สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร
ศุภนารถ เกตุเจริญ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศุภนารถ เกตุเจริญ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดบริโภคสด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคสดของเกษตรกร และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตสับปะรดบริโภคสด โดยศึกษาจากเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดบริโภคสดในจังหวัดเชียงราย เพชรบุรี ชุมพร ตราดและหนองคาย จำนวน 250 ราย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกร แล้วนำมาแจกแจงความถี่และวิเคราะห์หาค่าร้อยละและมัชฌิมเลขคณิตด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.5 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 3.8 คน สมาชิกที่เป็นแรงงานเฉลี่ย 2.2 คน มีการจ้างแรงงานในการผลิตเฉลี่ย 4.8 คนโดยจ้างแรงงานช่วงปลูกมากที่สุด อาชีพหลักของเกษตรกรคือการทำสวน อาชีพรองคือการทำไร่ พื้นที่ทำการเกษตรกรเฉลี่ย 23.1 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกสับปะรดเฉลี่ย 12.9 ปี พื้นที่ปลูกสับปะรดในปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 16.3 ไร่ รายได้จากการขายสับปะรดเฉลี่ย 56,955.5 บาท ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม ธ.ก.ส. และใช้ทุนส่วนตัวในการปลูกสับปะรด เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับสับปะรดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทั้งภาครัฐและเอกชนมากที่สุด พันธุ์สับปะรดที่เกษตรกรใช้ปลูกมากที่สุดคือ พันธุ์ปัตตาเวีย พื้นที่ปลูกสับปะรดเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่นำดินในแปลงสับปะรดไปวิเคราะห์ การเตรียมดินก่อนปลูกเกษตรกรจะไถดะ ไถพรวน ยกร่อง และปลูกในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน ส่วนใหญ่ใช้หน่อพันธุ์ซึ่งเก็บไว้เองและไม่ชุบสารเคมี เกษตรกรปลูกแบบแถวคู่ จำนวนจุกหรือหน่อพันธุ์เฉลี่ย 5,030.8 ต้นต่อไร่ ส่วนใหญ่ไม่ปลูกพืชแซมและไม่มีแหล่งน้ำ จึงไม่มีการให้น้ำสับปะรด เกษตรกรมีการคลุมดินในไร่สับปะรดโดยใช้เศษต้นสับปะรดคลุมดิน เรื่องการใส่ปุ๋ยมีเกษตรกรเพียงบางส่วนที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมีโดยใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 เป็นปุ๋ยรองพื้น สูตร 16-20-0 ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ในช่วงสับปะรดอายุ 2 เดือน ใส่ที่กาบใบล่างและครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในช่วงสับปะรดอายุ 5 เดือน ใส่ที่กาบใบล่าง นอกจากนี้เกษตรกรยังใส่ปุ๋ยทางใบใช้ปุ๋ยสูตร 23-0-30 ใส่ในช่วงสับปะรดอายุ 10 เดือนด้วย เกษตรกรใส่ปุ๋ยต้นตอครั้งที่ 1 สูตร 46-0-0 ครั้งที่ 2 สูตร 15-15-15 และครั้งที่ 3 สูตร 13-13-21เรื่องการป้องกันกำจัดวัชพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดวัชพืช ส่วนเรื่องโรคเกษตรกรพบโรคผลแกร็นมากที่สุด เมื่อพบแล้วป้องกันกำจัดโดยถอนตัดทำลาย สำหรับแมลงเกษตรกรพบเพลี้ยแป้งมากที่สุด เมื่อพบแล้วป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี เกษตรกรมีการบังคับสับปะรดออกดอก 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 บังคับด้วยการใช้สารเอทธีฟอนผสมยูเรียฉีดพ่น ครั้งที่ 2 บังคับด้วยการใช้สารเอทธีฟอนผสมยูเรียฉีดพ่นเช่นกันและครั้งที่3 บังคับด้วยการใช้ถ่านแก๊สหยิบหยอดและฉีดพ่นสารเคมีในช่วงเย็น สับปะรดที่ปลูกด้วยจุกจะบังคับการออกดอกเมื่ออายุเฉลี่ย 10.3 เดือน ส่วนสับปะรดที่ปลูกด้วยหน่อบังคับการออกดอกเมื่ออายุเฉลี่ย 8.5 เดือน เกษตรกรมีการคลุมผลสับปะรดโดยใช้ฟางข้าวหรือหญ้าแห้งคลุม เกษตรกรสังเกตผลสับปะรดเพื่อทำการเก็บเกี่ยวด้วยการดูผลเปลี่ยนสีและเก็บเกี่ยวสับปะรดในเดือนพฤษภาคมมากที่สุด ส่วนวิธีการเก็บเกี่ยวสับปะรด เกษตรกรใช้มีดตัดผลเหลือก้านติดผลและจุกแล้วจำหน่ายโดยไม่มีการทำความสะอาดผล เกษตรกรจัดการต้นตอโดยตัดต้นสับปะรดสูงเหนือดินประมาณ 20-30 ซ.ม. ผลผลิตส่งทั้งตลาดบริโภคและโรงงานกระป๋อง โดยมีการคัดเกรดก่อนขายซึ่งจะมีพ่อค้ามาซื้อและขนส่งเอง ปัญหาที่เกษตรกรพบมากที่สุดคือ ราคาสับปะรดไม่แน่นอนและราคาตกต่ำ ส่วนข้อเสนอแนะ เกษตรเสนอแนะให้รัฐแทรกแซงช่วยเหลือเรื่องราคา โดยประกันราคามากที่สุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดเชียงราย เพชรบุรี ชุมพร ตราดและหนองคาย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดในพื้นที่เกษตรกร การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลีของเกษตรกร ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลบ้านแพง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลสี่เหลี่ยม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ศึกษาใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก