สืบค้นงานวิจัย
สังคมพืชสมุนไพรในป่าชุมชน อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
แทนทัศน์ เพียกขุนทด - มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ชื่อเรื่อง: สังคมพืชสมุนไพรในป่าชุมชน อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่อง (EN): Herbal plant community in community forest Amphoe Khok Sung Sa Kaeo Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แทนทัศน์ เพียกขุนทด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อิศรพงศ์ กุลไทย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเรื่องของสังคมพืชสมุนไพรในป่าชุมชน อำเภอโคกสูง จังหวัด สระแก้ว เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ป้าชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การ ศึกษาวิจัยน้นในเรื่องหลักคือ สถานภาพและศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์จากป่า ชุมชนรวมทั้งมูลค่าเพิ่มและแนวทางพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน เป็นการพัฒนาบน ฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความเชื่อมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม แนวทางยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์จากโครงการป่าชุมชน อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เกิดจากการนำงานวิจัยภายใต้โครงการการพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจากโครงการป่า ชุมชน เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มการจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว มาสังเคราะห์แนวทางการดำเนินคือ 1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้นการป้องกันการ ทำลายบำาและอนุรักษ์ป่าชุมชนโดยพัฒนาการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกของชุมชนและประชาชนในการ อนุรักษ์ป่าไม้ ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ และมีพฤติกรรมการดูแลรักษาป่า โดยมี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนที่มีความเข้มแข็งในการดูแลรักษาป่าไม้ในพื้นที่ รวมทั้งมี เครือข่ายภาคประชาชนและเอกชนเข้าร่วมในการดูแลรักษาป่า ปรับกฎระเบียบของการจัดการป่า ชุมชนให้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้ประโยชน์ในแง่ของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 2. ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ ป้าชุมชนในรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องรวมทั้งเครือข่ายภาคประชาชนและภาคเอกชน ในการเพิ่มพื้นที่ เช่น การปลูกพืชสมุนไพร การทำฝายชะลอน้ำ แนวป้องกันไฟป่า 3. ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการแปรรูปสมุนไพร โดย พัฒนาโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนที่มีความเข้มแข็งผลิตสินค้า และบริการที่ใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับในรับสากล 4. ส่งเสริมการจัด การพลังงานชุมชน โดยพัฒนโครงการในการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ด้าน พลังงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของชุมชน และลดการใช้ไม่ฟืนจาก ป้า และ 5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยพัฒนา โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางรูปแบบ การท่องเที่ยวที่สามารถเชื่อมโยงกับสถานที่บริเวณใกล้เคียงได้และฝึกอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่น หากต้องการนำแนวทางนี้ไปใช้กับพื้ที่ในลักษณะใกล้เคียงกันกับพื้นที่ศึกษา ควรดำเนินการ รวบรวมข้อมูลหรือศึกษาวิจัยข้อมูลให้ครอบคลุมประเด็นทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับป่าชุมชน และกำหนด ประเด็นปัญหาและสภาพทั่วไปของพื้นที่ให้แล้วเสร็จ จึงนำแนวทางยุทธศาสตร์จากโครงการวิจัยชุดนี้ ไปประยุกต์ใช้
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สังคมพืชสมุนไพรในป่าชุมชน อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
30 กันยายน 2554
ต้นทุนการปลูกพืชสมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเชียงเพ็ง ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาและดูแลรักษาพืชสมุนไพรในสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาแบบใหม่ การศึกษาสารสำคัญ Shikimic acid ในพืชสมุนไพรไทย การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลพืชสมุนไพร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชนจังหวัดมหาสารคาม สารสกัดอย่างหยาบของพืชสมุนไพรบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อรา แอนโดไฟติกแอคติโนมัยซิสจากพืชสมุนไพรไทย ผลของพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila ที่ก่อให้เกิดโรคในปลาดุกลูกผสม ภูมิปัญญาบูรณาการในการจัดการป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาป่าชุมชนโคกหินลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบน้ำยาบ้วนปากสมุนไพรและยาอมสมุนไพร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก