สืบค้นงานวิจัย
การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ.2553
ดารณี ชนะชนม์ - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อเรื่อง: การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ.2553
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดารณี ชนะชนม์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพึ่งพาตนเองได้ตามแนว เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2553 มีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1)เพื่อติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร และ 2)เพื่อติดตามประเมินผลการ พึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พร้อมทั้งเป็นการ จัดทำตัวชี้วัดตามคำรับรองให้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการของกลุ่มภารกิจกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ปี 2554 ตามกรอบการประเมินของส่วนราชการประกอบด้วยมิติ 4 ด้าน โดยเป็น ตัวชี้วัดมิติที่ 1 มิติค้นประสิทธิผล ตัวชี้วัดที่ 2.1 ร้อยละของเกษตรกรที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่ง มีการกำหนดเกณฑ์การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 การติดตามและประเมินผลครั้งนี้ เป็นการสำรวจโดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง 1 ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือเกษตรกรผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01 ) ตั้งแต่ ปี 2518-2553 จำนวน 2,066,551 ราย ในพื้นที่รวม 66 จังหวัด 698 อำเภอ 3 385 ตำบล กำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวน 15 จังหวัด 2,000 ราย โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling ได้แก่ สุ่มจังหวัด 15 จังหวัด แบ่งตามสัดส่วนได้จังหวัดที่ ตกเป็นตัวอย่างภาคเหนือ 4 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ภาคกลาง 4 จังหวัด และ ภาคใต้ 3 จังหวัด สุ่มจังหวัดจากแต่ละภาค โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลาก สุ่มอำเภอ จากจังหวัดที่ตกเป็นตัวอย่าง จังหวัดละ 2 อำเภอ โดยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก รวมทั้งหมด 30 อำเภอ สุ่มตำบล จากอำเภอที่ตกเป็นตัวอย่าง อำเภอละ 1 ตำบล โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Samping) โดยการจับฉลาก รวมทั้งหมด 30 ตำบล สุ่มหมู่บ้าน จากตำบลที่ตกเป็นตัวอย่าง ตำบลละ 1 หมู่บ้าน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลาก และสุ่ม เกษตรกร จากหมู่บ้านที่ตกเป็นตัวอย่าง โคยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบระบบ (Systematic random Sampling) เป็นจำนวนตัวอย่างตามสัดส่วนของจำนวนประชากร ตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ที่ตกเป็นตัวอย่าง ได้จำนวนตัวอย่าง เท่ากับ 2,130 ราย ใน 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร แพร่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีสะเกษ เพชรบุรี ราชบุรี ตราค กาญจนบุรี ระนอง พังงา และนครศรีธรรมราช โดย เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ เดือนเมยายน ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 เป็นเวล1 42 วัน งบประมาณทั้งสิ้น 190,816 บาท เครื่องมือที่ใช้ใน การติดตามและประเมินผล คือ แบบสัมภาษณ์ ในประเด็น การใช้ประ โยชน์ที่ดินของเกษตรกร เขตปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ที่ใช้ประโยชน์ สภาพผลผลิตทางการเกษตร และการพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุดต่ำสุด และค่า T-test ผลการศึกษา 1.1 ข้อมูลทั่วไป พบว่า เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 2,130 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51 เป็นเพศชายร้อยละ 49 เมื่อพิจารณาช่วงอายุ พบว่า โคยรวมมีอายุเฉลี่ย 51 ปี ด้าน การศึกษาของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรร้อยละ 83 อยู่ในระดับประถมศึกษา สำหรับจำนวนสมาชิก ในครัวเรือนของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ร้อยละ 35 มีสมาชิกตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป รองลงมาร้อยละ 34 มีสมาชิก 1 คน ถึง 2 คน ส่งผลให้จำนวนสมาชิกเฉลี่ยในครัวเรือน ประมาณ 4 คนต่อครัวเรือน สำหรับจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงานในครัวเรือนของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พบว่า เกษตรกรร้อยละ 74 มีสมาชิกที่เป็นแรงงานในครัวเรือนอยู่ระหว่าง 1 คน ถึง 2 คน คิดเป็นแรงงาน เฉลี่ย 2 คนต่อครัวเรือน 1.2 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พบว่าเกษตรกรที่ศึกษา จำนวน 2,130 ราย มีการใช้ประโยชน์ในที่ดิน จำนวน 1,992 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.52 ของเกษตรกรทั้งหมด สำหรับการไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งแปลงของเกษตรกรในเขตปฏิรูป ที่ดิน ซึ่งมีจำนวน 138 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 48 และในจำนวนนี้ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 16.66 มีการ นำที่ดินให้ลูกหลานญาติพี่น้องใช้ประโยชน์ และการนำไปให้คนอื่นเช่าทำประโยชน์/ขาย มีเป็น ร้อยละ 21.74 เมื่อพิจารณาการไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินบางส่วนของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งมี จำนวน 154 ราย คิดเปีนร้อยละ 7.73 ของเกษตรกรที่มีการใช้ประโยชน์ในที่ดิน พบว่า ในจำนวนนี้ เกษตรกรร้อยละ 20.13 มีสาเหตุจากสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสม และมีการนำไปให้คนอื่นเช่าทำ ประโยชน์ หรือขาย มีเป็นร้อยละ 9.74 เมื่อศึกษาจำนวนเนื้อที่ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 2,130 ราย พบว่า เนื้อที่ที่ได้รับเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.4-01 จำนวน 36915 ไร่ เป็นเนื้อที่ที่ใช้ ประโยชน์จำนวน 33,009 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 89.66 เมื่อพิจารณาสัดส่วนเนื้อที่ใช้ประโยชน์ของ เกษตรกรเฉลี่ยได้เท่ากับ 0.9042 และพบว่า เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน มีเนื้อที่ถือครองเฉลี่ย ครัวเรือนละ 17.33 ไร่ มีเนื้อที่ใช้ประโยชน์เฉลี่ย ครัวเรือนละ 16.62 ไร่ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีการใช้ประโยชน์ ที่ดินด้วยตนเอง จำนวน 1,992 ราย พบว่า ในการปลูกพืชของเกษตรกรมีการปลูกข้าวนาปี คิดเป็น ร้อยละ 38 มีการปลูกมันสำปะหลัง ร้อยละ 16 มีการปลูกข้าวโพด ร้อยละ 9 มีการปลูกอ้อยรวมทั้ง อ้อยปี 1 และอ้อยตอ ประมาณร้อยละ 15 มีการปลูกขางพาราทั้งที่ยังไม่ให้ผลผลิต และให้ผลผลิตแล้ว คิดเป็นร้อยละ 25 และมีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอื่นบ้างเล็กน้อย เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง สัก ปาล์ม ยูคา ลำไย รวมคิดเป็นร้อยละ 11 สำหรับผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พบว่า เกษตรกร ผลผลิตจากข้าวนาปีเฉถี่ยไร่ละ ร73 กิโลกรัมต่อครัวเรือนที่ปลูก มีรายได้ค่าตอบแทนเป็นมูล ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 5,253 บาท จากการลงทุนเฉลี่ย 1,689 บาทต่อไร่ ส่วนผลผลิตอื่น เช่น มัน สำปะหลัง เกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1,948 กิโลกรัม มีรายได้ค่าตอบแทนเป็นมูลค่าผลผลิตไร่ ละ 5,405 บาท จากการลงทุนเฉลี่ย 1,863 บาทต่อไร่ นอกจากนี้ เกษตรกร มีผลผลิตจากยางพาราที่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 128 กิโลกรัมต่อครัวเรือน มีรายได้ค่าตอบแทนเป็นมูลค่าผลผลิตไร่ ละ 13,599 บาท จากการลงทุนเฉลี่ย 3,459 บาทต่อไร่ สำหรับการศึกษาการพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรใน เขตปฏิรูปที่ดิน ในครั้งนี้ ได้ศึกษาประเด็นการพึ่งพาตนเอง สรุปเปีน 4 ประเด็น สำหรับประเด็นที่ 1 การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษงูกิจพอเพียงของ เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ผ่านมา พบว่า เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีการใช้ประโยษน์ที่ดิน มี จำนวน 1,992 ราย คิดเปีนร้อยละ 93. 52 ในจำนวนนี้ ร้อยละ 24.80 ไม่เคยมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ ผลิตฯ โดยร้อยละ 77 ของเกษตรกรที่ไม่เคยมีการปรับเปลี่ยน มีเหตุผลว่ามีความยุ่งยาก พื้นที่ไม่ เหมาะสม ส่วนเกษตรกรที่มีการ ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตฯ และร้อยละ 75.20 มีเหตุผลในการ ปรับเปลี่ยนว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิต คิดเป็นร้อยละ 67 อีกส่วนหนึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อ ต้องการความรู้ คิดเป็นร้อยละ 33 สำหรับประเด็นที่ 2 การพึ่งพาตนเองด้านระบบการผลิต พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มี รูปแบบการผลิตที่เป็นเชิงเดี่ยว คิดเป็นร้อยละ 89.1 ของเกษตรกรทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 10.54 เกษตรกรมีรูปแบบการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โคข ร้อยละ 83.81 มีการปลูกพืชเกษตร ผสมผสาน นอกจากนี้เกษตรกรยังมีกิจกรรมลดการพึ่งพาจากภายนอก คิดเป็นร้อยละ 71.08 สำหรับประเด็นความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับปริมาณการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตในอดีตและปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรมีความเห็นเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในปริมาณลดลงจากการใช้ใน อดีต เป็นสัดส่วนมากกว่าความเห็นเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยหมักฯในปริมาณลคลงจากการใช้ในอดีต ใน ทุกภาค โดยสรุปความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับการลดการใช้สารเดมีและการเพิ่มการใช้ปุ๋ย หมักฯในปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีลดลงและมีการใช้ปุ๊ยหมักฯ เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อย ละ 97 สำหรับประเด็นที่ 3 การพึ่งพาตนเองด้านองค์ความรู้และเทคโนโยี พบว่า เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินมีการได้รับองค์ความรู้ คิดเป็นร้อยละ 19 ในจำนวนนี้ ร้อยละ 89 มีการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งพบว่าเกษตรกรบางรายมีการนำไปใช้ประโยชน์มากกว่า 1 อย่าง โดยเรื่องที่ นำไปปรับในแปลงเกษตรกรรมเป็นเรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ วิธีบำรุงดิน คิดเป็นร้อยละ 57 สำหรับประเด็นที่ 4 การพึ่งพาตนเองด้านการดำรงชีพ ด้านการมีรายได้ใน ครัวเรือนต่อคนต่อปี ตั้งแต่ 23,000 บาทขึ้นไป พบว่า เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยในครัวเรือน เป็นเงิน 135,825 บาท และมีรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ยเป็นเงิน 47,801 บาท ถ้าพิจารณาสัดส่วนรายได้รายจ่าย ครัวเรือน กล่าวได้ว่ารายได้และรายจ่ายในครัวเรือนมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 73.97 และ 26.03 ตามลำดับ และเมื่อนำรายได้เฉลี่ยในครัวเรือนหักออกด้วยรายจ่ายในครัวเรือนแล้ว พบว่า เกษตรกรมีรายได้สุทธิในครัวเรือนเฉลี่ย 88.024 บาท โดยเกษตรกรร้อยละ 37.20 จะมีรายได้สุทธิใน ครัวเรือนเฉลี่ย อยู่ในระหว่าง 100,000 บาท ถึง 300,00 บาท จากการศึกษาข้อมูลดังกล่าว พบว่า เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน มีรายได้สุทธิในครัวเรือนเฉลี่ยต่อคนต่อปี เป็นเงิน 25,534 บาท เมื่อ พิจารณาเกษตรกรที่มีรายได้ในครัวเรือนเฉลี่ยต่อคนต่อปี ตั้งแต่ 23,000 บาทขึ้นไป พบว่า มีเป็นร้อย ละ 34.84 ของครัวเรือนทั้งหมด สำหรับการออม เกษตรกรมีการออมเป็นร้อยละ 45.88 ของเกษตรกรทั้งหมด และ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 33 มีการออมอยู่ระหว่าง 1,000 บาท ถึง 5,000 บาท และระหว่าง 5,000 บาท ถึง 30,000 บาท เป็นสัดส่วนที่เท่ากัน คิดเป็นการออมเฉลี่ยครัวเรือนละ 22,643 บาท เมื่อศึกษาการ มีหนี้สินของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พบว่า เกษตรกรมีหนี้สิน คิดเป็นร้อยละ 63.10 ของ ครัวเรือนทั้งหมด โดยเกษตรกรร้อยละ 43.60 มีหนี้สินอยู่ระหว่าง 30,000 บาท ถึง 100,000 บาท คิด เป็นหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 11,950 บาท โคยสาเหตุที่เป็นหนี้ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกร ต้องการนำมาใช้ลงทุนทางการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 85.04 นำมาใช้จ่ายในการส่งถูกเรียน/ซื้อีรถ/ ซื้อบ้าน คิดเป็นร้อยละ 6.44 เมื่อสอบถามถึงความสามารถในการชำระหนี้ พบว่า เกษตรกม ความสามารถชำระหนี้ได้ตรงตามเวลาทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 91.89 และมีบางรายที่ไม่เคยชำระหนี้ คิดเป็นร้อยละ 1.51 สำหรับการศึกษากิจกรรมการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร พบว่า เกษตรกรมีการพึ่งพา ตนเองด้านอาหาร ร้อยละ 92.77 มีกิจกรรมด้านเทคโนโลยีของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ร้อยละ 42.12 เมื่อพิจารณาการมีความพอใจมากในการดำรงชีพของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินพบว่าเกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจด้านการมีความสุขในชีวิตครอบครัวเป็นคะแนน เฉลี่ย สูงกว่าด้านอื่น เป็นคะแนน 4.24 และพบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจด้านผลผลิตจากแปลง ทำกิน มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด เป็นคะแนน 3. 13 สำหรับภาพรวม สรุปการมีความพึงพอใจมาก ซึ่ง พิจารณาจากเกษตรกรที่มีความพึงพอใจในระดับคะแนนตั้งแต่ 3. ขึ้นไป พบว่า เกษตรกรในเขต ปฏิรูปที่ดินมีความพึงพอใจมากในทุกด้าน คิดเป็นร้อยละ 62.10 สรุปการพึ่งพาดนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อศึกษาการพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 12 ประเด็น พบว่า เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต ร้อยละ 75.20 มีรูปแบบการผลิตที่ สอดคล้องตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 10.54 มีปัจจัยการผลิตลดการพึ่งพาจากภายนอก ร้อย ละ 71.08 มีการลดการใช้เคมีและเพิ่มการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ร้อยละ 97.09 มีการได้รับองค์ความรู้ ร้อยละ 18.78 มีการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 88.50 มีรายได้ในครัวเรือนต่อคน ตั้งแต่ 23,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 34.84 มีการออมเงิน ร้อยละ 45.88 มีความสามารถในการชำระ หนี้ ร้อยละ 91.89 มีกิจกรรมพึ่งพาตนเองด้านอาหาร ร้อยละ 92.77 มีกิจกรรมด้านเทคโน โลยี การ แปรรูปฯ ร้อยละ 42.12 และมีความพึงพอใจมากในการดำรงชีพ ร้อยละ 62.10 เมื่อพิจารณา เกษตรกรที่มีกิจกรรมดังกล่าวและให้น้ำหนักทั้ง 12 ประเด็นตามเกณฑ์การพึ่งพาตนเองได้ รวม เฉลี่ยคะแนนในทุกประเด็นและกำหนดคะแนนตั้งแต่ 0.7 คะแนนขึ้นไป ให้เป็นเกษตรกรที่มีการพาตนเองได้ พบว่า เกษตรกรมีการพึ่งพาตนเองได้ เป็นร้อยละ 16.52 เมื่อจัด ระดับ พบว่า กลุ่มเกษตรกรร้อยละ 37.50 อยู่ในระดับมีการพึ่งพาน้อย (คะแนน 0.30 -0.49) กลุ่ม เกษตรกรร้อยละ 32.53 อยู่ในระดับมีการพึ่งพาปานกลาง (คะแนน 0.50 - 0.69) และเกษตรกรที่อยู่ ในระดับมีการพึ่งพามากที่สุด (คะแนน 0.85 ะแนนขึ้นไป) มีร้อยละ 7.23 ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาเพื่อพิจารณา 1. ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่ง ของเกษตรกรที่ไม่ใช้ประโยชน์ทั้ง แปลงมีการนำที่ดินให้ลูกหลานญาติพี่น้องใช้ประ โยชน์ ในกรณีนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ควรต้องมีการ ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยตนเองตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม โดยอาจทำเป็นกรณีศึกษาถึงสภาพปัญหาในโอกาสต่อไป 2. ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุการ ไม่ทำประ โยชน์ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดแรงงาน การไม่ประสงค์เป็นเกษตรกร การมีอายุมากของเกษตรกร มีเป็นร้อยละ 40.58 ซึ่งเป็นความจำเป็นที่ ไม่สามารถทำประโยชน์ได้ควรต้องมีการปรับเปลี่ยนผู้ถือครองเป็นผู้ประสงค์เป็นเกษตรกรต่อไป ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป 1. การศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรต้องมีการศึกษาเชิงคุณภาพถึงสภาพปัญหาการ ไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนให้เกษตรกร ที่ไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินกลับมาใช้ ประโยชน์ที่ดินด้วยตนเอง 2. การศึกษาครั้งต่อไปควรต้องมีการพิจารณาทบทวนประเด็นสัดส่วนการพึ่งพาตนเอง ได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ว่าต้องปรับปรุงหรือไม่อย่างไร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_news.php?nid=368&filename=index
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: พิจิตร แพร่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีสะเกษ เพชรบุรี ราชบุรี ตราด กาญจนบุรี ระนอง พังงา นครศรีธรรมราช
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เมษายน-กรกฏาคม 2554
เผยแพร่โดย: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ.2553
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2555 การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดอำนาจเจริญ การติดตามประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2554 การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ปีการเพาะปลูก 2552 รายงานผลการติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการถือครองของเกษตรกรนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน รายงานผลการติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดระยอง การใช้ประโยชน์จากโรงเลี้ยงไหมวัยอ่อนของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2535-2542 รายงานประจำปี วว. ปี พ.ศ. 2553 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตของเกษตรกร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก