สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาศักยภาพการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย
ราตรี เม่นประเสริฐ, เพ็ญศรี สาวัตถี, ประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา, ราตรี เม่นประเสริฐ, เพ็ญศรี สาวัตถี, ประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาศักยภาพการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาศักยภาพการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและ การตลาดสับปะรดของไทย สถานการณ์สับปะรดกระป๋องในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และศักยภาพการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย ผลการศึกษา พบว่า แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทย คือ ภาคตะวันตก และ ภาคตะวันออก โดยผลผลิตต่อไร่ เฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 4.52 ตัน โดยภาคตะวันออก มีผลผลิตต่อไร่สูงสุด 4.97 ตัน รองลงมาคือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เท่ากับ 4.52 4.32 และ 4.19 ตัน ตามลำดับ สำหรับต้นทุนการผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 2.68 บาท โดยภาคตะวันออกมีต้นทุนต่อกิโลกรัมสูงที่สุด 2.80 บาท รองลงมาคือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เท่ากับ 2.72 2.65 และ 2.54 บาท ตามลำดับ ในขณะที่ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 6.01 บาท โดยเกษตรกรในภาคตะวันออกได้รับราคาสูงที่สุดกิโลกรัมละ 6.16 บาท รองลงมาคือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เท่ากับ 6.12 6.10 และ 5.70 บาท ตามลำดับ ในส่วนของโครงสร้างต้นทุนสับปะรดกระป๋อง ประกอบด้วย ค่าวัตถุดิบ (สับปะรดสด) ร้อยละ50 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ค่าภาชนะบรรจุ ร้อยละ 30 ค่าจ้างแรงงาน ร้อยละ10 และค่าใช้จ่ายอื่นๆ (น้ำมันเตา ฉลาก ฯลฯ) ร้อยละ10 การศึกษาสถานการณ์สับปะรดกระป๋องในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ พบว่า ไทยมีโอกาสในการขยายการส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เนื่องจากคุณภาพสับปะรดกระป๋องของไทยเป็นที่ยอมรับ ประชากรของสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์มีรายได้ต่อหัวสูง ภาษีนำเข้าต่ำเพียงร้อยละ 5 รวมทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า (HUB) ไปสู่ประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง การศึกษาศักยภาพการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย โดยพิจารณาตำแหน่งทางการตลาดโดยใช้ BCG พบว่า การส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทยจัดเป็นกลุ่มสินค้าดาวรุ่ง (Star) เนื่องจากมีอัตราขยายตัวของ มูลค่าส่งออก และส่วนแบ่งการตลาดที่สูง ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเคนย่า จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่เป็นปัญหา (Dogs) เนื่องจากมีอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกต่ำกว่าอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกโลกและมีส่วนแบ่งการตลาดต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง สำหรับประเทศจีน จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่น่าสงสัย (Question Mark) เนื่องจากมีอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกสูง แต่มีส่วนแบ่งการตลาดต่ำ สำหรับการศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบโดยพิจารณาจากค่า RCA พบว่า ค่า RCA ของไทย เท่ากับ 40.55 ซึ่งสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ที่มีค่าเท่ากับ 31.55 และ 12.92 ตามลำดับ แสดงว่าไทยมีความสามารถในการส่งออกสับปะรดกระป๋องเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง ดังนั้น สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่าไทยมีศักยภาพในการส่งออกสับปะรดกระป๋อง แต่การรักษาความเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ควรมีการปรับตัวโดยเฉพาะในด้านวัตถุดิบ ซึ่งจะต้องดำเนินการวางแผนการผลิตร่วมกันระหว่างเกษตรกรและโรงงานแปรรูป และทำการผลิตในรูปแบบสัญญาข้อตกลง (Contract Farming) รวมทั้งสนับสนุนให้เกษตรกรทำการผลิตตามเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice : GAP) เพื่อให้ได้สับปะรดที่มีคุณภาพ และป้อนโรงงานแปรรูปอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ควรพัฒนาและบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาศักยภาพการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2551
การเปรียบเทียบคุณภาพสับปะรดรับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใน 3 พื้นที่และการยอมรับของผู้บริโภค การเปรียบเทียบคุณภาพสับปะรดรับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใน 3 พื้นที่และการยอมรับของผู้บริโภค การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ของประเทศไทย ศักยภาพการผลิตและการส่งออกน้อยหน่า การศึกษาผลกระทบของราคาส่งออกข้าวไทยและประเทศคู่แข่งที่มีต่อความต้องการนำเข้าข้าวจากไทย การสร้างเครื่องวัดความเปรี้ยวของสับปะรด การวิเคราะห์ส่วนการตลาดแบบคงที่ของการส่งออกยางพาราไทย ศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดราชบุรี การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก