สืบค้นงานวิจัย
ผลของการปรับปรุงฟางข้าวโดยการนึ่งไอน้ำร่วมกับสารละลายแคลเซียมออกไซด์ต่อจลนศาสตร์ การผลิตแก๊สและการย่อยสลายของโภชนะ
ปชาบดี คงเพ็ชรศักดิ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการปรับปรุงฟางข้าวโดยการนึ่งไอน้ำร่วมกับสารละลายแคลเซียมออกไซด์ต่อจลนศาสตร์ การผลิตแก๊สและการย่อยสลายของโภชนะ
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of improving rice straw with the steam method and calcium oxide on gas production kinetics and nutrient degradability
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปชาบดี คงเพ็ชรศักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pachabordee Khongphetsak
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรับปรุงฟางข้าวด้วยวิธีการนึ่งไอน้ำร่วมกับสารละลายแคลเซียมออกไซด์ ต่อค่าจลนศาสตร์การผลิตแก๊ส ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ค่าการย่อยสลายของวัตถุแห้งและอินทรียวัตถุ โดยใช้เทคนิคผลผลิตแก๊ส วางแผนการทดลองแบบ 3 x 2 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (3x2 factorial experiments in CRD) มีปัจจัยที่ศึกษา 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยแรกเป็นการปรับปรุงโดยใช้กระบวนการนึ่งไอน้ำ (ไม่นึ่งไอน้ำ, นึ่งไอน้ำ 30 นาที, นึ่งไอน้ำ 45 นาที) และปัจจัยที่สองเป็นการปรับปรุงด้วยสารละลายแคลเซียม ออกไซด์ (ไม่ปรับปรุง, ปรับปรุงด้วยแคลเซียมออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง) พบว่า การปรับปรุงฟางข้าว ด้วยสารละลายแคลเซียมออกไซด์ร่วมกับการนึ่งไอน้ำมีผลทำให้ปริมาณวัตถุแห้ง เยื่อใย NDF และ ADF มีค่าลด ลง (p<0.01) แต่มีปริมาณของเถ้าเพิ่มขึ้น (p<0.01) การนึ่งไอน้ำมีผลทำให้ผลผลิตแก๊สจากส่วนที่ไม่ละลายน้ำ (b) อัตราการผลิตแก๊ส (d) และปริมาณแก๊สสะสมในชั่วโมงที่ 96 มีค่าเพิ่มขึ ้น (p<0.05) โดยการปรับปรุงฟางข้าวด้วยแคลเซียมออกไซด์ที่ 3 เปอร์เซ็นต์วัตถุแห้ง ร่วมกับการนึ่งไอน้ำที่ระยะเวลา 30 นาที มีผลทำให้ผลผลิตแก๊สมีค่าสูง ที่สุด (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อการย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ และปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ดังนั้นการ ปรับปรุงฟางข้าวด้วยแคลเซียมออกไซด์ร่วมกับการนึ่งไอน้ำสามารถลดปริมาณเยื่อใย NDF และ ADF เพิ่มผลผลิตแก๊ส และมีแนวโน้มการย่อยได้ที่ดีขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this experiment was to study the effect of rice straw treated by either calcium oxide or steam method on gas production kinetics and degradability by using in vitro gas production technique. The experimental design was 3x2 factorial experiment according to Completely Randomized Design (CRD). The first factor was steam process (not steam, steamed for 30 and 45 minutes). The second factor was calcium oxide treatment (0 and 3% of dry matter). The result showed that rice straw treated by calcium oxide together with steaming process contained lower dry matter, NDF and ADF (p<0.01) contents but higher ash content (p<0.01) as compared to others. The stream method gave the highest gas production from insoluble (b), gas production rate (d) and gas accumulated at 96 hours (p<0.05) but did not affect the digestibility of dry matter and organic matter and ammonianitrogen concentration. Therefore, calcium oxide and stream method together can reduce NDF and ADF contents and increase gas production of rice straw
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=375.pdf&id=3760&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการปรับปรุงฟางข้าวโดยการนึ่งไอน้ำร่วมกับสารละลายแคลเซียมออกไซด์ต่อจลนศาสตร์ การผลิตแก๊สและการย่อยสลายของโภชนะ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาระดับหญ้ารูซี่ในแกะที่มีต่อปริมาณการกินและการย่อยได้ของอาหารหยาบที่มีหญ้ารูซี่ผสมกับฟางข้าว ผลของการเสริมเปลือกเงาะที่ระดับแตกต่างกันต่อการย่อยสลายได้และผลผลิตแก๊สในหลอดทดลอง ผลของการใช้แบคทีเรียผลิตกรดแลคติคจากน้ำพืชหมักเป็นสารเสริมในการหมักเปลือกตาลอ่อนร่วมกับฟางข้าวต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะ การผลิตผงถ่านกัมมันต์จากฟางข้าวและประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตไซลิทอล ผลของการใช้ผงกล้วยดิบทดแทนมันเส้นในสูตรอาหารข้น ต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊ส กระบวนการหมักและความสามารถในการย่อยได้ ผลของการใช้เปลือกและซังข้าวโพดหมักร่วมกับฟางข้าว ในอาหารโคนมรุ่น สมรรถภาพในการผลิตของแกะที่ได้รับฟางข้าวหมักยูเรียหรือฟางข้าวราดกากน้ำตาล-ยูเรียเสริมและไม่เสริมใบกระถินสดเทียบกับหญ้าสด การศึกษาอัตราส่วนของฟางถั่วเหลืองกับฟางข้าวในการบ่มด้วยแอมโมเนียที่มีผลต่อสมรรถภาพของโค การจัดการฟางข้าวและวิธีการควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งโดยไม่เตรียมดิน เอนไซม์ย่อยเยื่อใยจาก 2 แหล่งต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และผลผลิตนํ้านมของโคนม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก