สืบค้นงานวิจัย
ความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดไพลในหนู
อรพรรณ โพชนุกูล - กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ชื่อเรื่อง: ความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดไพลในหนู
ชื่อเรื่อง (EN): Acute and Chronic Toxicities of Phlai (Zingiber cassumunar) Extract in Rats
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรพรรณ โพชนุกูล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ไพล (Zingiber cassumunar Roxb.) เป็นสมุนไพรที่ใช้ในตาราแพทย์แผนไทย โดยใช้เหง้าไพลในการรักษาโรคหืด อย่างไรก็ตามความรู้ในเรื่องความเป็นพิษของพืชชนิดนี้ยังมีน้อย การวิจัยนี้จึงทาการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดไพลในหนูขาวเพศผู้และเพศเมีย วัสดุและวิธีการ: ทาการสกัดเหง้าไพลด้วยethyl alcohol 95% โดยใช้ Soxhlet apparatus เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ทาสารสกัดให้แห้งโดย rotary evaporation แล้วนาสารสกัดไพลมาตรฐาน (Specific Phlai Extract, SPE)ไปตรวจสอบความเป็นพิษเฉียบพลันและรื้อรังในหนู ในการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันหนูขาวเพศผู้และเพศเมียถูกป้อนด้วยSPEในขนาด 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวในครั้งเดียว (single dose) และทาการประเมินอาการเป็นพิษแบบเฉียบพลันและชั่งน้าหนักตัวทุกวันติดต่อกัน 14 วัน เมื่อสิ้นสุดการทาลองวันที่ 14 ทาการชั่งน้าหนักอวัยวะ ตรวจสอบลักษณะทางกายวิภาคและพยาธิวิทยา ส่วนการศึกษาความเป็นพิษเรื้อรังในหนูขาวทั้งเพศผู้และเพศเมียกระทาโดยการป้อน SPE ขนาด 0.3, 3, 30, 11.25, 112.5 และ 1,125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวทางปากทุกวันเป็นเวลา 270 วันและ 28 วันภายหลังจากได้รับ SPE ไป 270 วัน (กลุ่มทดลองแบบติดตามผล ,satellite) แล้วทาการชั่งน้าหนักอวัยวะ ตรวจลักษณะทางกายวิภาคและพยาธิวิทยา ผลการวิจัย: การศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลันไม่พบความผิดปกติใดๆจากป้อน SPE ครั้งเดียวในขนาด 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวในหนูขาว เมื่อทาการประเมินพฤติกรรมน้าหนักตัว น้าหนักอวัยวะ ลักษณะทางจุลกายวิภาคไม่พบความผิดปกติใดๆเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ากลั่น ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการได้รับ SPE ขนาด 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวครั้งเดียวทางปากไม่ก่อพิษเฉียบพลันในหนูขาว การศึกษาความเป็นพิษแบบเรื้อรังพบว่าจากการสังเกตอาการ พฤติกรรมและตรวจสุขภาพสัตว์ทดลองภายหลังจากการป้อนสารทดสอบไม่พบว่ามีความผิดปกติใดๆ ของหนูขาวกลุ่มที่ได้รับสารทดสอบทุกกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ในวันที่ 270 ของกลุ่มที่ได้รับสารทดสอบและกลุ่มควบคุมและวันที่ 298 ของกลุ่มทดลองแบบติดตามผล ได้มีการชั่งน้าหนักตัวสุดท้าย น้าหนักอวัยวะ การผ่าพิสูจน์ซากสัตว์ทดลอง การตรวจค่าโลหิตวิทยา ค่าเคมีคลินิกของเลือดและการตรวจจุลกายวิภาค ไม่พบว่ามีความผิดปกติใดที่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม เมื่อนาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลของอาการ พฤติกรรมและการตรวจสุขภาพสัตว์ทดลองสามารถสรุปได้ว่าการได้รับSPEในขนาด 0 .3, 3, 30, 11.25, 112.5 และ 1,125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวทางปากเป็นเวลา 270 วันไม่ก่อพิษเรื้อรัง บทสรุป: ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่าสารสกัดไพลมีสารสาคัญในไพลไม่มีสารที่ก่อให้เกิดความเป็นผิดปกติแบบเฉียบพลันและเรื้อรังในหนู
บทคัดย่อ (EN): Background and aim: Zingiber cassumunar Roxb (Phlai) is used as folk medicine in Thailand. The rhizome of this plant is traditionally used for the treatment of asthma. However, little is known about the toxicity of this plant. In this study the acute and chronic toxicities of this plant were evaluated. Materials and methods: The rhizomes of Z. cassumunar were extracted with 95% ethyl ethanol for 6 h using a Soxhlet apparatus. The standardized Phlai extract (SPE) was obtained after rotary evaporation. Acute and chronic toxicities of SPE were conducted in male and female rats. After 14 days of a single oral administration of SPE 5,000 mg/kg body weight, measurement of the body and organs weights, necropsy and health monitoring were performed. The chronic toxicity was determined by oral feeding both male and female rats daily with SPE 0.3, 3, 30, 11.25, 112.5 and 1,125 mg/kg body weight for 270 days. Both test and control groups (day 270th) and satellite group (day 298th) were analyzed by measuring their final body and organ weights, taking necropsy, and examining hematology, blood clinical chemistry, and histopathology. Results: No signs and differences in the weights and behavior were observed relative to the control rats in the acute toxicity assessment. The results indicated the single oral administration of SPE in the amount of 5,000 mg/kg body weight does not produce acute toxicity. In chronic toxicity evaluation, the examinations of signs, animal behavior and health monitoring showed no defects in the test groups as compared to the controls. Histological evaluation did not show any differences between the experimental and the control rats. Analyses of these results with the information of signs, behavior and health monitoring can lead to a conclusion that an oral administration of SPE 0.3, 3, 30, 11.25, 112.5 and 1,125 mg/kg body weight for 270 days does not cause chronic toxicity. Conclusion: SPE has no acute and chronic toxic effects on rats after oral administration of SPE for 14 days and 270 days, respectively.
เลขทะเบียนวิจัยกรม: ไม่ระบุ
ชื่อแหล่งทุน: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: ไม่ระบุ
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 000000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: http://ttdkl.dtam.moph.go.th/Module7/frmc_home_research_show.aspx?r_id=NDY2
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดไพลในหนู
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การตรวจสอบฤทธิ์กลายพันธุ์และต้านการกลายพันธุ์ของสารสกัดยาแผนโบราณไทย การวิจัยวิธีการเขตกรรมเพื่อพัฒนาผลผลิตและคุณภาพของไพล การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ผลของการได้รับสารสกัดไพลมาตรฐานต่อเภสัชจลนศาสตร์ของ compound D ในมนุษย์และการกระจายตัวของสาร D ในหนูทดลอง ชนิดของเห็ดมีพิษ การพัฒนาแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดไพลและสารเมือกจากเมล็ดแมงลัก สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและความเป็นพิษของกระเจี๊ยบเขียวต่อเซลล์เพาะเลี้ยง การเตรียมสารสำคัญจากไพลและการทดสอบคุณสมบัติต้านการอักเสบนอกกาย ผลของสารสกัดไพลมาตรฐานต่อการต้านการอักเสบและยับยั้งการหดตัวของหลอดลมหนูที่ถูกกระตุ้นด้วยฮิสตะมีน ผลของยาไพลในการยับยั้งปฏิกิริยารอยนูนแดงของสารฮิสตะมีนและสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังของผู้ป่วยโพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก