สืบค้นงานวิจัย
บูรณาการการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตโดยใช้จุลินทรีย์และสารสกัดจากพืชในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อเรื่อง: บูรณาการการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตโดยใช้จุลินทรีย์และสารสกัดจากพืชในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Integration of rice production for improving yield and reducing cost by using microorganisms and plant extracts in areas of lower north
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การบูรณาการการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนโดยการใช้จุลินทรีย์ สมุนไพร และปุ๋ยคอก ร่วมกับการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ การทดลองในห้องปฏิบัติการเชื้อรา Trichoderma viride และRhizopus oligosporus มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายและสกัดสารจากสมุนไพร ทำให้น้ำสกัดกระเทียม ว่านน้ำ สาบเสือ และมะเขือพวงที่ถูกสกัดสารด้วยเชื้อรา T. viride และ R. oligosporus สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตเส้นใยของเชื้อรา Pyricularia grisea และ Bipolaris oryzae ในสภาพห้องปฏิบัติได้ โดยสารสกัดกระเทียมที่เติมเชื้อรา T. viride ในขบวนการหมัก ที่ความเข้มข้น 500 ppm มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตเส้นใยของเชื้อรา P. grisea และ B. oryzae สูงสุด เท่ากับ 83.24 และ 86.45 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือน้ำสกัดกระเทียมที่ถูกหมักด้วยเชื้อรา R. oligosporus มีการยับยั้งเท่ากับ 65.67 และ 53.78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เป็นเหตุผลที่ทำให้การใช้สารสกัดกระเทียมที่เติมเชื้อรา T. viride มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรง (disease severity) ของโรคใบไหม้ และใบจุดสีน้ำตาลในสภาพโรงเรือนสูง ที่ความเข้มข้น 500 ppm เท่ากับ 64.37 และ 68.71 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธ์และต้นกล้าข้าวในสภาพห้องปฏิบัติการโดยสารละลายอาหารเพาะเลี้ยง พบว่าสารละลายเพาะเลี้ยง T. harzianum มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวสูงสุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอก เท่ากับ 95.4 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นกล้า เท่ากับ 65.1 และ 9.5 มิลลิกรัม/ต้น รองลงมาคือสารละลายเพาะเลี้ยง Pseudomonas fluorescens มีเปอร์เซ็นการงอก เท่ากับ 90.3 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นกล้า เท่ากับ 62.9 และ 9.3 มิลลิกรัม/ต้น ตามลำดับ สำหรับการทดลองในสภาพแปลงปลูก การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดพืชในการควบคุมโรคพบว่าสารสกัดพืชที่หมักด้วยเชื้อราสามารถลดความรุนแรงของโรคใบไหม้ของข้าวที่เกิดจากเชื้อรา P. grisea ได้ โดยเฉพาะกรรมวิธีที่ใช้สารสกัดกระเทียมที่ผ่านขบวนการหมักด้วยเชื้อรา T. viride ลดความรุนแรงของโรคใบไหม้และใบจุดสีน้ำตาล ที่ความเข้มข้น 500 ppm ได้เท่ากับ 61.85 และ 58.63 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การใช้สารเคมีคาร์เบนดาซิมลดความรุนแรงของโรคใบไหม้และใบจุดสีน้ำตาลได้เท่ากับ 68.38 และ 71.96 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองการย่อยสลายตอซังข้าวโดยใช้น้ำหมักหน่อกล้วยและปุ๋ยมูลสัตว์ ร่วมกับการควบคุมระดับน้ำ พบว่าน้ำหมักหน่อกล้วยมีประสิทธิภาพสูงสุดในการย่อยสลาตอซังข้าว มีเปอร์เซ็นต์เยื่อใยหยาบ (crude fiber; CF) ที่ส่วนใหญ่ ประกอบด้วย เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ต่ำสุด มีเปอร์เซ็นต์เถ้า (ash) ซึ่งได้แก่แร่ธาตุต่าง ๆ สูงสุด และมีประสิทธิภาพในการจัดการวัชพืชสูงสุด ด้วยปริมาณข้าววัชพืชและหญ้าข้าวนกต่ำสุด นอกจากนี้การทดลองให้ปุ๋ยเคมีร่วมกับน้ำหมักมูลสุกรและมูลแพะพบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยมูลแพะมีจำนวนรวงข้าวต่อกอและจำนวนเมล็ดข้าวต่อรวงมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต กรรมวิธีที่ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลแพะมีผลผลิตต่อไร่สูงที่สุดคือ 800 กิโลกรัม/ไร่ และมีกำไรสูงสุดคือ 6,202.8 บาทต่อไร่ ในขณะที่กรรมวิธีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวมีผลผลิตเท่ากับ 792 กิโลกรัม/ไร่ และมีกำไรเท่ากับ 6,016.8 บาทต่อไร่ แสดงให้เห็นว่าปุ๋ยคอกที่ใส่ลงไปในดินสามารถเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน และเพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารพืชที่เติมลงไปทำให้สามารถใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อ (EN): Integrated rice production was designed to increase productivity and reduce costs by using of microorganisms and organic herbs combined with chemicals and synthetic fertilizers. Experiments in the laboratory, Trichoderma viride and Rhizopus oligosporus have efficacy in digestion and extraction of herbs. As the result of the extracts of garlic, mytlegrass, bitter bush and eggplant fermented with T. viride and R. oligosporus could inhibite the mycelial growth of Pyricularia grisea and Bipolaris oryzae on potato dextrose agar (PDA) plate. The garlic extract fermented with T. viride at concentration of 500 ppm provided the highest efficiency in inhibiting the mycelial growth of P. grisea and B. oryzae by 83.24 and 86.45%, followed by the extract of garlic fermented with R. oligosporus had inhibition of 65.67 and 53.78%, respectively. As the result of garlic extract fermented with T. viride at concentration of 500 ppm provided the high efficacy in reducing the severity of leaf blight and leaf brown spot in greenhouse experiment by 64.37 and 68.71%, respectively. The experiment of growth promotion of rice seeds and seedlings by culture filtrates found that T. harzianum culture had the most effective in promoting the growth of rice by seed germination, fresh weight and dry weight of seedling were 95.4%, 65.1 mg/plant, and 9.5 mg/plant, respectively. While the lower treatment, Pseudomonas fluorescens culture on seed germination, fresh weight and dry weight of seedling were 90.3%, 62.9 mg/plant and 9.3 mg/plant, respectively. In field experiments, using extract of Allium sativum fermented with T. viride at concentration of 500 ppm provided high efficacy to reduce severity of leaf blight and spot brown diseases by 61.85 and 58.63%, while chemical carbendazim reduced disease severity of leaf blight and spot brown diseases by 68.38 and 71.96%, respectively. The decomposition of rice straw with bio-extract of banana buds and organic manure found that bio-extract of banana buds had the most effective in the rice straw decomposition by the lowest percent crude fiber (CF), mainly composed of cellulose, hemicellulose and lignin and the highest percentage ash, including minerals. This rice straw decomposition by bio-extract of banana buds in combination with water level control had the highest efficacy in weed management by the lowest weedy rice and barnyard grass. In addition, the experiments of combination treatment of chemical fertilizer with bio-extract of pig manure and goat manure, the result showed that the combination treatment of chemical fertilizer with goat manure provided the highest rice grains per panicle and stems per clump, compared to methods that use chemical fertilizers alone. And after harvest, the combined treatment chemical fertilizers and manure goat had the highest yield by 800 kg/rai and the highest profit is 6202.8 bath/rai, while in the treatment of chemical fertilizers alone yield of 792 kg/rai and profit was 6016.8 bath/rai. These result showed that goat manure increased the amount of plant nutrients in the soil and the ability to absorb higher nutrient, as the result of using chemical fertilizers added effectively.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
บูรณาการการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตโดยใช้จุลินทรีย์และสารสกัดจากพืชในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
30 กันยายน 2556
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยใช้องค์ความรู้ใหม่ในการจัดการศัตรูข้าวเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าวในนาชลประทาน ความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่น : การใช้จุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ในการผลิตข้าว ความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่น : การใช้จุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ในการผลิตข้าว ระยะที่ 2 ลดต้นทุนการผลิตข้าว การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มผลผลิตและพยากรณ์การผลิตข้าว การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าว ในแหล่งปลูกข้าวภาคใต้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก