สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวในพริก
ประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวในพริก
ชื่อเรื่อง (EN): Efficacy of the entomopathogenic nematodes against whiteflies, Bemisia tabaci (Homoptera: Aleyrodidae), in chili peppers under laboratory and field conditions
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prakaijan Nimkingrat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาประสิทธิภาพการเข้าทำลายแมลงหวี่ขาว, Bemisia tabaci, ของไส้เดือนฝอย มีวัตถุประสงค์ทดสอบวัยของศัตรูพริกที่อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอย ชนิดของไส้เดือนฝอยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และชนิดของสารจับใบที่มีจำหน่ายในท้องตลาดร่วมกับไส้เดือนฝอย วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ในทุกการทดลอง พบว่าวัยของแมลงหวี่ขาวที่อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยสูงที่สุด คือ ระยะตัวอ่อนวัย 3 และวัย 2 มีอัตราการตายร้อยละ 96.66 และ 90 ตามลำดับ Steinernema carpocapsae สามารถเข้าทำลายแมลงหวี่ขาวได้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับ S. feltiae และ S. siamkayai โดยมีค่า LD50 และ LD90 อยู่ที่ 33.4 และ 56.5 ตามลำดับ สารจับใบยี่ห้อ Super สามารถช่วยเสริมฤทธิ์การเข้าทำลายของไส้เดือนฝอย ส่งผลทำให้แมลงหวี่ขาวตายสูงถึงร้อยละ 86.48±5.78 นอกจากนี้ยังได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยในแปลงเกษตรกร บ้านฮ่องเดื่อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยเปรียบเทียบจำนวนประชากรแมลงหวี่ขาวในแปลงที่มีการพ่นไส้เดือนฝอยและแปลงพ่นสารเคมีตามวิธีปฏิบัติของเกษตรพบว่าแปลงที่พ่นด้วยไส้เดือนฝอยมีปริมาณแมลงหวี่ขาวลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับแปลงที่พ่นสารเคมีที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The efficiency of entomopathogenic nematodes against whiteflies, Bemisia tabaci, was studied with the following objectives: 1) to test which life stage of whitefly is most susceptible to entomopathogenic nematodes; 2) to obtain the best entomopathogenic nematode species and surfactants which provide the greatest control of whiteflies. The first results showed that the stage of whitefly most susceptible to nematodes were the third and second instar larval stages with mortality rates of 96.66 and 90%, respectively. The results from using different species of nematode revealed that Steinernema carpocapsae was better at controlling whiteflies than S. feltiae and S. siamkayai with LD50 and LD90 values at 33.4 and 56.5, respectively. After comparing different surfactants which help to promote the use of nematodes on whiteflies, the results showed that the most suitable surfactant was “Super”, causing the highest mortality rate at 86.48±5.78%. The field trial was carried out at Ban Hong Duer, Khon Kaen province. The results from the nematode-treated plot exhibited dramatically decreased number of whiteflies whereas the farmer’s practice plot showed an increasing trend.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250537/171359
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวในพริก
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้สารป้องกันรังสีอาทิตย์เคลือบไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าทำลายแมลงอาศัยหนอนกินรังผึ้ง Galleria mellonella (Linnaeus) ประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงสายพันธุ์ไทย Steinernema siamkayai ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลง ศึกษาการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาว การป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม meloidogyne incognita (Kofoid & White) Chitwood ศัตรูพริกโดยวิธีปลูกพืชหมุนเวียน การจัดการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมมันฝรั่งของเกษตรกรในจังหวัดตาก ประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง (Steinernema carpocapsae (Weiser) S.riobrave Cabanillas, Poinnar and Raulston และ S. siamkayai Stock, Somsook and Reid) ในการเข้าทำลายแมลงวันผลไม้ (Bactrocera dorsai กลไกและประสิทธิภาพของเห็ดบางชนิดในการควบคุมไส้เดือนฝอย การศึกษาพิษตกค้างของสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาว การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงโดยการใช้ ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ การใช้ไส้เดือนฝอยควบคุมหนอนศัตรูกะหล่ำปลี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก