สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการผลิตหมอนลมยางรองรับคอจากน้ำยางข้น
ธาณินทร์ เลปนานนท์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการผลิตหมอนลมยางรองรับคอจากน้ำยางข้น
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Air – Pillow Rubber Production for Neck Supporting from Concentrated Latex
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธาณินทร์ เลปนานนท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กุลทิวา รัตนเวคินรักษ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาการผลิตหมอนลมยางรองรับคอจากน้ำยางข้น ใช้น้ำยางข้นชนิด 60%โดยทำให้น้ำยางผสมด้วยสารเพิ่มและสารเคมี ขึ้นรูปและคงรูปด้วยความร้อนในแบบพิมพ์หล่อที่ทำด้วยปูนพลาสเตอร์อย่างแข็งให้ได้คุณภาพบางอย่างของผลิตภัณฑ์ยางใกล้เคียงกับตัวอย่างที่เป็น Control นั้น ที่งานผลิตและทดสอบคุณภาพยาง สถาบันวิจัยยางระหว่าเดือนตุลาคม 2535 – กันยายน 2536 วางแผนการทดลองแบบ FCRD มี 6 กรรมวิธี 2 ซ้ำ คือการทดลองทำผลิตภัณฑ์ยางดังกล่าวจากน้ำยางข้นชนิด 60% ผสมสารเพิ่มไชน่าเคล์กับแคลเซียมคาร์บอเนต และสารเคมีต่าง ๆ รวม 5 สูตร เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของตัวอย่างที่ใช้เป็น Control อีก 1 สูตร โดยวิธีการเริ่มต้นทดสอบ Pre-test หาให้ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมการใช้สารละลายสารเพิ่มไชน่าเคล์และแคลเซี่ยมคาร์บอเนต ผสมลงในน้ำยางข้นชนิด 60% พร้อมสารเคมีต่าง ๆ แล้วทำให้น้ำยางผสมขึ้นรูปและคงรูปด้วยความร้อนในแบบพิมพ์เป็นชิ้นทดสอบหาคุณสมบัติความแข็งเพียงอย่างเดียวให้ได้ใกล้เคียงกับความแข็งของ Control มากที่สุด เพื่อให้ได้คุณสมบัติทางกายภาพไว้เป็นข้อมูลการทดลองให้ละเอียดยิ่งขึ้น สำหรับทำส่วนประกอบของสูตรส่วนผสมขึ้นใหม่ให้ละเอียดจนเป็นที่พอใจแล้วจึงได้กระจายอัตราส่วนผสมของสารละลายเพิ่มไชน่าเคล์กับสารละลายแคลเซี่ยมคาร์บอเนต รวม 5 สูตร ๆ 1 – 5 เป็น 30:10, 10:30, 10:20, 20:10 และ 10:10 ส่วนโดยน้ำหนัก (เปียก) ตามลำดับ ต่อ น้ำยางข้น 100 ส่วน โดยน้ำหนักทุกสูตร และให้สารเคมีคงที่เท่ากันทุกสูตร (ในตารางที่ 3 ) ทำการหล่อยางผสมแต่ละสูตรลงในแบบพิมพ์ที่กำหนด และนำแผ่นยางชิ้นทดสอบทุกสูตรแล้วทดสอบคุณสมบัติทุกสูตรเปรียบเทียบกับ Control ตามมาตรฐาน ASTM’D-412 (ในตารางที่ 4 ) ปรากฏได้ค่าความแข็งของผลิตภัณฑ์สูตรที่ 1 – 5 อยู่ระหว่าง 34.2 – 37.1 (Shore A) จะเห็นว่า ความแข็งของผลิตภัณฑ์สูตรที่ 4 เป็น 35.7 (Shore A) ใกล้เคียงกับ Control มากที่สุด ส่วนคุณสมบัติทางกายภาพอื่น ๆ ก็แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การขึ้นรูปน้ำยางผสมในแบบพิมพ์ทำได้ง่ายสะดวก มีการสูญเสียไม่เกิน 3% สรุปได้ว่า การทดลองการทำหมอนลมยางรองรับคอสูตรที่ 4 ใช้น้ำยางข้นชนิดที่ 60% ที่ 167 ส่วนโดยน้ำหนัก (เปียก) ผสมสารละลายสารเพิ่มไชน่าเคล์ 50% กับสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต 50% ที่อัตราส่วน 20:10 ส่วนโดยน้ำหนัก (เปียก) กับสารละลายเคมีต่าง ๆ หล่อลงในแบบพิมพ์ได้ผลิตภัณฑ์ยางได้ความเข้มแข็งใกล้เคียง Control มากที่สุด คือ 35.7 (Shore A) และถือว่าได้ผลดีที่สุด ต้นทุนการผลิตน้ำยางผสมสำเร็จรูปประมาณ 42 – 45 บาทต่อกิโลกรัม เทียบกับราคาตัวอย่างที่เป็น Control ชิ้นละประมาณ 145 – 150 บาท (หนักชิ้นละ 55 – 60 กรัม) และน้ำยางผสมสำเร็จแล้วสูตรที่ 4 จะใช้หล่อทำผลิตภัณฑ์ได้ประมาณ 16 – 17 ชิ้นต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม คิดเป็นมูลการส่งออกได้ประมาณ 1,925 บาท เทียบกับมูลค่าการส่งออกเป็นน้ำยางข้นดิบชนิด 60% ต่อ 1 กก. ด้วยกันแล้ว การส่งออกในรูปของผลิตภัณฑ์จะได้มูลค่าสูงกว่าประมาณ 85 เท่าทีเดียว ฉะนั้นวิธีการกำหนดหมอนลมยางรองรับคอที่ได้ผลดีดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงเหมาะสำหรับใช้ในโรงงานผลิตภัณฑ์ยาง ที่มีขนาดเล็กและขนาดกลางทั่วไปที่ต้องการใช้วัตถุดิบน้ำยางข้นชนิด 60% ในประเทศ ตลอดจนส่วนประกอบสารเพิ่มและสารเคมีที่หาได้ในประเทศและราคาไม่แพงนัก เครื่องมืออุปกรณ์การผลิตราคาลงทุนไม่แพงและยุงยากนักด้วยเมื่อเทียบกับการลงทุนทำผลิตภัณฑ์ยางแห้งอื่น ๆ โดยเฉพาะกับโรงงานที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือจะตั้งใหม่เพื่อการผลิตจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้อย่างมากมายทีเดียว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการผลิตหมอนลมยางรองรับคอจากน้ำยางข้น
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ต้นทุนการผลิตน้ำยางข้น การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การผลิตและการตลาดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบ การศึกษาสำรวจศักยภาพการผลิตน้ำยางข้นของประเทศ การแปรรูปน้ำยางผสมของยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ การผลิตยางธรรมชาติอิพอกไซด์จากน้ำยางสด ศึกษาการผลิตยางรองรับถ้วยเซอรามิคจากยางธรรมชาติ การพัฒนาวัสดุและออกแบบผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติสำหรับยางรองหมอนรถไฟ การใช้เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิตน้ำยางข้น เทคโนโลยีการผลิตยางผสมจากยางธรรมชาติ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก