สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมไม้ยางพาราเพื่อให้เกิดดุลยภาพการผลิตและการใช้ของประเทศไทย
วราวุฒิ ศุภมิตรมงคล - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมไม้ยางพาราเพื่อให้เกิดดุลยภาพการผลิตและการใช้ของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Study of Para Rubber Wood Industry Supply Chain Management for Sustainable Utilization in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราวุฒิ ศุภมิตรมงคล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 1 ใน 5 พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมน้ำยางพาราที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกหลักของโลก แต่ถึงอย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมไม้ยางพาราก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เนื่องจากทั้ง 2 อุตสาหกรรมต้องดำเนินงานควบคู่กันไป เพราะไม้ยางพาราเป็นผลพลอยได้จากการปลูกยางพารา ไม้ยางพาราในปัจจุบันมีการนำไปแปรรูปเบื้องต้นเป็นหลายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไม้แปรรูป ไม้อัดและวีเนียร์ แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปที่มีการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หลักก็ว่าได้ ยังคงมีความเสี่ยงเนื่องจากมีตลาดน้อยราย ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราในปัจจุบัน ที่มีความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมและความเติบโตอย่างยั่งยืนส่งผลให้ต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายหรือมาตรฐานที่ประเทศผู้บริโภคต้องการ ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นต้องปรับตัว การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสงค์และอุปทานไม้ยางพาราและจัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมไม้ยางพารา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการที่นำไปสู่ดุลยภาพการผลิตและการใช้ของประเทศไทย และทำการวิเคราะห์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรค และมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงจัดทำร่างแผนที่นำทางการบริหารจัดการไม้ยางพาราที่สอดคล้องกับดุลยภาพการผลิตทั้งกลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ในการพัฒนาไม้ยางพาราแบบครบวงจรอย่างยั่งยืน โดยมีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากข้อมูลทุตยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งด้านวัตถุดิบ และการแปรรูปไม้ยางพาราเพื่อให้ทราบดุลยภาพของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไม้ยางพารา ผลการศึกษาพบว่า จากอุตสาหกรรมต้นน้ำไปสู่อุตสาหกรรมกลางน้ำ อุตสาหกรรมกลางน้ำมีกำลังการผลิตเกินดุลอยู่ค่อนข้างมาก หากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางการตลาดจะส่งผลกระทบกับอุตสหากรรมกลางน้ำอย่างรุนแรง จากอุตสาหกรรมกลางน้ำไปสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำปัจจุบัน อุตสาหกรรมปลายน้ำมีการใช้วัตถุดิบไม้อื่นๆ ที่ไม่ใช่ไม้ยางพาราเกือบครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิต หากมีการปรับเปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบไม้ยางพาราในภาพรวมอุตสาหกรรมปลายน้ำในปัจจุบันสามารถรองรับได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการซื้อขาย คุณภาพวัตถุดิบ และตลาดผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ปัจจุบันอุตสาหกรรมไม้ยางพาราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคทำให้ยังไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานของประเทศผู้บริโภคได้ทั้งในอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แต่สำหรับอุตสาหกรรมปลายน้ำจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า เนื่องจากมีการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศส่วนหนึ่ง โดยโครงการได้รวบรวมข้อเสนอแนะจากการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น สามารถแบ่งแผนออกเป็น 3 ระยะ ระยะละ 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ในแต่ละระยะคือ 1) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไม้ยางพารา มีแนวทางการพัฒนาหลักๆ คือ การจัดทำระบบการติดตามการผลิตและแปรรูปไม้ยางพารา หรือ Due Diligence System (DSS) และปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ แนวทางปฏิบัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของประเทศผู้บริโภค 2) มีคลัสเตอร์ธุรกิจไม้ยางพาราที่เข้มแข็ง มีแนวทางการพัฒนาหลักๆ คือ การปรับโครงสร้างการบริหารภาคงานภาครัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้ยางพารา และพัฒนาด้านการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน 3) ยกระดับธุรกิจไม้ยางพาราสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีแนวทางการพัฒนาหลักๆ คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริโภค การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพารา และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลต่างประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตไม้ยางพาราหลักประเทศไทยมีสัดส่วนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปลายน้ำน้อยกว่าประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อค้นค้นหาปริมาณวัตถุดิบในบริเวณที่ต้องการรวมไปถึงข้อมูลประมาณการความต้องการวัตถุดิบไม้ยางพาราของภาคอุตสาหกรรมจากข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปไม้
บทคัดย่อ (EN): Abstract is in the attached file.
ชื่อแหล่งทุน: T2560003 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 ยางพารา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:175787
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมไม้ยางพาราเพื่อให้เกิดดุลยภาพการผลิตและการใช้ของประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2562
เอกสารแนบ 1
อุตสาหกรรมอาหารไทย ปลอดภัยเชื่อถือได้ การวิเคราะห์ที่ตั้งอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย กลุ่มวิจัยยางพารา การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราไทย โครงการศึกษาสถานภาพการใช้เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชันสำหรับ ผลิตความร้อนและไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรม ชุมชน หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็กของประเทศไทย การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการประหยัดพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรม ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์เพื่อการส่งออกไม้ยางพาราของประเทศไทย การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก