สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความชุกของเชื้อซาลโมเนลล่าและแคมไพโลแบคเตอร์ และรูปแบบการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อที่แยกได้จากเนื้อไก่ในตลาด
ปิยะดา หวังรุ่งทรัพย์ - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความชุกของเชื้อซาลโมเนลล่าและแคมไพโลแบคเตอร์ และรูปแบบการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อที่แยกได้จากเนื้อไก่ในตลาด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปิยะดา หวังรุ่งทรัพย์
คำสำคัญ: เชื้อซาลโมเนลล่า เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ การดื้อยาต้านจุลชีพ เนื้อไก่
บทคัดย่อ: เชื้อซาลโมเนลล่าและแคมไพโลแบคเตอร์เป็นสาเหตุหลักของโรคอาหารเป็นพิษ ช่วงเดือนมิถุนายน 2559 ถึงกรกฎาคม 2560 ได้ตรวจยืนยันเชื้อที่แยกจากเนื้อไก่ในตลาดสดเพื่อจำแนกซีโรวาร์ของซาลโมเนลล่า และสกุลของแคมไพโลแบคเตอร์ ด้วยวิธี Kauffmann-White scheme (2007) และ US FDA BAM (2001) ตามลำดับ และทดสอบการดื้อยาต้านจุลชีพด้วยวิธี CLSI (2016) และ CDC (2016) จำนวน 214 ตัวอย่าง ประกอบด้วยซาลโมเนลล่า 213 สายพันธุ์ และแคมไพโลแบคเตอร์ 172 สายพันธุ์ ผลการตรวจยืนยัน พบซาลโมเนลล่า 31 ซีโรวาร์ เป็น S. Agona สูงสุด (ร้อยละ31.0) รองลงมา คือ S. Corvallis (ร้อยละ 12.2) และมีรูปแบบการดื้อยาต้านจุลชีพ 4 ชนิด ได้แก่ แอมพิซิลิน, ซัลฟาไตรเม็ทโทรพริม, ซิโปรฟล็อกซาซิน และเซฟโฟแทก- ซิม คิดเป็นร้อยละ 47.9, 23.5, 1.4 และ 0 ตามลำดับ ส่วนแคมไพโลแบคเตอร์ พบเป็น C. jejuni subsp. jejuni ร้อยละ 66.3 และ C. coli ร้อยละ 33.7 โดยมีรูปแบบการดื้อยาต้านจุลชีพ 4 ชนิด ได้แก่ ซิโปรฟล็อกซาซิน, อิริโทรมัยซิน, อะซิโทรมัยซิน และเจนตามัยซิน คิดเป็น ร้อยละ 87.8, 19.2, 16.9 และ 5.2 ตามลำดับ ผู้บริโภคมีโอกาสติดเชื้อดื้อยาได้จากอาหาร จึงควรปรุงอาหารให้สุกดีเพื่อทำลายหรือช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: http://nih.dmsc.moph.go.th/research/showimgdetil.php?id=630
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: 1 ฝ่ายแบคทีเรียไร้อากาศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 2 ฝ่ายทดสอบยืนยันเชื้อซาลโมเนลลาและชิกเกลล่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 3 ฝ่ายตรวจวินิจฉัยแบคทีเรียทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความชุกของเชื้อซาลโมเนลล่าและแคมไพโลแบคเตอร์ และรูปแบบการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อที่แยกได้จากเนื้อไก่ในตลาด
1 ฝ่ายแบคทีเรียไร้อากาศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 2 ฝ่ายทดสอบยืนยันเชื้อซาลโมเนลลาและชิกเกลล่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 3 ฝ่ายตรวจวินิจฉัยแบคทีเรียทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
2561
เอกสารแนบ 1
ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ อุบัติการณ์และกลไกการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ที่แยกได้จากเนื้อไก่ที่ขายในตลาดประเทศไทย Prevalence and mechanisms of antibiotic resistance in Campylobacter isolated from retail chicken sam ความชุกของเชื้อซัลโมเนลลาและรูปแบบการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อที่แยกได้จากเนื้อไก่ในตลาดจังหวัดปทุมธานี คุณสมบัติและความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ Pasteurella (Moraxella) anatipestifer ที่แยกได้จากเป็ดเทศไทย การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในจีนัส Enterococcus ที่ดื้อต่อยา vancomycin ในสุกร การศึกษาเปรียบเทียบความชุกและการต้านยาของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ที่แยกได้จากไก่เนื้อและไก่ไทยที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมและไม่ผสมสารเสริมชีวนะหรือสมุนไพร : รายงานวิจัย การดื้อยาของยีนในเชื้อStreptococcus agalactiae ที่แยกได้จากปลานิล ความชุกของเชื้อซัลโมเนลลาและรูปแบบการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อที่แยกได้จากเนื้อไก่ในตลาดจังหวัดปทุมธานี การพัฒนาดีเอ็นเอไบโอเซนเซอร์เพื่อการตรวจหาเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ การใช้ถั่วมะแฮะเป็นอาหารสัตว์ 4. คุณค่าทางโภชนาการของใบถั่วมะแฮะในไก่เนื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก