สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับน้ำมันปลาทะเลในอาหาร และช่วงระยะเวลาการให้อาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในเนื้อไก่พื้นเมือง
วิทธวัช โมฬี, สุทิศา เข็มผะกา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับน้ำมันปลาทะเลในอาหาร และช่วงระยะเวลาการให้อาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในเนื้อไก่พื้นเมือง
ชื่อเรื่อง (EN): The effects of dietary fish oil level and feeding period on growth performance and omega-3 fatty acid composition of native chicken meat.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับการเสริมน้ำมันปลาทะเล และช่วงระยะเวลาการเสริมในอาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในเนื้อไก่พื้นเมือง โดยใช้ไก่พื้นเมืองพันธุ์เหลืองหางขาว 450 ตัว คละเพศ แบ่งออกเป็น 10 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 15 ตัว วางแผนการทดลองแบบ 3x3 Factorial Experiments in CRD + 1 Control โดยมีปัจจัยหลัก 3 ระดับคือ อาหารที่มีการเสริมน้ำมันปลาทูน่า 1.5%, 3.0% และ 4.5% ตามลำดับ และปัจจัยรอง 3 ระดับคือ ช่วงระยะเวลาการเสริมในอาหารที่ช่วงอายุ 3-12 สัปดาห์, 6-12 สัปดาห์ และ 9-12 สัปดาห์ ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าการเสริมน้ำมันปลาทูน่าทั้ง 3 ระดับ (1.5%, 3.0% และ 4.5%) และช่วงระยะเวลาของการให้อาหารที่ช่วงอายุทั้ง 3 ช่วง (3-12 สัปดาห์, 6-12 สัปดาห์ และ 9-12 สัปดาห์) ไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักตัว ปริมาณอาหารที่กินได้ และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (FCR) (P>0.05) และพบว่าไม่ส่งผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์ซาก เนื้ออก เนื้อสะโพก และไขมันช่องท้อง (P>0.05) การศึกษาองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อไก่ พบว่า กลุ่มที่ได้รับอาหารที่เสริมน้ำมันปลาทูน่าในทุกระดับ (1.5%, 3.0% และ 4.5%) มีผลทำให้กรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 สะสมอยู่ในเนื้อสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยเฉพาะกรดไขมัน Docosahexaenoic acid (DHA) (P0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเสริมน้ำมันปลาทะเลที่ระดับ 3% ในสูตรอาหาร ในช่วงอายุไก่ 3-12 สัปดาห์ (9 สัปดาห์ก่อนเชือด) มีความเหมาะสมในการเพิ่มสัดส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในเนื้อไก่พื้นเมือง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะการผลิตและส่วนประกอบของซากไก่พื้นเมือง
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to determine the effects of dietary fish oil levels and durations of dietary fish oil feeding on growth performance and fatty acid composition of meat in Thai native chickens. Four hundred fifty mixed sex chicks at 3 wk of age were randomly allocated into 10 experimental treatments as a result of the combination of 3 levels (1.5, 3.0, and 4.5%) and 3 durations of dietary fish oil feeding (3-12, 6-12, and 9-12 wk of age). The results showed that body weight, feed intake, feed conversion ratio (FCR), carcass percentage, meat yields and abdominal fat were not different among treatments (P>0.05). The proportion of total n-3 fatty acid in meat increased mostly because of the rise in docosahexaenoic acid (DHA) when fish oil was supplement in the diets compared with control (P0.05). It is suggested that the optimal meat n-3 fatty acid enrichment of Thai native chicken was to feed 3.0 % fish oil for 3-12 wk of age (or 9 wk before the time of slaughter) which it was not showed the detrimental effects on growth performance and carcass composition.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-02-28
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับน้ำมันปลาทะเลในอาหาร และช่วงระยะเวลาการให้อาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในเนื้อไก่พื้นเมือง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
28 กุมภาพันธ์ 2554
ผลของสถานที่ การศึกษา สายพันธุ์ และวัตถุประสงค์การผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อรายได้ของเกษตรกรในวังทอง เมือง บางระกำ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ชนิดของไขมันที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ ผลของระดับไขมันในอาหารต่อการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์จากอาหารและองค์ประกอบทางเคมีของปลาโมง สัดส่วนกรดไขมัน n3:n6 ที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลาสวายโมงขนาดเล็ก ผลของการเสริมน้ำมันตับปลาหมึกในระดับต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของกรดไขมันในปลาดุกลูกผสม ระดับโภชนะที่เหมาะสมในอาหารสัตว์ปีก 2) ไก่พื้นเมือง (ระยะเจริญเติบโต) ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ ผลของระดับเยื่อใยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะ ผลของอัตราและระยะเวลาการให้ปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของต้นมะกรูด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก