สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์กาแฟอาราบิก้าลูกผสมสายพันธุ์ Catmimor CIFC 7963-13-28
มานพ หาญเทวี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์กาแฟอาราบิก้าลูกผสมสายพันธุ์ Catmimor CIFC 7963-13-28
ชื่อเรื่อง (EN): hybrid Arabica Coffee Varietal Improvement: Catimor CIFC 7963-13-28
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มานพ หาญเทวี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Manop Hantawee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: กาแฟ (Coffee, Coffea spp.) เป็นพืชเศรษฐกิจและพืชเครื่องดื่มยอดนิยมที่แพร่หลายทั่วโลก สายพันธุ์อาราบิก้าเป็นพันธุ์ที่ชอบอากาศเย็น ให้รสชาติและมีกลิ่นหอมมาก มีปริมาณคาเฟอีรน้อย แต่ไม่ต้านทานต่อโรคราสนิม นิยมนำมาทำเป็นการแฟคั่วสด ทั้งนี้ภาคเหนือของประเทศไทยมีสภาพพื่นที่และสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการปลูกกาแฟสายพันธุ์นี้ แต่ปัญหาที่พบคือ มีการระบาดของโรคราสนิม (leaf rust) อยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกต่าง ๆ สร้างความเสียหาแก่ผู้ปลูกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นกรมวิชาการเกษตร จึงได้ดำเนินการโครงการวิจัยการศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่ต้านทานต่อโรคราสนิมที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Hemileia vastatrix ในพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2547 พบว่าสามารถคัดเลือกสายพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่ต้านทานต่อโรคราสนิม คือสาบพันธุ์ Catimor CIFC 7963-13-28 ลักษณเด่น คือต้านทานต่อโรคราสนิมสูง ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ (green bean หรือ coffee bean) เฉลี่ย 5 ปีสูงถึง 215 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์ Caturra, Bourbon และ Typica ที่เกษตรกรปลูกทั่วไป ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 90-120 กก. หรือ 1.79-2.39 เท่าให้ปริมาณสารกาแฟเกรด A เฉลี่ย 5 ปี 81.3-87.3% คุณภาพการชิม (cup quality test) อยู่ระดับ 6.5-7.0 คะแนน (จาก 10 คะแนน สภาพพื้นที่ที่แนะนำในการปลูกคือ เขตภาคเหนือบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 ม.ขึ้นไป มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-25 ซ. ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มม./ปี ข้อจำกัดของพันธุ์ คือต้องปลูกภายใต้สภาพร่มเงา ป่าธรรมชาติ หรือระหว่างแถวไม้ผลยืนต้น เช่น มะคาเดเมีย บ๊วย และลิ้นจี่
บทคัดย่อ (EN): The highland area of northern Thailand is particularly suitable for arabica coffee production. The main problem is leaf rust disease caused by Hemileia vastatrix B.&Br. which widely destroys coffee plantations. The Arabica coffee variety, Catimor CIFC 7963, has been intorduced to study and select for leaf rust disease resistance. The rust resistant varietal line namely CIFC 7963-13-28 was selected and trialed in 4 locations since 1985. This variety showed good performance with average green bean production up to 215 kg/rai compared to Caturra, Bourbon and Typica varieties which normally produced 90-120 kg/rai. The coffee bean product 90-120 kg/rai. the coffee bean production has been not only over twice the normal coffee varieties, but the percentage of grade A coffee bean values increased to 81.3-87.3%. The cup quality test was between 6.5 to (out of 10) when was compared to 5.5 for Cattura variety. The recommended growing area is 700 meters above mean sea level with average temperatures 18-25 C. Rain distribution was more than 1,500 mm./year. Catimor CIFC 7963-13-28 appears to be susceptibel to drought conditions, therefore, it should be planted in the shade of the natural forest or other fruit trees orchards such as macadamia, Japanese apricot and lychee.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์กาแฟอาราบิก้าลูกผสมสายพันธุ์ Catmimor CIFC 7963-13-28
กรมวิชาการเกษตร
2551
เอกสารแนบ 1
พันธุ์กาแฟอาราบิก้าในประเทศไทย โครงการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กาแฟอาราบิก้าโดยวิธีการผสมพันธุ์ อิทธิพลของอุณหภูมิต่อกาแฟอาราบิก้า สภาพแวดล้อมสำหรับการเจริญของกาแฟอาราบิก้า โภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวกล้องงอกนึ่งสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) ปฏิกิริยาของกาแฟอาราบิก้า คาทิมอร์ ต่อโรคราสนิม การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี การสำรวจแมลงศัตรูกาแฟอาราบิก้าและแมลงศัตรูธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย การปรับปรุงพันธุ์ปลาไนโดยวิธีการคัดเลือกแบบหมู่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก