สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี
ประเสริฐ วณิชชากรวิวัฒน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประเสริฐ วณิชชากรวิวัฒน์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานบางประการของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี 3. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จำนวน 260 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างและการคัดเลือกตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 100 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ ใช้ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41- 50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรสและเป็นหัวหน้าครัวเรือน มีการถือครองที่ดินของตนเอง รวมกับเช่าผู้อื่นเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่ทำนาระหว่าง 11-30 ไร่ และพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 10-20 ไร่ รายได้ ระหว่าง 20,000 - 60,000 บาท/ครัวเรือน/ปี มีการเก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์ธาตุอาหาร ไม่มีการจัดการตอซังและฟางข้าวโดยปล่อยให้มีการย่อยสลายไปเองมีการปลูกถั่วเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดโดยการไถกลบในช่วงกำลังออกดอก การเตรียมดินโดยไถและคราดกลบเมล็ดพันธุ์ จำนวน 3 ครั้ง วิธีการปลูกโดยการหว่านข้าวแห้งใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 อัตรา 18 กิโลกรัม/ไร่ อาศัยน้ำฝนในการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว และไม่เพียงพอขาดแคลนเป็นบางช่วง มีการทำและใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในแปลงนา 2 ครั้ง การเข้าร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรจำนวน จำนวน 6 ครั้ง โดยมีความรู้พอสมควร และความรู้ด้านศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติน้อย เกษตรกรมีการสำรวจแปลงนาตรวจนับแมลงศัตรูข้าวศัตรูธรรมชาติเป็นบางครั้ง ส่วนใหญ่ไม่มีการป้องกันกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยวโดยการใช้เครื่องจักรกล ในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยได้ผลผลิตเฉลี่ย 39.50 ถัง/ไร่ เกษตรกรมีการขายผลผลิตสดทันที โดยขายให้กับพ่อค้าท้องถิ่นและมีการขายให้แก่ผู้ซื้อข้าวอินทรีย์โดยเฉพาะและอื่น ๆและมีการเก็บไว้ทำพันธุ์ในปีถัดไปโดยมีค่าใช้จ่ายในการผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 1,896.86 บาท/ไร่ ปัญหาการผลิตข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่ขาดแหล่งน้ำในการผลิตและมีแหล่งรับซื้อผลผลิตข้าวอินทรีย์น้อย ข้อเสนอแนะราชการควรสนับสนุนแหล่งน้ำในไร่นาเพื่อให้มีน้ำในการผลิตอย่างเพียงพอและจัดหาแหล่งรับซื้อผลผลิตข้าวอินทรีย์ให้มากขึ้นและควรพยุงราคาข้าวอินทรีย์ให้สูงเพื่อ จูงใจเกษตรกรผลิตข้าวในระบบอินทรีย์ให้มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดอุทัยธานี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวอินทรีย์ ปี 2547 จังหวัดอุทัยธานี การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าว กข. 6 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น การประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมคุณค่ากับการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการย่อยที่2 การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักจากกากมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวแบบอินทรีย์ ในกลุ่มเกษตรกร รายย่อยของอําเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก