สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
วรรณา สุวรรณวิจิตร, กัญญาพร สังข์แก้ว, สุวรรณภา บุญจงรักษ์, ประมวล บัวกฎ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
ชื่อเรื่อง (EN): Usage of Bio-fertilizer and Chemical fertilizer to increase Cassava production.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ดำเนินการ ณ บ้านโพนทราย หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ระยะเวลาดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนเมษายน 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากกลุ่มจุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารและฮอร์โมนพืชต่อการเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนของการผลิตมันสำปะหลัง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน และวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ภายหลังการใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยชีวภาพจากกลุ่มจุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช เปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว วางแผนการทดลองแบบสังเกตการณ์ (Observation Trial) จำนวน 4 วิธีการ ประกอบด้วยการใส่ปุ๋ยตามวิธีการเกษตรกร ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน+ปุ๋ยชีวภาพ (ขยายเชื้อ พด.12) อัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดิน+ปุ๋ยชีวภาพ (ขยายเชื้อ พด.12) อัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่ จากผลการทดลอง พบว่า ดินที่ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 เป็นดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำถึงค่อนข้างต่ำอยู่ระหว่าง 0.65-1-17 เปอร์เซ็นต์ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีค่าอยู่ระหว่าง 5.1-5.6 (กรดแก่ถึงกรดปานกลาง) โดยดินทั้งก่อนและหลังการทดลองมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในช่วงต่ำถึงสูง โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในช่วงต่ำถึงปานกลาง รวมทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในช่วงต่ำมากถึงต่ำ อย่างไรก็ตามปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินหลังการทดลองมีค่าสูงกว่าก่อนการทดลอง ส่วนการเจริญเติบโต ผลผลิต รวมทั้งองค์ประกอบผลผลิต และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการปลูกมันสำปะหลังนั้น พบว่า วิธีการที่ 3 ซึ่งใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ต้นมันสำปะหลังมีความสูงมากที่สุด เท่ากับ 68.4, 95.8 และ 133.4 เซนติเมตร เมื่อมีอายุ 60, 90 และ 120 วันหลังปลูก ตามลำดับ รวมทั้งให้ค่าเฉลี่ยของผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 9,263.45 กิโลกรัมต่อไร่ ให้จำนวนหัว 15,903 หัวต่อไร่ และน้ำหนักเหง้า 601.10 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังให้ผลตอบแทนเหนือกว่าต้นทุนเงินสดสุทธิ (กำไร) 1,459.45 บาทต่อไร่ และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด 9,263.45 บาทต่อไร่ ส่วนวิธีเกษตรกร (วิธีการที่ 1) ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าต้นทุนเงินสดสุทธิ (ขาดทุน) 5,182,22บาทต่อไร่ และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่ำสุด 1,517.26 บาทต่อไร่ ดังนั้นวิธีการที่แนะนำให้เกษตรกรนำไปใช้ ได้แก่ วิธีการที่ 3 ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 61 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 18-46-0 อัตรา 17 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 0-0-60 อัตรา 27 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อ พด.12 อัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้พิจารณาจากผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
บทคัดย่อ (EN): The application of bio-fertilizer (PorDor12) with chemical fertilizers for increasing cassava yield was conducted at Ban Ponsai, Moo4 Banthai sub district Kaung Nai district Ubonratchatani province during January 2015 to April 2017. The objectives were to study the effect of bio-fertilizer from plant nutrient and hormone creating microorganisms to cassava yield and cost reduction, the changes of soil chemical properties and economical return which compared with chemical fertilizer application. The observation trial was designed with 4 treatments which consisted of farmer method fertilizer application, chemical fertilizer application as soil analysis, chemical fertilizer application as soil analysis plus bio-fertilizer (250 kg,/rai) and half rate of fertilizer application as soil analysis plus bio-fertilizer (250 kg./rai). The results were found that soil which planted cassava was sandy silt with low fertility. The soil organic matter content were low to rather low (0.65-1.17 %). Soil pH was 5.1-5.6 (strong acid to moderate acid). The available phosphorus contents were ranged from low to high. The available potassium was ranged from low to moderate. The available calcium and magnesium were very low to low. However, the available phosphorus, potassium, calcium and magnesium after experiment were higher than before experiment. The third treatment which was chemical fertilizer plus bio-fertilizer could produce the highest cassava stem which were 68.4, 95.8 and 133.4 cm. at 60, 90 and 120 day old respectively. The average highest yield was 9,263.45 kg./rai. The cassava shoots amount was 15,903 shoots/rai. The shoot weight was 601.01 kg./rai. Furthermore, the net return over cash cost (profit) was 1,459.45 baht/rai and the highest economical return was 9,263.45 baht/rai while farmer method got the net return over cash cost (loss) 5,182.22 baht/rai and received lowest economical return 1,517.26 baht/rai. Therefore. The recommendation method was the application of chemical fertilizer as soil analysis (61 kg./rai of 21-0-0 chemical fertilizer with 17 kg./rai of 18-46-0 chemical fertilizer and 27 kg./rai of 0-0-60 chemical fertilizer) with 250 kg./rai of bio-fertilizer (PorDor12) which based on yield and economical return.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-09-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
อิทธิพลจากการใช้หินฟอสเฟตร่วมกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 และพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตและความอุดมสมบูรณ์ของดินของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในชุดดินจักราช จังหวัดนครราชสีมา อาหารจากมันสำปะหลัง การจัดการเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) ด้วยจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงดิน พด.11 ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ในกลุ่มชุดดินที่ 35 (จังหวัดกำแพงเพชร) ผลของปุ๋ยชีวภาพ(พด.12) ปุ๋ยเคมี และช่วงเวลาการให้น้ำที่เหมาะสมในดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน การเปรียบเทียบความสามารถในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก ผลของปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมีและพืชคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกในพื้นที่นาร้าง กลุ่มชุดดินที่ 14 ชุดดินระแงะ ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ด้วยถ่านชีวภาพ(ไบโอชาร์) ต่อการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตพืช การจัดการดินโดยใช้พืชบำรุงดิน วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยเคมี ร่วมกับการปลูกต้นเหมียงเป็นพืชแซมยางพารา ในกลุ่มชุดดินที่ 45 การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับเทคโนโลยีชีวภาพ ในการทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี สำหรับมันสำปะหลัง การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก