สืบค้นงานวิจัย
ทฤษฎีอรรถประโยชน์คาดหวังและทฤษฎีคาดหวัง: ทัศนคติและพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรที่มีต่อความเสี่ยง
ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ทฤษฎีอรรถประโยชน์คาดหวังและทฤษฎีคาดหวัง: ทัศนคติและพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรที่มีต่อความเสี่ยง
ชื่อเรื่อง (EN): Expected utility theory and prospect theory: attitude and decision making behavior toward risk of farmers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thanaporn Athipanyakul
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การตัดสินใจของเกษตรกรมักอยู่ใต้สภาวะความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเสี่ยงแตกต่างจากความไม่แน่นอนอย่างไร Hardaker et al. (2004) กล่าวไว้ว่า ความไม่แน่นอนเกิดจากการที่เกษตรกรมีข้อมูลไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ความเสี่ยงเป็นผลที่เกิดจากความไม่แน่นอน เช่น เกษตรกรวางแผนจะขายผลผลิตข้าวในวันรุ่งขึ้นโดยคาดว่าจะขายได้ราคาไม่ต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม กรณีนี้เกษตรกรต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของราคาซึ่งอาจปรับตัวลดลงในวันที่ทำการขาย ดังนั้น เกษตรกรอาจเผชิญกับความเสี่ยงด้านราคา อีกตัวอย่างหนึ่งด้านการผลิต เกษตรกรต้องตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ เพื่อเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตามเกษตรกรไม่ทราบเลยว่าผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นเช่นไร ทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่ใช้อธิบายทัศนคติและพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรที่มีต่อความเสี่ยง คือ ทฤษฎีอรรถประโยชน์ที่คาดหวัง (Expected utility theory: EUT) โดยมีแนวคิดว่า เกษตรกรเป็นผู้ที่มีเหตุผลจึงพยายามเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดภายใต้ข้อจำกัดที่ตนเองเผชิญอยู่ ดังนั้น การตัดสินใจของเกษตรกรโดยทั่วไปอยู่ภายใต้ข้อสมมติของการเป็นผู้หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk aversion) ยกตัวอย่างในเรื่องของการเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตในกรณีของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรกรที่มีเหตุผลควรตัดสินใจยอมรับเทคโนโลยี เนื่องจากผลตอบแทนสุทธิของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นสูงกว่าการใช้เทคโนโลยีที่พึ่งพาสารเคมี ยืนยันได้จากงานวิจัยของ วีระ และคณะ (2552) ที่แสดงให้เห็นว่าผลตอบแทนสุทธิของเกษตรกรผู้เพาะปลูกพริกที่เข้าร่วมโครงการ “การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานพริกสดปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ” สูงกว่าพริกทั่วไปที่ปลูกโดยใช้สารเคมีเป็นหลัก เนื่องจากการผลิตโดยใช้สารเคมีต้นทุนที่เป็นเงินสดจะสูงกว่าการผลิตแบบ GAP แล้วยังพบว่าผลผลิตต่อไร่ยังต่ำกว่าการผลิตแบบ GAP ซึ่งส่งผลทำให้ผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับต่ำ อย่างไรก็ตามในสภาพความเป็นจริงพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงยินดีที่จะใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบดั้งเดิมที่พึ่งพาสารเคมี และยังพบว่า ในบางสถานการณ์ เช่น การระบาดของโรคและแมลงเพียงเล็กน้อยทำให้เกษตรกรที่ยอมรับหลักการผลิตที่ดีและเหมาะสม (Good agricultural practices: GAP) หันกลับมาใช้สารเคมีที่มีระดับความรุนแรงสูงในการกำจัดแมลง เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียของผลผลิต จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรไม่ได้คำนึงถึงระดับของผลตอบแทนสุทธิที่จะได้รับ ความเป็นจริงด้านพฤติกรรมนี้ขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ (Axiom) ของแนวคิด EUT เนื่องจาก EUT ไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมของเกษตรกรภายใต้สภาวการณ์ของการสูญเสียได้ ดังนั้น ในช่วงหลังนักวิจัยจึงหันมาเลือกใช้ทฤษฎีความคาดหวัง (Prospect theory: PT) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ผนวกแนวคิดทางด้านจิตวิทยาเข้ากับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ มาอธิบายพฤติกรรมการตัดสินใจการตัดสินใจของเกษตรกร แนวคิดของทฤษฎีดังกล่าว คือ บุคคลจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเฉพาะเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่จะได้รับ (Gains) และจะมีพฤติกรรมรักความเสี่ยง (Risk loving) หรือยอมที่จะเสี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย (Losses aversion) เมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่จะสูญเสีย (Losses) ตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้ PT อธิบายพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรในการยอมรับเทคโนโลยี เช่น งานวิจัยของ Nguyen and Leung (2010), and Tanaka, et al. (2010)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250630/171458
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทฤษฎีอรรถประโยชน์คาดหวังและทฤษฎีคาดหวัง: ทัศนคติและพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรที่มีต่อความเสี่ยง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายขาว (Octopus aegina Gray, 1849) ในห้องปฏิบัติการ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารชีวภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกอ้อยของเกษตรกร อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของเกษตรกรกับความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการปรับปรุงวิธีการผลิตทางการเกษตร : ศึกษาเฉพาะกรณีเกษตรกรชั้นเล็กในเขตอำเภอเกษตรวิจัย จังหวัดร้อยเอ็ด ความต้องการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกร : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกข้าว การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวิทยาการการทำนาครั้งที่ 2 ของจังหวัดราชบุรี ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จังหวัดชัยนาท ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก