สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาภาวะความเป็นผู้นำของเกษตรกรรายย่อย กรณีศึกษาจากผลการอบรมผู้แทนเกษตรกรรายย่อย
วันชัย สัจจาบรรพต - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาภาวะความเป็นผู้นำของเกษตรกรรายย่อย กรณีศึกษาจากผลการอบรมผู้แทนเกษตรกรรายย่อย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วันชัย สัจจาบรรพต
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การพัฒนาเกษตรกรรายย่อยเป็นภาระหน้าที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง ของกรมส่งเสริมการเกษตรภายใต้แผนงานสถาบันเกษตรกร และเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาเกษตรกรรายย่อยเป็นไปอย่งมีประสิทธิภาพ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ดำเนินการโครงการปรับปรุงระบบแผนและพัฒนาเกษตรกร (คปพ.) ระหว่างปี 2531-2534 เพื่อหาแนวทางพัฒนาเกษตรกรรายย่อยที่เหมาะสม การอบรมผู้แทนเกษตรกรรายย่อยเป็นการเสริมสร้างเป็นผู้นำในการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยที่สำคัญยิ่ง การอบรมที่ได้ผลจำเป็นต้องรู้สถานภาพที่แท้จริงของเกษตรกรรายย่อย รู้ชื่อจำกัดในการพัฒนา รู้เงื่อนไขที่จะช่วยให้การพัฒนาประสบความสำเร็จและความจำเป็นต้องสร้างหลักสูตรการอบรมที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาเรื่องนี้ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2532 - ตุลาคม 2534 โดยดำเนินการศึกษาจากเอกสารและรายงานเกี่ยวข้องของจังหวัดต่าง ๆ รวม 36 จังหวัด และจากการติดตามผลการอบรมทั้งระหว่างการอบรม และหลังการอบรมในหมู่บ้านอันเป็นภูมิลำเนาของผู้แทนเกษตรกรรายย่อยที่เข้ารับการอบรมโดยสังเกตการดำเนินงานในฐานะเป็นผู้นำของกลุ่มในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และจังหวัดหนองคาย ผลจากการศึกษาบ่งชี้ว่า ผู้แทนเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านการอบรมแล้วสามารถกลับไปเป็นแกนนำในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่นอันเป็นภูมิลำเนาของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาาพและได้รับการยอบรับจากสังคมในท้องถิ่นอีกด้วย ข้อเสนอแนะอันเป็นผลจากการศึกษาครั้งนี้ต่อแนวทางการพัฒนาเกษตรกรรายย่อย คือ 1.การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนเกษตร โครงสร้างภายในชุมชน ได้แก่องค์ประกอบด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม การศึกษาชุมชนเกษตร คือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชุมชนนั้น ผลการวิเคราะห์จะบ่งชี้ถึงสถานภาพของเกษตรกรและสามารถจำแนกเกษตรกรออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม ตามฐานะความเป็นอยู่ คือ เกษตรกรฐานะดี ฐานะปานกลาง และฐานะยากจนหรือเกษตรกรรายย่อย 2.การเรียนรู้วิถีชีวิตเกษตรกรรายย่อย การรู้จักกลุ่มบุคคลที่เป็นเกษตรกรยากจนหรือเกษตรกรรายย่อย อันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์ตามข้อ 1 ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้รับิดชอบสามารถเข้าถึงบุคคลเป้าหมายได้เป็นรายบุคคล การดำเนินงานในขั้นตอนนี้คือ การศึกษาสถานภาพแและแนวทางดำเนินชีวิตของเกษตรกรรายย่อยเป็นรายครอบครัว ซึ่งจะทำให้ผู้ทำการศึกษาสามารถแยกแยะปัญหาข้อจำกัดและจัดหมวดหมู่ของปัญหาให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งในการวางแผนการให้ความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป 3.การกระตุ้นและสร้างจิตสำนึก การดำเนินที่ต้องการกระทำควบคู่ไปกับการศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อยเป็นรายครอบครัว คือการกระตุ้นเกษตรกรให้ขบคิดถึงปัญหาการครองชีพ และสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงเพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกษตรกรช่วยเหลือตนเอง การกระตุ้นดังกล่าวทำได้หลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มจากการตั้งคำถามจากสภาพความเป็นจริงให้เกษตรกรคิดถึงอนาคตข้างหน้าของตนเอง เมื่อพิจารณาเห็นว่าเกษตรกรเริ่มตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหา รวมทั้งเริ่มมองเห็นความต้องการที่แท้จริงของตนเองได้บ้างแล้วก็อาจดำเนินการต่อโดยการนำไปดูตัวอย่างการแก้ไขปัญหาที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะช่วยย้ำความมั่นใจและสร้างจิตสำนึกให้เกษตรกรมากยิ่งขึ้น 4.การใช้กระบวนการกลุ่ม จากการที่เกษตรกรรายย่อยเกิดจิตสำนึกร่วมกันที่จะช่วยเหลือตนเอง เจ้าหน้าที่จะอาศัยจังหวะและช่วงเวลานี้ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยรวมกลุ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงชีพร่วมกัน แารรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยดังกล่าวจะต้องอยู่บนพื้นฐานต่อไปนี้คือ สภาพปัญหาเหมือนกันหรืออยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน มีความสนใจ มีความต้องการเหมือนกัน มีทัศนคติที่สอดคล้องเข้ากันได้ และประการสำคัญต้องเป็นการรวมกันด้วยความสมัครใจ หลังจากที่เกษตรกรรายย่อยรวมกลุ่มกันเองดังกล่าวแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษาให้เกษตรกรวางแผนดำเนินงานร่วมกันในรูปกลุ่ม พร้อมทั้งผสมผสานโครงการที่มีอยู่และทรัพยากรต่างๆ เข้าไปสนับสนุนในกลุ่มตามความเหมาะสม 5.การสร้างความเป็นผู้นำ การแก้ไขปัญหาความยากจนในอดีตมักจะละเลยหรือมองข้ามความสำคัญของความเป็นผู้นำในกลุ่มคนยากจน กิจกรรมและโครงการ เพื่อคนจนในชนบทส่วนใหญ่จะผ่านไปทางผู้นำท้องถิ่นหรือมอบให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องนำเข้าไปดำเนินการเอง ดังนั้นจึงไม่ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากคนจนผู้เป็นเป้าหมายของการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่โครงการสิ้นสุดลง แต่หากในกลุ่มบุคคลเป้าหมายมีผู้แทนที่สามารถเป็นแกนนำในการพัฒนาได้ ผู้แทนหรือผู้นำนั้นๆ จะช่วยสร้างความเข้าใจในกลุ่มของตนเองให้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนากลุ่มและพัมนาตนเองต่อไป โดยปกติความเป้นผู้นำในตัวบุคคลที่มีความเป็นผู้นำอยู่ในตัวจะขึ้นกับความถนัดเฉพาะด้าน การแสดงออก ช่วงเวลา และโอกาส บุคคลที่มีความเป็นผู้นำหลายด้านมักเป็นที่รู้กันทั่วไปในกลุ่ม ดังนั้นการส่งเสริมความเป็นผู้นำในขั้นแรกจึงควรค้นหาบุคคลที่สามารถเป็นแกนนำในกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เสียก่อน จากนั้นจึงแนะนำให้ความรู้หรือเปิดโอกาสให้ได้รับการฝึกฝนทักษะ เพื่อเป็นแกนนำในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ความเป็นผู้นำกิจกรรมด้านต่างๆ มิได้จำกัดอยู่ที่ผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะกระจายออกไปในกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ ตามความถนัดเฉพาะด้านของแต่ละบุคคล 6.การส่งเสริมธุรกิจและการจัดการกลุ่ม การพัฒนาโดยอาศัยกระบวนการกลุ่มมิได้เสร็จสิ้นหรือถูกจำกัดวงอยู่เพียงการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการคิดการตัดสินใจ การวางแผน และการดำเนินกิจกรรมการผลิตเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงความพร้อมและศักยภาพของกลุ่มในการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องอีกด้วย ธุรกิจกลุ่มที่สำคัญ ได้แก่ การตลาดและการจัดการภายในกลุ่ม เพื่อสามารถให้บริการแก่สมาชิกได้ตามความต้องการที่แท้จริง และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป้นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม เพื่อที่สมาชิกกลุ่มทุกคนจะสามารถร่วมกันตัดสินใจดำเนินการผลิตได้ตามความต้องการของตลาดเท่าๆ กับที่สามารถวางแผนดำเนินงาน และการจัดการภายในอันที่จะช่วยให้การดำนินงานกลุ่มเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทุกรายได้อย่างแท้จริง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2532
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2534
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนพฤศจิกายน 2532 - ตุลาคม 2534
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาภาวะความเป็นผู้นำของเกษตรกรรายย่อย กรณีศึกษาจากผลการอบรมผู้แทนเกษตรกรรายย่อย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2534
การศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลของเกษตรกรรายย่อยใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การขุนโค สำหรับเกษตรกรรายย่อย ทางรอดของการเลี้ยงสุกรขุนสำหรับเกษตรกรรายย่อย : กรณีศึกษาการเลี้ยงสุกรในระบบเกษตรธรรมชาติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง บทบาทและหน้าที่ของเกษตรกรผู้นำตามความหวังของเกษตรกร เกษตรตำบล และเกษตรกรผู้นำ ในจังหวัดนครปฐม การใช้เทคโนโลยีในสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดกระบี่ การใช้เทคโนโลยีในสวนปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว ของเกษตรกรรายย่อยใน จ.ตรัง การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน ความเป็นไปได้ในการเลี้ยงขุนโคพื้นเมืองของเกษตรกรรายย่อย การปลูกพืชอาหารสัตว์ของเกษตรกรรายย่อย สภาพการเลี้ยงโคขุนของเกษตรกรรายย่อย ในจังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก