สืบค้นงานวิจัย
การยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หลักในสภาพควบคุมอากาศและความชื้น
สุดใจ มะติยาภักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หลักในสภาพควบคุมอากาศและความชื้น
ชื่อเรื่อง (EN): Extending storability of foundation seed in hermatic condition (Cocoon)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุดใจ มะติยาภักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sudjai Matiyapukde
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นวรัตน์ วังคำ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Nawaratana Wangkum
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เมล็ดพันธุ์หลักที่ผลิตโดยศูนย์วิจัยข้าวของกรมการข้าวในแต่ละฤดูกาลผลิต บางครั้งประสบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ภายหลังการเก็บรักษา เช่น การเสื่อมความงอก เป็นต้น การยืดอายุการเก็บรักษาเพื่อให้เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวยังคงมีคุณภาพที่ดี จึงมีความจำเป็นต้องศึกษา ประโยชน์ของงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ภายในศูนย์วิจัยแล้ว นอกจากนั้น ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการสำรองเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น การเกิดภัยพิบัติต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ให้กับกลุ่มเกษตรกรได้ในอนาคต โดยทำการศึกษาที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2555 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2556 วางแผนการทดลองแบบ Split plot design ใน 2 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 การเก็บรักษาในสภาพควบคุมอากาศและความชื้นในระดับการค้า (Cocoon) และ กรรมวิธีที่ 2 การเก็บรักษาในสภาพปกติที่ไม่มีการควบคุมอากาศและความชื้น (Control) ใช้ข้าวพันธุ์หลักพันธุ์พิษณุโลก 2 วิธีการคือ หลังจากทำความสะอาดและลดความชื้นในเมล็ดจนต่ำกว่า 12 เปอร์เซ็นต์แล้ว ใส่กระสอบป่าน กรรมวิธีละ 3,600 กิโลกรัม บรรจุในกรรมวิธีข้างต้น เก็บรักษาระยะเวลา 12 เดือน ทุกๆ เดือน สุ่มตัวอย่าง บันทึกการเปลี่ยนแปลงของปริมาณก๊าซออกซิเจน ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ การทำลายของแมลง และความงอก พบว่า ปริมาณเปอร์เซ็นต์ออกซิเจน ซึ่งวัดเฉพาะในกรรมวิธีที่ 1 ใน 5 เดือนแรกมีค่าเปลี่ยนแปลงคือลดลงอย่างเห็นได้ชัด เดือนที่ 6-9 มีค่าต่ำ ไม่เปลี่ยนแปลงและค่อนข้างคงที่ แต่หลังจากนั้น Cocoon มีการรั่ว ปริมาณออกซิเจนจึงไม่สามารถสรุปได้ สำหรับเปอร์เซ็นต์ความชื้น ทั้ง 2 กรรมวิธีมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกัน คือใน 2-3 เดือนแรกลดลงค่อนข้างชัดเจน หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยมีแนวโน้มลดลง แต่ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา เปอร์เซ็นต์ความชื้นเฉลี่ยของกรรมวิธีที่ 2 สูงกว่ากรรมวิธีที่ 1 เล็กน้อย ไม่พบการทำลายของแมลงในกรรมวิธีที่ 1 แต่ในกรรมวิธีที่ 2 พบตั้งแต่ระยะแรกของการเก็บรักษาโดยมีการทำลายเล็กน้อยใน 4 เดือนแรก หลังจากนั้นจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา ซึ่งสูงสุดในเดือนที่ 9 เมื่อนำเมล็ดไปทดสอบความงอก พบว่ากรรมวิธีที่ 1 ทั้ง 12 เดือนเปอร์เซ็นต์ความงอกยังคงสูงกว่าร้อยละ 80 คืออยู่ระหว่าง 83-97 แต่ในกรรมวิธีที่ 2 การเก็บรักษาใน 8 เดือนแรก ความงอกอยู่ระหว่าง 82-98 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงจนต่ำกว่ามาตรฐาน
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328665
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หลักในสภาพควบคุมอากาศและความชื้น
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย อายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หญ้าที่ระดับความชื้นต่างๆกันในกระป๋องสังกะสีผนึกด้วยขี้ผึ้ง ผลของขนาดเมล็ดที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ถั่วแลปแลป คุณภาพและความสามารถในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียน การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเมล็ดหญ้ากัมบ้า (3) ผลของวิธีการเก็บรักษาที่มีต่อ คุณภาพเมล็ด ผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แบบปิดสนิทใน super bag ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในการเก็บรักษาที่ระดับความชื้นต่างๆ ผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แบบปิดสนิทใน Super Bag ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว อายุการเก็บรักษาและระยะพักตัวของเมล็ดหญ้ารูซี่ที่เก็บรักษาในสภาพต่างๆ กัน การเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อประเมินอายุการเก็บรักษาในเขตร้อนชื้น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก