สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีกรณีศึกษาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยปี 2546
ทองสุข หัวไผ่ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีกรณีศึกษาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยปี 2546
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทองสุข หัวไผ่
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง สภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี กรณีศึกษาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อย ปี 2546 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานบางประการด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ศึกษาสภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการผลิตอ้อยของเกษตรกร เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 99 ราย ในจังหวัดอุดรธานี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สภาพพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.3 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเต็มเวลาเฉลี่ย 3 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อยกว่า 200 ไร่ อาชีพที่ทำรายได้มากที่สุดคือทำไร่ มีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 568,797.9 บาท มีรายได้เฉลี่ย 1,234,767.7 บาท แต่ส่วนใหญ่มีรายได้น้อยกว่า 1,000,000 บาท ส่วนใหญ่มีการกู้ยืมเงินมาปลูกอ้อย ปลูกอ้อยมาแล้วเฉลี่ย 16.8 ปี และจะปลูกอ้อยต่อไปเรื่อยๆ สภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกร อายุพันธุ์อ้อยที่นำมาปลูกอายุเฉลี่ย 10.9 เดือน การคมนาคมระหว่างแปลงอ้อยถึงที่พัก สะดวกเป็นบางฤดู ส่วนใหญ่ปลูกอ้อยข้ามแล้ง เตรียมดินเฉลี่ย 3.2 ครั้ง ยกร่องลึกเฉลี่ย 32.1 เซนติเมตร เว้นระยะห่างระหว่างร่องเฉลี่ย 123.8 เซนติเมตร ส่วนใหญ่ปลูกแบบวางลำ มีการใส่ปุ๋ยรองพื้นทุกราย อัตราการใส่ปุ๋ยรองพื้นเฉลี่ย 42.0 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ปลูกอ้อยพันธุ์ อู่ทอง 1 ใช้รถไถเดินตามกลบร่อง การดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่ออายุอ้อยเฉลี่ย 5.9 เดือน ใส่ปุ๋ยในอัตราเฉลี่ย 48.6 กิโลกรัมต่อไร่ กำจัดวัชพืชเฉลี่ย 2 ครั้ง โดยใช้รถไถเดินตาม ศัตรูอ้อยที่พบมาก คือโรคใบขาวและหนอนกอ การเก็บเกี่ยว การตัดอ้อยส่งโรงงาน ส่วนใหญ่ใช้แรงงานคน อ้อยให้ผลผลิตเฉลี่ย 11.3 ตันต่อไร่ การดูแลรักษาอ้อยตอ ส่วนมากไม่ตัดแต่งตออ้อย ไถพรวนเฉลี่ย 2.1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยอ้อยตอเฉลี่ย 1.5 ครั้ง อัตราการใส่ปุ๋ยอ้อยตอเฉลี่ย 58.9 กิโลกรัมต่อไร่ กำจัดวัชพืชอ้อยตอเฉลี่ย 1.7 ครั้ง อ้อยตอให้ผลผลิตเฉลี่ย 7.0 ตันต่อไร่ สภาพปัญหาการผลิตอ้อย มีปัญหาในระดับมากในประเด็นอ้อยเป็นโรคใบขาว ในภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย แต่มีข้อเสนอแนะของเกษตรกร ควรมีการประกันราคาอ้อย ควรมีการจัดอบรม ควรมีแหล่งพันธุ์อ้อยที่เพียงพอ ควรปรับปรุงบำรุงดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดอุดรธานี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีกรณีศึกษาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยปี 2546
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเบญจมาศตัดดอก ปี 2546 เทคโนโลยีการผลิตอ้อยของเกษตรกรปี 2545/2546 สภาพการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกรในตำบล ดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ปี 2546 สภาพการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกรตำบลหนองกุงสวรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ปี 2546 สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี การใช้เทคโนโลยีในการผลิตมะม่วงของเกษตรกร จังหวัดเพชรบุรี ปี 2546/2547 สภาพการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกร : กรณีศึกษาตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม การผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตแม่พันธุ์อ้อยปลอดโรคในระดับขยายผลสู่เกษตรกร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก