สืบค้นงานวิจัย
การใช้ประโยชน์จากแอคติโนมัยซีทสายพันธุ์ Streptomyces sp. KPS-E004 และ Streptomyces sp. KPS-F003 เป็นเชื้อปลูกร่วมเพื่อควบคุมการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมและผลในการส่งเสริมการเจริญของพริก
พรทิพย์ เรือนปานันท์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การใช้ประโยชน์จากแอคติโนมัยซีทสายพันธุ์ Streptomyces sp. KPS-E004 และ Streptomyces sp. KPS-F003 เป็นเชื้อปลูกร่วมเพื่อควบคุมการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมและผลในการส่งเสริมการเจริญของพริก
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of Streptomyces sp. strain KPS-E004 and Streptomyces sp. strain KPS-F003 as co-inoculant to control root-knot disease and promote growth of chili
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรทิพย์ เรือนปานันท์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ไส้เดือนฝอยรากปมชนิด Meloidogyne incognita ก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเพาะปลูกพริกในประเทศไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันของเชื้อแอคติโนมัยซีท 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Streptomyces sp. สายพันธุ์ KPS-A032 และ Streptomyces sp. สายพันธุ์ KPS-E004 ในการควบคุมโรครากปมและการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพริกในสภาวะโรงเรือนและเพื่อประเมินผลของเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์ต่อจุลินทรีย์อื่นที่อยู่ในดินและตรวจติดตามการมีชีวิตอยู่รวมถึงการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวเมื่อใส่ลงไปในดินที่มีการระบาดของไส้เดือนฝอยจริงในธรรมชาติ แอคติโนมัยซีท Streptomyces sp. สายพันธุ์ KPS-A032 เป็นสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยมีคุณสมบัติในการสลายหินฟอสเฟตให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้และยังสามารถผลิตกรดอินโดลแอซิติก หรือ IAA ในปริมาณ 26.90-32.30 umole/g นอกจากนี้ยังสามารถผลิตสารไซเดอร์โรฟอร์ชชนิด hydroxamate ในปริมาณ 398.40-512.20 umole/g และไซเดอร์โรฟอร์ชชนิด cathecolate ในปริมาณ 285.20-300.00 umole/g ในขณะที่ แอคติโนมัยซีท Streptomyces sp. สายพันธุ์ KPS-E004 มีความสามารถในการลดอัตราการฟักของไข่ได้ร้อยละ 55.80 และเพิ่มอัตราการตายของตัวอ่อนระยะที่ 2 ของไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ร้อยละ 63.90 ในระดับห้องปฏิบัติการ การปลูกเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์ผสมกันลงในรากพริกสามารถลดโรครากปมที่เกิดจากไส้เดือยฝอย M. incognita ได้ร้อยละ 66.04 อีกทั้งยังทำให้พริกที่ใช้ทดสอบมีความยาวของลำต้นและรากรวมถึงน้ำหนักรากเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 33.47 79.79 และ 310.87 ตามลำดับ เมื่อประเมินธาตุอาหารในพริกพบว่าต้นพริกที่ปลูกเชื้อผสมระหว่าง สายพันธุ์ KPS-A032 และ KPS-E004 มีปริมาณธาตุโปแทสเซียม แมกนีเซียมและเหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 93.10 63.64 และ 67.06 ตามลำดับ และการใช้เชื้อผสมระหว่างสายพันธุ์ KPS-A032 และ KPS-E004 จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรครากปมในพริกและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพริกสูงที่สุดเมื่อปลูกเชื้อผสมดังกล่าวลงในรากพริกก่อนที่ไส้เดือนฝอยรากปมจะเข้าทำลาย จากการตรวจติดตามความคงตัวของเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์พบว่าเชื้อสามารถมีชีวิตและเพิ่มจำนวนอยู่ในดินที่มีการระบาดของไส้เดือนฝอยได้ตลอด 45 วันที่ทำการทดลอง นอกจากนี้การปลูกเชื้อดังกล่าวในดินยังทำให้ความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดินมีมากขึ้นด้วย จากผลการทดสอบทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเชื้อผสมระหว่าง Streptomyces sp. สายพันธุ์ KPS-A032 และ Streptomyces sp. สายพันธุ์ KPS-E004 สามารถลดการเกิดโรครากปมในพริกได้และยังทำให้ได้ผลผลิตพริกเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 86.50 ซึ่งจัดเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะใช้ในการผลิตพริกภายใต้ระบบเกษตรที่ยั่งยืนต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ประโยชน์จากแอคติโนมัยซีทสายพันธุ์ Streptomyces sp. KPS-E004 และ Streptomyces sp. KPS-F003 เป็นเชื้อปลูกร่วมเพื่อควบคุมการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมและผลในการส่งเสริมการเจริญของพริก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2560
ประสิทธิภาพของก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi Speg.ต่อไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita Chitwood) ในพริก การประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita สาเหตุโรครากปมพริกในแปลงปลูกพืชขนาดเล็ก ประสิทธิภาพของสบู่ดำ (Jatropha curcas) ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) ที่เข้าทำลายพริกในแปลงปลูกตามธรรมชาติ การป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม meloidogyne incognita (Kofoid & White) Chitwood ศัตรูพริกโดยวิธีปลูกพืชหมุนเวียน ประสิทธิภาพของแอกติโนไมซีทส์จากผึ้งมิ้มดำ (Apis andreniformis) ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita สาเหตุโรครากปมพริกในสภาพโรงเรือน การประเมินกลุ่มยีนที่ควบคุมความเผ็ดในสายพันธุ์พริกของไทย ชีวเคมีของพริก ตอนที่ 1 สีสันแสนสวยด้วยเม็ดสีที่แตกต่าง การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อ Streptomyces spp. ปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสของพริก การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนสสาเหตุโรคจากเชื้อ Colletotrichum spp. และส่งเสริมการเจริญเติบโตในพริก การจัดการระบบแปลงปลูกพริกและการใช้ปุ๋ยผสมผสานเพื่อการปลูกพริก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก