สืบค้นงานวิจัย
พฤติกรรมการผลิตผักและทัศนคติในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วิจิตรา เหลียวตระกูล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการผลิตผักและทัศนคติในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง (EN): Behavior of vegetable production and attitude towards safe vegetable production of farmers in Phra Nakhon Si Ayutthaya province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิจิตรา เหลียวตระกูล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wijitra Liaotrakoon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการผลิตผัก และทัศนคติทางการเกษตร ทาง สังคม และทางเศรษฐกิจในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากกลุ่มตัวอย่าง เกษตรกรผู้ปลูกผักจำนวน 360 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม พบว่าเกษตรกรปลูกผักเป็นอาชีพหลักร้อย ละ 3.06 และเป็นอาชีพเสริมจากการทำนาร้อยละ 52.22 เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการผลิตผักแบบผสมผสานใช้ สารเคมีและสารชีวภาพ (ร้อยละ 57.14) รองลงมาคือ ใช้สารเคมี และผลิตแบบอินทรีย์ (ร้อยละ 29.11 และ 13.75 ตามลำดับ) พื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 2.11 ไร่ต่อราย และเกษตรกรผลิตผักหมุนเวียนหลายชนิดในแปลงปลูก พฤติกรรมของเกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยูละ 73.33 - 94.72) มีการเก็บเกี่ยวที่เหมะสม ยังมีการใช้สารเคมี แต่มี การควบคุมการใช้สารเคมีในการผลิต ซื้อเมล็ดพันธุ์จากแหล่งจำหน่าย และมีระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการจัดการผลผลิต และพบว่าเกษตรกรส่วนน้อยที่ทำการวิเคราะห์คุณภาพดินและน้ำ การจ้างแรงงานที่มี ทักษะ และตรวจสอบสารเคมีตกค้างในผลผลิตเกษตร (ร้อยละ 23.33, 17.22 และ 10.28 ตามลำดับ) ส่วนช่อง ทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่มีผู้ค้าส่งมารับจากพื้นที่ผลิตโดยตรง (ร้อยละ 44.17) รองลงมาคือ มีการจำหน่าย ในตลาดชุมชน สำหรับทัศนคติของเกษตรกรทางการเกษตรพบว่า เกษตรกรมีความตระหนักถึงความเสี่ยงของ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ยังต้องการใช้สารเคมีในการผลิตผัก เพื่อให้ได้ผลผลิตตามความต้องการของตลาด อีกทั้งเห็นด้วยว่าการผลิต พืชปลอดภัยยุ่งยากกว่าการผลิตพืชที่ใช้สารเคมี สำหรับทัศนคติทางสังคมพบว่า เกษตรกรเห็นด้วยมากที่สุดใน การสนับสนุนและช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐบาล และความรับผิดชอบในการผลิตผักปลอดภัยเป็นหน้าที่ ของเกษตรกรและผู้จำหน่าย สำหรับทัศนคติทางเศรษฐกิจพบว่า เกษตรกรเห็นด้วยมากที่สุดในการทำการ เกษตรแบบพูอเพียงทำให้ครอบครัวมีเงินออม และเห็นดั๊วยปานกลางว่าการรวมกลุ่มจะทำให้ได้ผลประโยชน์ มากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรควรมีความรู้ความเข้าใจบนมาตรฐานการผลิตผักปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยของผู้ ผลิตและผู้บริโภคอย่างแท้จริง
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research is to study the behavior of vegetable production, and attitude towards agriculture, social, and economic of safe vegetable production of farmers in Phra Nakhon Si Ayutthaya province. The sampling group (n=360), who is vegetable growers in the province, was surveyed by an interview questionnaire. The vegetable farmers were a principal occupation (3.06%), while they were a supplementary career from rice farming (52.22%). Most farmers (57.14%) use the mix of chemicals and biological substances in vegetable crops, followed by the chemical, and organic production (29.11 and 13.75%, respectively). The average vegetable planting area was 2.11 rai/farmer, and the farmers likely to produce many kinds of vegetables in the crop. The major farmer behaviors of vegetable production (73.33 - 94.72%) were shown for having proper harvesting, using chemicals and controlling the use of chemicals, buying seeds, and having post-harvest system. On the other hand, the minor farmer behaviors of vegetable production were to examine soil and water qualities, select skilled workers, and examine chemical residues of agricultural product (23.33, 17.22 and 10.28%, respectively). For the marketing channels, the agent came to pick the products up at the planting area (44.17%), followed by selling at local markets. The attitude towards agriculture of safe vegetable production of farmers is at strongly agree level for awareness of the risks of using pesticides, as well as harmful to the health of themselves and consumers. However, the farmers still need to use chemicals for agricultural production to meet the market needs. In addition, they agree that safe vegetable production is more difficult than that use chemicals. As attitudes towards social of safe vegetable production, they strongly agree that the support and assistance of government agencies are on a regular basis, and responsibility for safe vegetable production is belong to the producers and suppliers. In studying of economic attitudes of vegetable farmers, they deeply agree that self-sufficient farming allows savings, and moderately agree that the farmer group provides more benefits. Therefore, the farmers should deeply have a knowledge and understanding about the proper production according to the principles of sanitation or good agricultural practices to produce a truly safe vegetable for producers and consumers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=1515.pdf&id=3944&keeptrack=5
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พฤติกรรมการผลิตผักและทัศนคติในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรเพื่อผลิตพืชผักปลอดภัยของชุมชนเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดปทุมธานี การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตลำไยที่มีต่อความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของเกษตรกรในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ทัศนคติที่มีผลต่อการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ในจังหวัดสงขลา ผลของเพศและการเลี้ยงสุกรรุ่น-ขุน แบบขังเดี่ยวหรือแบบกลุ่มต่อประสิทธิภาพการผลิตและพฤติกรรมการกินอาหาร ทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในจังหวัดแพร่ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวเขาเผ่าม้ง ผู้ปลูกผัก ในจังหวัดเชียงใหม่ การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตผักปลอดสารพิษกับการผลิตผักโดยใช้สารเคมีของเกษตรกรชุมชนวังตะกออำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรชาวเขาเกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และปลอดภัยใน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สถานภาพการผลิตและทัศนคติในการเลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่งในอำเภอพรหมพิราม อำเภอบางกระทุ่ม และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก