สืบค้นงานวิจัย
การบ่งชี้โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารประกอบแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวดำ
กัลยา กองเงิน - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การบ่งชี้โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารประกอบแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวดำ
ชื่อเรื่อง (EN): Identification of proteins associated with anthocyanin synthesis in purple rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัลยา กองเงิน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kanlaya Kong-ngern
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวเหนียวดำ เป็นข้าวพันธุ์ที่มีการสะสมสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ จากการศึกษาเปรียบเทียบแบบแผนโปรตีนในใบข้าว 2 สายพันธุ์คือ ข้าวเหนียวขาว กข 6 และข้าวเหนียวดำ หมายเลข 19 (มีใบสีม่วงและมีปริมาณสารแอนโทไซยานิน 30.66 เปอร์เซ็นต์) ด้วยเทคนิคอิเล็กโทรโฟริซีสแบบสองทิศทาง (2D-PAGE) โดยปลูกต้นกล้าข้าวอายุ 35 วัน ในสารละลายธาตุอาหารพืช จากนั้นแยกโปรตีนในใบข้าว 2 สายพันธุ์ ด้วยเทคนิค 2D-PAGE และย้อมโปรตีนด้วยสีย้อมซิลเวอร์ไนเตรท วิเคราะห์และแสดงผลโปรตีนที่พบบน 2D-PAGE gel โดยใช้ 2-dimensional software (Image master 2D platinum version 5) และการวิเคราะห์หาค่า peptide mass fingerprinting และค่า mass /charge โดยใช้วิธี LC-MS/MS แล้วนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบหาชนิดและหน้าที่ของโปรตีนที่สนใจ กับโปรตีนในฐานข้อมูลโดยใช้ Mascot search ผลจากการศึกษาวิจัยพบจุดโปรตีนมากกว่า 100 ชนิดที่แยกได้ และพบแบบแผนโปรตีนในใบข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์นั้นแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบแบบแผนโปรตีนในใบข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์ พบโปรตีนที่มีการแสดงออกจำเพาะในข้าวเหนียวดำอย่างน้อย 6 ชนิด ที่ไม่พบในข้าวเหนียวขาว ซึ่งมีความใกล้เคียงกันกับโปรตีนต่างๆในฐานข้อมูล ได้แก่ hypothetical protein [O. sativa Japonica Group], NBS-LRR-like protein A [O. sativa Indica Group], putative isoleucine-tRNA ligase [O. sativa Japonica Group], hydroxyproline-rich glycoprotein-like [O. sativa Japonica Group] hypothetical protein [O. sativa Japonica Group] และ hypothetical protein OsJ_04608 [O. sativa Japonica Group] นอกจากนี้พบโปรตีน 7 ชนิด ในข้าวเหนียวดำที่มีการสร้างในปริมาณที่มากกว่าในข้าวเหนียวขาว ได้แก่ hypothetical protein OsJ_02230 [O. sativa Japonica Group], hypothetical protein [O. sativa Japonica Group], OSJNBa0052O21.10 [O. sativa Japonica Group], hypothetical protein OsI_12770 [O. sativa Japonica Group], hypothetical protein [O. sativa Japonica Group], hypothetical protein [O. sativa Japonica Group] และ OSJNBa0052O21.10 [O. sativa Japonica Group]
บทคัดย่อ (EN): Black glutinous rice contains remarkable amounts of anthocyanin that has anti-free radicals; beneficial for health. Ninety black glutinous rice cultivars in NE Thailand were collected in 2008-2009. The black glutinous rice no.19 (purple leaves, anthocyanin 30.66%) was selected and used to study the leaf protein pattern compared with white glutinous rice RD 6 using two-dimensional polyacrylamide gel electrophoresis (2D-PAGE). Thirty-five-day-old rice seedlings were grown in hydroponic solution. After that proteins from leaves of two rice cultivars were separated using 2D-PAGE and stained with silver stain, leave proteins on the 2D-PAGE gel were analyzed and monitored using 2-dimensional software (Image master 2D platinum version 5) and protein spots can be directly analyzed after proteolysis by liquid chromatography coupled with tandem mass spectrometry (LC-MS/MS). The results showed that more than reproducible 100 protein spots were detected and protein profiles of these two rice cultivars were more different. When compared the 2D-patterns of these two rice cultivars, we found that at least six protein spots were expressed only in rice no.19 such as hypothetical protein [O. sativa Japonica Group], NBS-LRR-like protein A [O. sativa Indica Group], putative isoleucine-tRNA ligase [O. sativa Japonica Group], hydroxyproline-rich glycoprotein-like [O. sativa Japonica Group] hypothetical protein [O. sativa Japonica Group] and hypothetical protein OsJ_04608 [O. sativa Japonica Group] In addition, seven protein spots in No.19 were synthesized at higher levels than in RD 6 such as hypothetical protein OsJ_02230 [O. sativa Japonica Group], hypothetical protein [O. sativa Japonica Group], OSJNBa0052O21.10 [O. sativa Japonica Group], hypothetical protein OsI_12770 [O. sativa Japonica Group], hypothetical protein [O. sativa Japonica Group], hypothetical protein [O. sativa Japonica Group] and OSJNBa0052O21.10 [O. sativa Japonica Group]
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/251763
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2553
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบ่งชี้โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารประกอบแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวดำ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2553
เอกสารแนบ 1
การศึกษาปัจจัยทางสรีรวิทยาที่มีผลต่อการสร้างและสะสมแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวดำ ผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโต และการสะสมการแอนโทไซยานินในใบข้าวเหนียวดำ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี แอนโทไซยานินกับประเด็นด้านสุขภาพ: โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของโปรแอนโทไซยานิดิน และแอนโทไซยานินจากข้าวที่มีสี 4 ชนิด การวัดปริมาณแอนโทไซยานินและสารโพลีฟีนอลอื่นๆในหม่อน ที่ตอบสนองต่อสภาวะแล้งและอุณหภูมิต่ำ การศึกษาพัฒนาการของผลและปริมาณสารแอนโทไซยานินในผลมะนาวไม่รู้โห่ การประเมินการแสดงออกของยีนที่ควบคุมลักษณะสารแอนโทไซยานินในไหมข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ความแปรปรวนของปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมืองของไทย การวิเคราะห์องค์ประกอบของแอนโทไซยานินและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของดอกกล้วยไม้ช้าง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก