สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชาวประมงในการจัดสร้างและบริหารจัดการปะการังเทียมจังหวัดเพชรบุรี
อัญญานี แย้มรุ่งเรือง, วันทนา เจนกิจโกศล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชาวประมงในการจัดสร้างและบริหารจัดการปะการังเทียมจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Study on People’s Participation on Artificial Reefs Installation and Management in Phetchaburi Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชาวประมงในการจัดสร้างและบริหารจัดการปะการังเทียมได้ ทําการเก็บข้อมูลในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอําเภอบ้านแหลมจนถึงอําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรีจํานวน 24 ชุมชน ใน 7 ตําบล จากกลุ่มชาวประมงตัวอย่างจํานวน 406 ราย ชาวประมงชายฝั่งในพื้นที่จ.เพชรบุรีร้อยละ 34.48 มีช่วงอายุ 41-50 ปีรองลงมาคือช่วงอายุ ประมาณ 51 – 60 ปีคิดเป็นร้อยละ 30.79 และที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมีถึงร้อยละ 7.39 โดยเกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีประสบการณ์ในการทําประมงมากกว่า 20 ปีชาวประมงส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 91.75) และเป็นคนในภูมิลําเนาดั้งเดิมถึงร้อยละ 85.14 มีเพียงร้อยละ 5.66 ที่ย้ายมาจากจังหวัดอื่น จากการสํารวจครัวเรือนประมงร้อยละ 32.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 20.99 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาท ส่วนที่มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท มีเพียงร้อยละ 7.08 โดยครัวเรือนประมงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.01 ไม่มีอาชีพเสริมอื่น ในด้านรายจ่ายของครัวเรือนประมงพบว่า ร้อยละ 41.51 มีรายจ่ายระหว่าง 5,001 – 10,000 บาท กระบวนการในการจัดสร้างและบริหารจัดการปะการังเทียม ประกอบไปด้วย การค้นหาปัญหา และสาเหตุของการใช้ประโยชน์บริเวณปะการังเทียม การร่วมจัดทําแผนการจัดสร้างปะการังเทียม การร่วมกัน ออกแรงและทนในการจ ุ ัดวางปะการังเทียม และการติดตามผลการสร้างปะการังเทียม โดยผลการศกษาพบว ึ ่า ชาวประมงยังมีระดับการมีสวนร ่ ่วมในระดับต่ํา มีเพียงสองตําบลคือ ตําบลแหลมผักเบี้ย และตําบลหนองขนาน ที่ชาวประมงมีระดับการมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณากระบวนการในการเข้าไปมีส่วนร่วมใน การจัดสร้างและบริหารจัดการปะการังเทียม พบว่า ชาวประมงมีส่วนร่วมในกระบวนการติดตามและควบคุม การจัดสร้างปะการังเทียมมากที่สุด รองลงมาเป็นกระบวนการค้นหาปัญหาและสาเหตุของการบริหารจัดการ ปะการังเทียม
บทคัดย่อ (EN): Study on People’s Participation on Artificial Reefs Implementation and Management has been conducted in the coastal areas of Petchaburi province; composing 24 communities from 7 sub-districts. The survey has interviewed 406 fishers by structured questionnaires. One-third of fishers in study areas or 34.48% were 41-50 years old. Most of them have experiences on fishing operation more than 20 years. The fishers about 91.75% have been educated in primary school level. The monthly average revenue of fishing household were 5,001 -10,000 baht. The monthly expenses were almost the same amount of the revenue. The process of artificial reefs implementation and management consisted of identifying issues and causes, planning of activities, contribution on implementation, and monitoring of activities. The study showed that the fishers have been participated in these kinds of activities in low level. There were only 2 sub-districts that have the moderate level of participation from fishers. The high participation processes were monitoring of activities and identifying issues and causes, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-05-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชาวประมงในการจัดสร้างและบริหารจัดการปะการังเทียมจังหวัดเพชรบุรี
กรมประมง
31 พฤษภาคม 2557
กรมประมง
ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมง การศึกษาลักษณะพื้นทะเล การจมตัว และชนิดสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณกองปะการังเทียม จังหวัดเพชรบุรี แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าปลากะพงขาวแบบมีส่วนร่วมของชาวประมงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา การประเมินสถานภาพทรัพยากรประมง เศรษฐกิจสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการบริหารจัดการประมงแบบมีส่วนร่วมในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง การเปรียบเทียบโครงสร้างประชาคมและผลจับสัตว์น้ำระหว่างแปล่งปะการังเทียมและและกลุ่มปะการังเทียมบริเวณจังหวัดพังงา การประเมินทรัพยากรประมง เศรษฐกิจสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการบริหารจัดการประมงแบบมีส่วนร่วมในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี ความชุกชุมของปลาบริเวณปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อบูรณาการ การเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าวอินทรีย์ของกลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์จังหวัดบุรีรัมย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก