meters at water depth 25 centimeters of 9 concrete ponds. Fish were fed with commercial floating pellets of 40 percent protein, feed until saturated 2 times a day for 32 weeks.The result showed the averages final length of the fishes were 13.21 ? 0.20, 13.73 ? 0.88, and 14.26 ? 0.60 centimeters. The average final weights were 23.43 ? 1.42, 25.90 ? 2.45 and 28.96 ? 3.09 grams. The daily weight gains were 0.07 ? 0.00, 0.08 ? 0.01 and 0.10 ? 0.01 grams per fish per day, respectively. The average final weight and weight gain per day of the fish cultured at the stocking density of 150 fish per cubic meter better than the fish at the stocking density of 50 fish per cubic meter with statistically significant (p0.05) with the fish at the stocking density of 100 fish per cubic meter. The fish was cultured at a stocking density of 100 fish per cubic meter has average final weight and daily weight gain per day was not differences statistically significant (p>0.05) with the fish at the density of 50 fishes per cubic meter. The average survival rate in all 3 treatments was 100 percent. The average feeding rate was 1.19 ? 0.10, 1.51 ? 0.25 and 1.27 ? 0.18 percent per day, respectively. All treatments had survival rates and feed intake rates were not statistically significant (p>0.05). Time for fish culture until the length was 13 centimeters were 32, 28 and 24 weeks, respectively, and production cost per fish was 239.37, 168.29 and 144.25 baht, respectively. Consider with the growth rate, period time and production cost it can be concluded that culture the fish in concrete ponds from 7 centimeters up to 13 centimeters at the stocking density of 150 fish per cubic meter was the3most appropriate stocking density because having the best growth rate, least time and the least of production cost per fish.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การอนุบาลปลาเวียนในบ่อซีเมนต์ด้วยความหนาแน่นแตกต่างกัน
กรมประมง
31 มีนาคม 2559
กรมประมง
การอนุบาลปลาม้าในบ่อซีเมนต์ระบบน้ำหมุนเวียนด้วยความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลปลาบู่ขนาด 5 เซนติเมตรในบ่อดินด้วยความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศด้วยสูตรอาหารและความหนาแน่นที่ต่างกัน การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดินที่ความหนาแน่นต่างกัน ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน การเลี้ยงปลาเผาะร่วมกับปลาบึกในบ่อดินเพื่อการค้า การเลี้ยงปลาแดงเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ความหนาแน่นต่างกัน การพัฒนาระบบอนุบาลลูกหอยนางรมระยะวัยเกล็ดจากโรงเพาะฟักแบบความหนาแน่นสูงในบ่อดิน ผลผลิตกุ้งฝอย(Macroobrachium lanchesteri de Man) ในบ่อซีเมนต์และกระชังที่มีและไม่มีวัสดุดินและวัสดุยึดเกาะหลบซ่อน ผลของความหนาแน่นต่อผลผลิตปลากระดี่หม้อ Trichogaster trichopterus (Pallas, 1770) ในนาข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก