สืบค้นงานวิจัย
การติดตามและประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ในค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (รายงานการวิจัย โครงการวิจัยนำร่อง)
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การติดตามและประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ในค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (รายงานการวิจัย โครงการวิจัยนำร่อง)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ไวรัสนิปาห์มีค้างคาวแม่ไก่เป็นแหล่งรังโรคสำคัญ การพบเชื้อไวรัสในค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางในประเทศไทย เป็นเครื่องชี้วัดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดจากไวรัสนิปาห์ ทั้งในคนและสัตว์โดยเฉพาะสุกร การตรวจหาเชื้อไวรัสนิปาห์จากเยี่ยวค้างคาวด้วยวิธี PCR เป็นการช่วยติดตามและประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไวรัสจากค้างคาวสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่น ๆ พื้นที่ ๆ เลือกในการศึกษาครั้งนี้เป็นพื้นที่ ๆ มีรายงานการพบเชื้อนิปาห์จากเยี่ยวค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางมาก่อน ในการศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บเยี่ยวค้างคาวใต้ต้นไม้ในช่วงเวลาที่มีการรายงานการพบเชื้อ (เมษายน-พฤษภาคม) ผลการตรวจพบว่าทั้งสองพื้นที่มีการพบเชื้อไวรัสในเยี่ยวค้างคาวในจำนวนที่แตกต่างกันคือ ที่วัดหลวงพรหมาวาส จังหวัดชลบุรี พบเชื้อ 18 ใน 50 ตัวอย่าง (pooled Urine) ในขณะที่พบเชื้อ 4 ใน 50 ตัวอย่างที่วัดท่าซุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเมื่อศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัสนิปาห์ที่พบ พบว่าไวรัสที่พบจากวัดหลวงพรหมาวาสมีความหลากหลายสูงกว่าวัดท่าซุงที่พบเพียง 1 แบบ ที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ในขณะที่วัดหลวงพบความหลากหลาย 4 แบบ จาก 18 ตัวอย่าง ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากจำนวนประชากรค้างคาวรวมของวัดหลวงที่มีมากกว่าวัดท่าซุงประมาณ 3 เท่า จากการเฝ้าติดตามการแพร่เชื้อไวรัสจากเยี่ยวค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางที่พบการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องนานกว่า 6 ปี เป็นเครื่องยืนยันว่าค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางเป็นตัวอมโรคของไวรัสนิปาห์ และควรเฝ้าติดตามอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดสู่คน สัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57828
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดตามและประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ในค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (รายงานการวิจัย โครงการวิจัยนำร่อง)
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 ความชุกของแอนติบอดีต่อการติดเชื้อ Neospora caninum ในสุนัขทางภาคกลางของประเทศไทย การติดตาม ประเมินผล และการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยด้านยางพารา การเจริญของเชื้อ Macrophomina phaseolina ในส่วนต่าง ๆ ของพืชภายหลังการติดเชื้อของราก การพัฒนาชุดทดสอบเพื่อวินิจฉัยสภาวะการติดเชื้อเลปโตสไปร่าและ serovars ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในปศุสัตว์ การสำรวจเบื้องต้นถิ่นที่อยู่อาศัยย่อยของค้างคาวคุณกิตติ Craseonycteris thonglongyai hill, 1974 อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี : รายงานวิจัย การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยด้านอ้อยและน้ำตาล ปี 2559 การศึกษา Subtype ของเชื้อไวรัส Avian Influenza จากสัตว์ปีกในประเทศไทย การพัฒนา ELISA สำหรับตรวจการติดเชื้อ Actinobacillus pleuropneumoniae โดยใช้รีคอมบิแนนท์โปรตีน Apx IV

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก