สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุพจน์ หารหนองบัว - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุพจน์ หารหนองบัว
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ยางธรรมชาติอิพอกซิไดซ์เป็นสารช่วยผสมสำหรับ การใช้มอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปรเป็นตัวเติมเสริมแรงในยางธรรมชาติ โดยใช้ยางธรรมชาติอิพอกซิ ไดซ์ที่มีปริมาณหมู่อิพอกซีร้อยละ 25 (ENR25) และร้อยละ 50 (ENR50) ในปริมาณ 5, 10 และ 15 ส่วนในร้อยส่วนของยาง (part per hundred of rubber, phr) และใช้มอนต์มอริลโลไนต์ที่ดัดแปรใน ปริมาณ 2, 5 และ 10 phr บดผสมกับสารเคมีที่จำเป็นสำหรับการวัลคาไนซ์ด้วยกำมะถัน นำยาง คอมพาวด์ที่ได้มาทดสอบสมบัติการคงรูป ก่อนที่จะนำไปอัดขึ้นรูปให้เกิดการวัลคาไนซ์เป็นยางคง รูปสำหรับทดสอบสมบัติเชิงกล ผลการทดลองพบว่าระยะเวลาการเกิดสกอร์ชและระยะเวลาการคง รูปของยางคอมพาวด์ที่ใช้มอนต์มอริลโลไนต์เป็นตัวเติมสัน้ ลงอย่างมากเนื่องจากหมู่แอมีนช่วยเร่ง ให้การวัลคาไนซ์เกิดเร็วขึ้น แต่เมื่อใช้ยาง ENR25 เป็นสารช่วยผสม ระยะเวลาการเกิดสกอร์ชและ ระยะเวลาการคงรูปไม่ลดลงมากนักเนื่องจากหมู่อิพอกซีสามารถทำปฏิกิริยากับหมู่แอมีนของมอนต์ มอริลโลไนต์ได้ แต่เมื่อใช้ยาง ENR50 เป็นสารช่วยผสม ระยะเวลาการเกิดสกอร์ชและระยะเวลาการ คงรูปกลับลดลงอีกเนื่องจากหมู่อิพอกซีไปเร่งปฏิกิริยาวัลคาไนซ์ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้มอนต์ มอริลโลไนต์ดัดแปรเป็นตัวเติม ยังช่วยปรับปรุงสมบัติเชิงกลของยางคงรูป ได้แก่ ความต้านแรงดึง มอดุลัส ความยืดสูงสุด ณ จุดขาด ความต้านแรงฉีกขาด และความแข็ง ของยางคงรูป โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อใช้ในปริมาณน้อย เนื่องจากลักษณะอนุภาคของมอนต์มอริลโลไนซ์ซึ่งสายโซ่ของพอลิ เมอร์สามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างชั้นเคลย์ได้ แต่เมื่อใช้ในปริมาณมากมอนต์มอริลโลไนต์จะ จับตัวกันทำให้ประสิทธิภาพการเสริมแรงลดต่ำลงและทำให้สมบัติเชิงกลบางประการด้อยลง ผลการ ทดลองยังชี้ให้เห็นว่าการใช้ยางธรรมชาติอิพอกซิไดซ์เป็นสารช่วยผสมสามารถปรับปรุงสมบัติ เชิงกลของยางคงรูปได้ โดยเมื่อปริมาณยางธรรมชาติอิพอกซิไดซ์เพิ่มขึ้นสมบัติเชิงกลก็มีแนวโน้มที่ ดีขึ้นด้วย อันเนื่องมาจากการที่ยางธรรมชาติอิพอกซิไดซ์ทำหน้าที่เสริมสภาพเข้ากันได้ระหว่างตัว เติมและยาง ตัวเติมจึงสามารถกระจายตัวได้ดีส่งผลให้สมบัติเชิงกลของชิ้นงานดีขึ้น และการใช้ยาง ENR25 เป็นสารช่วยผสม สามารถปรับปรุงสมบัติเชิงกลของยางคงรูปได้ดีกว่าการใช้ยาง ENR50 เล็กน้อย เนื่องจาก ENR25 ช่วยให้เกิดผลึกโดยการเหนี่ยวนำจากความเครียดได้ดีกว่า
บทคัดย่อ (EN): The effects of epoxidized natural rubber as a compatibilizer in modifiedmontmorillonite filled natural rubber were studied. Natural rubber was compounded with 2, 5 and 10 parts per hundred rubber (phr) of organically modified montmorillonite as a reinforcing filler and cured by using a sulfur system. Epoxidized natural rubber with 25 and 50 mol% epoxidic units (ENR25 and ENR50, respectively) was also used as compatibilizer at the amount of 5, 10 and 15 phr. Rubber compounds were then tested for their curing properties. Test specimens for mechanical testing were prepared by compression molding. The results indicate that, when montmorillonite was added, scorch time and cure time were reduced markedly because the amine groups in montmorillonite effectively accelerated the vulcanization. However, when ENR25 was used, scorch time and cure time were almost unchanged because of the reaction between the amine groups in montmorilonite and the epoxidic groups in ENR25. The decrease of scorch time and cure time in the case of rubber compounds compatibilized by ENR50 was due to the acceleration effects of epoxidic groups on the vulcanization reaction. The use of montmorillonite as a filler in natural rubber efficiently improved mechanical properties that are tensile strength, modulus, elongation at break, tear strength and hardness, especially with the small amount of montmorillonite. This is supposed to be related to intercalation and exfoliation process. The increasing amount of montmorillonite caused the filler to be agglomerated thus the reinforcing efficiency was reduced and some mechanical properties were dropped. It was further founded that epoxidized natural rubber compatibilized montmorillonite filled natural rubber effectively. As the amount of epoxidized natural rubber increased, the mechanical properties tended to increase. The presence of epoxidized natural rubber improved filler-rubber interaction and filler dispersion. The compatibilizing efficiency of ENR25 was slightly superior to that of ENR50. This is because ENR 25 contains more double bonds than ENR 50 hence higher strain-induced crystallinity is obtained.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การยางแห่งประเทศไทย
2557
โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา การเปลี่ยนแปลงของค่าความจุไฟฟ้าของยางธรรมชาติในขณะวัลคาไนซ์ ภายใต้แผนงาน : การวิจัยขนาดเล็ก เรื่อง ยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา (SPR) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก