สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการจัดการธาตุ อาหารรอง จุลธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอตุสาหกรรม
ศุภิฌา ธนะจิตต์ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการจัดการธาตุ อาหารรอง จุลธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอตุสาหกรรม
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of Jasmine Rice Yield in Northeast, Thailand by Managing Minor and Micronutrients, the Use of Organic Fertilizers and Industrial Wastes
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศุภิฌา ธนะจิตต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นายสมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการจัดการธาตุอาหารรอง จุลธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม” แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ศุภิฌา ธนะจิตต์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และปริมาณการดูดใช้ธาตุอาหารของข้าวหอมมะลิที่ปลูกในดินที่ได้รับอิทธิพลของเกลือ และดินร่วนปนทรายที่ไม่เค็ม เพื่อศึกษาผลของการใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนปุ๋ยเคมีสำหรับการปลูกข้าวหอมมะลิ โดยพิจารณาจากการตอบสนองด้านคุณภาพและผลผลิตของข้าวหอมมะลิ ผลตอบแทนเศรษฐกิจ จากการศึกษาวิจัยพบว่า การทดสอบการใช้แกลบเผาจากโรงงานเอทานอลในอัตรา 0.5-4.0 ตัน/ไร่เพื่อปรับปรุงดินมีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิตเมล็ดดีกว่าการใส่กากแป้งมันสำปะหลังในอัตราเดียวกันและการไม่ใส่วัสดุปรับปรุงดินเมื่อปลูกในชุดดินร้อยเอ็ดโดยการใส่แกลบเผาในอัตราสูงสุดทำให้ได้ผลผลิตเท่ากับ 770 กก./ไร่ ขณะที่ผลที่ได้จากชุดดินกุลาร้องไห้ซึ่งเป็นดินเค็มโซดิกให้ผลผลิตต่ำกว่ามากและไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างตำรับการทดลองโดยมีค่าอยู่ในพิสัย 44-177 กก./ไร่ ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้องค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่มีต่อคุณภาพของข้าวหอมมะลิ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารและสมบัติดินที่มีการปลูกข้าวหอมมะลิภายใต้สภาพขังน้ำ เช่นเดียวกับในกรณีของการปลดปล่อยธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ และการเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยเคมีเมื่อมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมในดินระหว่างการเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ และกระบวนการทางเคมีในดินกับการดูดใช้ธาตุอาหารเหล่านี้ของข้าวหอมมะลิ ซึ่งน่าจะส่งผลต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และคุณภาพของข้าวหอมมะลิที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-29
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-10-28
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการจัดการธาตุ อาหารรอง จุลธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอตุสาหกรรม
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
28 ตุลาคม 2558
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการจัดการธาตุอาหารรอง จุลธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ศึกษาการจัดการธาตุอาหารของยางพารา แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS อิทธิพลของธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าอะตราตั้ม ปลูฏใรชุดดินบ้านทอน และชุดดินท่าแซะ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก