สืบค้นงานวิจัย
มข 60 : ถั่วลิสงเมล็ดโตพันธุ์ใหม่ ทรงพุ่มตั้ง อายุสั้น ผลผลิตสูง
สนั่น จอกลอย - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: มข 60 : ถั่วลิสงเมล็ดโตพันธุ์ใหม่ ทรงพุ่มตั้ง อายุสั้น ผลผลิตสูง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สนั่น จอกลอย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อารันต์ พัฒโนทัย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ถั่วลิสง (Arachis hypogaea L.) เป็นพืชไร่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทยจากสถิติปีการผลิต 2543/44 พบว่ามีพื้นที่เพาะปลูก 532,000 ไร่ ผลผลิตรวม 132,000 ตัน โดยมีผลผลิต เฉลี่ย 255 กิโลกรัมต่อไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2545) ถั่วลิสงที่ผลผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นถั่วลิสงในกลุ่มพันธุ์เมล็ดเล็ก การผลิตถั่วลิสงเมล็ดโตเป็นการค้ายังมีอยู่น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้บริโภคภายในประเทศ ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าถั่วลิสงเมล็ดโตจากต่างประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 2,000 ตัน (สนั่น และคณะ, 2542) หลังจากเริ่มมีความต้องการใช้ถั่วลิสงเมล็ดโตภายในประเทศได้มีความร่วมมือเพื่อพัฒนาพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตของหน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2531 ได้แนะนำพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตพันธุ์แรกของประเทศไทยคือ พันธุ์ขอนแก่น 60-3 โดยกรมวิชาการเกษตร (อานนท์ และคณะ, 2532) หลังจากมีการแนะนำพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตพันธุ์แรกได้มีการพัฒนาพันธุ์อย่างต่อเนื่องจนมีถั่วลิสงเมล็ดโตพันธุ์ใหม่ ๆ สำหรับแนะนำเกษตรกร โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แนะนำพันธุ์ถั่วลิสง เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์เกษตร 1 (จวงจันทร์ และคณะ, 2542) มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้แนะนำพันธุ์ มข. 72-1 และ มข. 72-2 (สนั่น และอารันต์, 2542) และกรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำพันธุ์ ขอนแก่น 6 (ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, มปป.) แต่ถั่วลิสงพันธุ์ที่แนะนำดังกล่าวยังมีข้อจำกัดเรื่องอายุเก็บเกี่ยวยาว ซึ่งไม่เหมาะกับระบบปลูกพืชของเกษตรกร และมีทรงต้นเลื้อยฝักแก่ไม่พร้อมกัน ยากต่อการถอนและการปลิดฝักเพื่อเก็บเกี่ยวจึงทำให้เกษตรกรไม่นิยมปลูกถั่วลิสงเมล็ดโต จากปัญหาที่พบทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีการพัฒนาพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตพันธุ์ใหม่ เพื่อให้มีผลผลิตสูง เมล็ดโต ทรงตันเป็นพุ่มตั้ง ฝักเกิดเป็นกระจุกบริเวณโคนต้น และมีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ซึ่งการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงด์ดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2541 โดยทำการผสมพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโต 6 สายพันธุ์ คือ มข. 72-1, (NC 17090 x B1)-25, Singburi, KK 60-3, China 97-2 และ Luhua 11 แบบ half cdiallel ได้ลูกผสมจำนวน 15 คู่ผสม ปลูกลูกผสมตั้งแต่ชั่วที่ 1 จนถึงชั่วที่ 5 เพื่อเป็นการเพิ่มชั่วรุ่น (generation advanced) และเก็บรวม (bulk) ในแต่ละคู่ผสม ปลูกลูกผสมชั่วที่ 6 และทำการคัดเลือกลูกผสมเป็นรายตัน โดยใช้ลักษณะอายุเก็บเกี่ยวสั้น ทรงตันเป็นพุ่มตั้ง และมีผลผลิตฝักดก ไว้จำนวน 251 ต้น ในชั่วที่ 7 นำต้นที่คัดเลือกไว้มาปลูกเป็นตันต่อแถว คัดเลือกเป็นรายแถว ที่มีอายุสั้นทรงพุ่มตั้ง และมีฝักดกไว้จำนวน 107 แถว (สายพันธุ์)เพื่อเปรียบเทียบพันธุ์ตามมาตรฐานการเปรียบเทียบพันธุ์ต่อไป ในกลุ่มสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ มีสายพันธุ์(Luhua 11 x China 97-2) F6-4 รวมอยู่ด้วยหลังจากการเปรียบเทียบพันธุ์ตามมาตรฐานการเปรียบเทียบพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยการเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นตัน 2 ปี 2 การทดลอง การเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นมาตรฐาน 2 ปี 3 การทดลอง การเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่น 2 ปี 15 การทดลอง และการเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่นาเกษตรกร 3 ปี 16 การทดล่อง รวมการเปรียบเทียบพันธุ์ทั้งสิ้น 36การทดลอง การเปรียบเทียบพันธุ์ทำทั้งในสภาพที่ดอนและที่เนินเขาในฤดูฝน และในที่นา ในฤดูแล้งให้น้ำชลประทาน โดยเฉพาะการเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นและการเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่นาเกษตรกรนอกจากนี้ได้มีการใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของถั่วลิสง (Crop Simulation Model CROPGRO-Peanut) ในการทำนายการให้ผลผลิตของถั่วลิสงสายพันธุ์ (Luhua 11 x China 97-2) F6-4 และพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานขอนแก่น 60-3 ในระดับการเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่นาเกษตรกร เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การผลิตถั่วลิสงที่สำคัญซึ่งไม่สามารถทดสอบพันธุ์ได้จริง จำนวน 26 พื้นที่เพาะปลูก เป็นระยะเวลา 10 ปี ทั้งการผลิตในฤดูฝน และฤดูแล้งเทียบเท่ากับงานทดลองเปรียบเทียบพันธุ์ 260 การทดลอง จากการทดสอบจริงในสภาพเพาะปลูกต่าง ๆ และจากการใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของถั่วลิสงพบว่าถั่วลิสงสายพันธุ์ (Luhua 11 x China 97-2) F6-4 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่น ตรงตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์มีลักษณะดีเด่นหลายประการ สมควรได้รับการแนะนำพันธุ์สู่เกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=107-110.pdf&id=68&keeptrack=166
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
มข 60 : ถั่วลิสงเมล็ดโตพันธุ์ใหม่ ทรงพุ่มตั้ง อายุสั้น ผลผลิตสูง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การผลิตเมล็ดพันธุ์ ถั่วลิสง 6 สายพันธุ์ใหม่เพื่อการบริโภคและแปรรูป การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง 6 สายพันธุ์ใหม่เพื่อการบริโภคและแปรรูป การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง 6 สายพันธุ์ใหม่ เพื่อการบริโภคและแปรรูป ถั่วลิสงพันธุ์ ขอนแก่น 84-7 การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น (Soybean Breeeding for Early Maturity) การเจริญเติบโตและพันธุกรรมปลาหนังลูกผสมสายพันธุ์ใหม่เพื่อการเพิ่มมูลค่าและสนับสนุนการส่งออก การศึกษาระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเตาผลผลิตสูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก