สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาธาตุอาหารพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 2. สถานะธาตุอาหารพืช ที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าซิกแนลเลื้อยในชุดดินบ้านทอน
เกียรติสุรักษ์ โภคสวัสดิ์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาธาตุอาหารพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 2. สถานะธาตุอาหารพืช ที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าซิกแนลเลื้อยในชุดดินบ้านทอน
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of Plant Nutrient for Forage Crops in Various Areas 2. The Nutrient Status for Yield and Nutrient Content of Brachiaria humidicola in Banthon Soil Series.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกียรติสุรักษ์ โภคสวัสดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้เป็นการศึกษาธาตุอาหารพืชสำหรับหญ้าซิกแนลเลื้อยในชุดดินบ้านทอนทำการทดลองในกระถางที่ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์นราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block มี 4 ซ้ำ โดยใช้เทคนิค Omission trial ใส่ธาตุอาหาร N P K Ca Mg S Mn Fe B Zn Cu Mo ในอัตรา 16, 6.4, 16, 6.4, 4, 4, 0.8, 0.8, 0.08, 0.64, 0.48 และ 0.08 กิโลกรัมต่อไร่ (All) สิ่งทดลองประกอบด้วยระดับธาตุอาหาร 4 ระดับ คือ ไม่ใส่ธาตุอาหาร ใส่ 1/2All All และ 2All รวม 16 สิ่งทดลอง ทำการตัดหญ้าครั้งเดียวที่ระดับผิวดินเมื่ออายุ 60 วันหลังปลูก ผลการทดลองพบว่าการปลูกหญ้าซิกแนลเลื้อยในชุดดินบ้านทอนพืชจะตอบสนองต่อการขาดธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัสอย่างรุนแรง และขาดโปแตสเซียมรองลงมา และการใส่ธาตุอาหารเพื่อให้หญ้าซิกแนลเลื้อยมีค่าความเข้มข้นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของอาหารโคเนื้อและให้ได้รับผลผลิตน้ำหนักแห้งสูงสุดนั้น หญ้าซิกแนลเลื้อยจะตอบสนองต่อธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมในอัตรา 32 12.8 และ 32 กิโลกรัมต่อไร่ (2All) ตามลำดับ ส่วนธาตุอาหารรองหญ้าซิกแนลเลื้อยจะตอบสนองต่อทองแดงในอัตรา 0.96 กิโลกรัมต่อไร่ (2All)
บทคัดย่อ (EN): This pot experiment was conducted at Narathiwat Animal Nutrition Research Center, Narathiwat Province to evaluated plant nutrient status for Brachiaria humidicola (Rendle) Schweick . (Creeping signal) grown in Banthon soil series using the Omission trial technique arranged in Randomized Complete Block Design with 4 replication and 16 treatments with nutrient rates being : 16, 6.4, 16, 6.4, 4, 4, 0.8, 0.8, 0.08, 0.64, 0.48 and 0.08 kg/rai (All) for N, P, K, Ca, Mg, S, Mn, Fe, B, Zn, Cu, and Mo respectively, four experimental rates with Control 1/2All, All and 2All were used. Grass was, cut at ground level at 60 days aften planting. The experimental result for Creeping signal grass in Banthon soil was found to be severe deficiency in N, P and K . To obtain maximum dry matter yield and high content of nutrient at standard level of beef cattle for Creeping signal grass, following rates should be applied at 32 12.8 32 and 0.96 kg/rai of N P K and Cu respectively.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2542
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาธาตุอาหารพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 2. สถานะธาตุอาหารพืช ที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าซิกแนลเลื้อยในชุดดินบ้านทอน
กองอาหารสัตว์
2542
เอกสารแนบ 1
กรมปศุสัตว์
การศึกษาธาตุอาหารในพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 1. สถานะธาตุอาหารพืช ที่มีผลต่อผลผลิต และความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าชันอากาดในชุดดินบ้านทอน พืชอาหารสัตว์พันธุ์ใหม่ การศึกษาะธาตุอาหารพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 3. สถานะธาตุอาหารพืชที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินลำปาง ชุดดินหางดง และชุดดินแม่สาย อิทธิพลของธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าอะตราตั้ม ปลูฏใรชุดดินบ้านทอน และชุดดินท่าแซะ อาหารสัตว์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนไทย การประเมินสถานะธาตุอาหารพืชสำหรับพืชอาหารสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ2.สถานะธาตุอาหารพืชสำหรับหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินยโสธร โคราช น้ำพองและชุดดินวาริน การใช้ความสมดุลธาตุอาหารเพื่อปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพของส้มสายน้ำผึ้ง: 2. การประเมินตำแหน่งใบส้มที่เหมาะสมสำหรับการเก็บตัวอย่างพืชเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช การพัฒนาแนวทางการจัดการธาตุอาหารหลัก รอง และจุลธาตุอาหารตามหน่วยสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตอในจังหวัดสระแก้ว การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการธาตุอาหารพืชตามดัชนีผลิตภาพดินเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ปริมาณธาตุอาหารในดิน ใบและผลผลิตมะม่วงจากแหล่งปลูกต่างๆ ในประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก