สืบค้นงานวิจัย
ผลของการจัดการแปลงอ้อยระยะยาวต่อการกระจายตัวของราก และการให้ผลผลิตอ้อย
รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการจัดการแปลงอ้อยระยะยาวต่อการกระจายตัวของราก และการให้ผลผลิตอ้อย
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Long-term Management on Root Distribution and Yield in Sugarcane
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ratchada Pratcharoenwanich
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถไว้ตอได้เพียง 1-2 ตอ เท่านั้น การจัดการแปลงอ้อยที่ดีเพื่อให้อ้อยสามารถไว้ตอได้มากกว่า 2 ตอ น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรลงได้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการจัดการแปลงอ้อยเพื่อให้อ้อยสามารถไว้ตอได้มากกว่า 2 ตอ และผลผลิตอ้อยตอต้องลดลงจากอ้อยปลูกไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ โดยทำการศึกษาการจัดการแปลงอ้อยด้วยวิธีต่างๆ ในแปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 5 กรรมวิธี ได้แก่ 1) การไถกลบเศษซากอ้อยลงดิน 2) การปล่อยเศษซากอ้อยคลุมดิน 3) การปลูกปอเทืองแล้วไถกลบเมื่อปอเทืองออกดอก 4) การไถตัดรากอ้อย และ 5) การเผาเศษซากอ้อย (วิธีเกษตรกร) โดยใช้อ้อยพันธุ์อู่ทอง 3 ในการศึกษาวิจัย พบว่า ในเวลา 6 ปี มีเศษซากอ้อย (แห้ง) ทิ้งไว้ในแปลงเฉลี่ย 2.68 ตัน/ไร่/ปี การจัดการแปลงอ้อยแต่ละกรรมวิธีไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตอ้อยที่แตกต่างทางสถิติ แต่ก็ทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในระยะยาวของความเสียหายที่เกิดจากการเผาเศษซากอ้อยที่มีต่อผลผลิตที่ได้รับ โดยดูการเจริญแผ่กระจายของรากอ้อยและผลผลิต ในอ้อยตอ 4 พบว่ารากอ้อยส่วนใหญ่กระจายตัวในรัศมีด้านข้างประมาณ 10-20 เซนติเมตร ส่วนปริมาณรากในระดับความลึกต่างๆ นั้น มีปริมาณรากเจริญเติบโตอยู่มากที่ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร การไถกลบเศษซากอ้อยคลุกลงดิน การปลูกปอเทืองแล้วไถกลบ และการไถตัดราก มีรากอ้อยในชั้นดินความลึก 0-30 เซนติเมตร มากกว่าการปล่อยเศษซากอ้อยคลุมดินและการเผาเศษซากอ้อย 9-11 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การจัดการแปลงที่มีผลให้อ้อยไว้ตอได้มากกว่า 2 ตอ และผลผลิตลดลงจากอ้อยปลูกไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ การไถกลบเศษซากอ้อยลงดิน และ การไถตัดรากอ้อย ส่วนการปล่อยเศษซากอ้อยคลุมดิน การปลูกปอเทืองแล้วไถกลบ และ การเผาเศษซากอ้อยสามารถไว้ตอได้เพียง 2 ตอเท่านั้น โดนเฉพาะการเผาเศษซากอ้อยในระยะยาวแล้วทำให้ผลผลิตลดลงมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์
บทคัดย่อ (EN): : In the Northeast of Thailand, cane yield was relatively high only 1-2 ratoon. An appropriate cultural practice management is a key factor determining growth and yield of both cane yield and ratooning ability. The possibility to increase yield and reduce cost of production is to maintain more than two ratoons. Thus, the objective of this study is to investigate an appropriate practice to maintain more than 2 ratoons with less than 20% of yield reduction. The experiment was conducted at Nakornratchasima Research and Development Center. U-thong 3 variety was used in this study. Randomized complete block design was set up with 3 replications and 5 treatments. The treatments were: 1) incorporate cane residue into the soil, 2) with cane residue mulching, 3) growing sunhemp as green manure, 4) root cutting by ploughing after harvested, and 5) burning cane residue after harvested (farmer practice). Results showed that there was no significant different on growth and cane yield among treatments. The average dry cane residue accumulation was 2.68 ton/rai/year. However an adverse effect of cane residue burning on cane yield was observed. In the forth ratoon, the majority of cane root zone was found in the radius of 10-30 cm dept. The incorporation of cane residue into the soil, growing sunhemp as green manure and root cutting by ploughing after harvested resulted more cane root 9-11% than those with cane residue mulching and burning cane residue after harvested. In conclusion, sugarcane could be grown and maintained more than 2 ratoons with less than 20% yield reduction by incorporated cane residue into the soil and and root cutting by ploughing after harvested. Mulching cane residue, growing sunhemp as green manure and burning cane residue after harvested could maintain only two ratoons. For long time planting, the cane yield of the fifth ratoon in the cane residue burning treatment significantly decreased yield up to 35%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=233.pdf&id=650&keeptrack=13
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการจัดการแปลงอ้อยระยะยาวต่อการกระจายตัวของราก และการให้ผลผลิตอ้อย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้โรงงานน้ำตาลต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตของอ้อยและสมบัติบางประการของดิน ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแก่นตะวัน ผลการไถลึกต่อผลผลิตและคุณภาพอ้อยในไร่เกษตรกร ศึกษาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของพริก 35 พันธุ์ ผลของระยะปลูกต่อคุณภาพและผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum) ผลของปุ๋ยน้ำต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดและอ้อย ผลการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพอ้อย ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก