สืบค้นงานวิจัย
ผลของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยซิลิคอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมันผักแซมในสวนปาล์ม และข้าวที่ปลูกดินเปรี้ยวจัด
ประสิทธิ์ ตันประภาส, ละเอียด สินธุเสน, นงคราญ มณีวรรณ, วนิศรา ม่วงศรี - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยซิลิคอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมันผักแซมในสวนปาล์ม และข้าวที่ปลูกดินเปรี้ยวจัด
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of chemical fertilizer biofertilizer and silicon fertilizer for growth and yield of oil palm , vegetables and rice on acid sulfate soils
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยซิลิคอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมัน ผักแซมในสวนปาล์มน้ำมัน และข้าวที่ปลูกดินเปรี้ยวจัด ดำเนินการในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันอายุ 1 ปี และปลูกผักแซม ในชุดดินรังสิต ที่จังหวัดปทุมธานี และปลูกข้าวที่นครนายก ในชุดดินรังสิตกรดจัด ระหว่างปี 2553-2555 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block มี3 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 วิธีการในแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน และปลูกข้าว ประกอบด้วย แปลงควบคุม(ไม่ใส่ปัจจัย) ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำอย่างเดียว ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำและครึ่งอัตรแนะนำร่วมกับปุ๋ยชีววภาพและ/ปุ๋ยซิลิคอน ใส่ปูนมาร์ลปรับปรุงบำรุงดินนาข้าวอัตรา 1 ตันต่อไร่ ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 สำหรับการทดลองปลูก ผักบุ้งจีนและผักกาดเขียวกวางตุ้งอวมระหว่างต้นปาล์มน้ำมัน มี 8 วิธีการ ผลการศึกษา พบว่า หลังสิ้นสุดการทดลอง 3 ปี ดินในแปลงปาล์มน้ำมันมี ความรุนแรงของกรดในดินเพิ่มขึ้นจากดินก่อนปลูก โดยมีค่า pH ลดลงจากเดิม 5.5 เป็น 4.3 ในปีที่ 3 มีธาตุอาหารลดลงจากก่อนการทดลอง การใช้ปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำร่วมกับปุ๋ยชีวภาพต้นละ 10 กิโลกรัมและปุ๋ยซิลิกอนต้นละ 5 กิโลกรัม ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันสูงสุด 1,278.9 กิดลกรัมต่อไร่ และให้ผลตอบแทนสูงสุดด้วย คือ 1,121.50 บาทต่อไร่ แปลงควบคุมได้ผลผลิตต่ำสุด 598.3 กิโลกรัมต่อไร่ การปลูกผักบุ้งจีนและผักกาดเขียวกวางตุ้งแซมในสวนปาล์มน้ำมันพบว่า วิธีการต่างๆให้ผผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ การใช้ปุ๋ยเคมีอัตราร่วมกับปุ๋ยชีวภาพอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ และน้ำหมักชีวภาพอัตรา 10 ลิตรต่อไร่ (เจือจาง 1:1,000) ฉีดพ่น ทุก 7 วัน ให้ผลผลิตผักบุ้งจีนสูงสุด คือ 1,657 กิโลกรัมต่อการปลูก 1 ครั้ง และผลตอบแทนสูงสุด คือ 13,990 บาทต่อครั้งในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ สำหรับผักการเขียวกวางตุ้ง พบว่าใช้ปุ๋ยชีวภาพอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด คือ 692.8 กิโลกรัมต่อครั้งในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ และได้ผลตอบแทนสูงสุด คือ 8,542 บาทต่อครั้งในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ สำหรับการจัดการดินเพื่อปลูกข้าว พบว่า 1 ก่อนการทดลอง ก่อนการทดลอง ดินเป็นกรดจัดมาก มี pH เฉลี่ย 3.9 มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุด 4.05 เปอร์เซ็นต์ มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูง 23.0 มิลลิกรัมต่อกิฌลกรัม มีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้สูง 197.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีซิลิกาเฉลี่ย 37.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีอะลูมินัมสูง เฉลี่ย 6.3 เวนติโมลต่อกิโลกรัม หลังการเก็บเกี่ยวข้าวในปีที่ 3 ดินมีวามรุนแรงของกรดลดลงจากก่อนการทดลอง pH สูงขึ้น เฉลี่ยเป็น 4.5 มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงขึ้นเป็น 5.3 เปอร์เซ็นต์มีฟอสฟอรัสที่เป็นประดยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ลดลง เหลือ 17.6 และ 168.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และมีอะลูมินัมลดลงเป็น 4.7 เซนติโมลต่อกิโลกรัม การใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำอย่างเดียว ให้ผลผลิตข้าว เฉลี่ย 2 ปี ได้ 342.4 กิโกรัมต่อไร่ และได้รับผลตแบแทนสูงสุด เฉลี่ย 2,976 บาทต่อไร่ แปลงควบคุม ได้ผลผลิตต่ำสุด เฉลี่ย 152 กิโลกรัมต่อไร่ คำสำคัญ: ดินเปรี้ยวจัด ปาล์มน้ำมัน ข้าว ผักบุ้งจีน ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยซิลิกอน
บทคัดย่อ (EN): The experiment of effects of chemical fertilizer, bio-ferilizer and silicon fertilizer forgrorth and yield of oil palm, vegetables and rice on acid sulfate soils was conducted at Patumthani and Nakornarchasima provinces, for 3 years. Fandomized Complete Block was designed with 6treatments for oilpalm and rice experiments and 8 treatments for vegetable experiments The treatments consisted of check, recommended and half of recommended rate fo chemical fertilizer with andwithout bio-fertilizer.The results show that on oipalm experiment, therecommended rate of chemical fertiltzer whith 10 kilograms of bio-fertilizer and 5 kilogarms of silicon fertilizer/oilpalm tree, gave the highest yields 1,278.9 kilograms/rai and the highest net income 1,121.50 bahts/rai. The check gave the lowest yields 598.3 Kilograms/rai. For vegetable crops, the results show that the recommended rate of chemical fertilizer with 100 kilograms of bio-fertilizer and 10 litres/rai of fermented bio-extract gave the highest yield of Chinese cabbage, 1,657 kilograms/rai/crop and the highest net income 13,990 bahts/rai/crop. For green cabbage cantonese,application of 100 kilograms/rai of bio-fertilizer gave thehighest yield, 692.8 kilograms/rai/crop and the highest net income 8,542 bahts/rai/crop For rice experiment, the recommended rate of chemical fertilizer was the best practice which gave high average yield 342.4 kilograms/rai and the highest net income 2,976 bahts/rai. Thecheck gave the lowest average yield 152 kilograms/rai. After the experiment finished, soil chemical properties were changed; pH increased to 4.5 , avakilable phosphorus, extract potassium and aluminum decreased. Keywords: acid sulfate soil, oilpalm, rice, chinese cabbage, green cabbage cantinese, chemical fertilizer, bio-fertilizer ad silicon fertilizer
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-01-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยซิลิคอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมันผักแซมในสวนปาล์ม และข้าวที่ปลูกดินเปรี้ยวจัด
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2555
อิทธิพลของการให้น้ำและปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 ผลของปุ๋ยชีวภาพ(พด.12) ปุ๋ยเคมี และช่วงเวลาการให้น้ำที่เหมาะสมในดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ผลของระยะเวลาใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยชีวภาพต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวภายใต้ระดับปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ต่างกัน การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยหินฟอสเฟตในดินเปรี้ยวเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน การประเมินสถานภาพของธาตุอาหารเพื่อการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน ผลของการไถกลบพืชปุ๋ยสดชนิดต่างๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ผลของการใช้จุลินทรีย์ทนกรด ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมีต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพของดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก