สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครื่องจักรกลเกษตรชุมชน
ฐิติกานต์ กลัมพสุต - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครื่องจักรกลเกษตรชุมชน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฐิติกานต์ กลัมพสุต
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครื่องจักรกลเกษตรชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้การบริหารจัดการและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครื่องจักรกลเกษตรชุมชน รวมถึงแนวทางในการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลเกษตร และเทคโนโลยี ของภาครัฐแก่ชุมชนให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครื่องจักรกลเกษตรจากเกษตรกรรายย่อยมาเป็นการใช้ร่วมกันในระดับชุมชน มีความเป็นไปได้โดยสามารถนำหลักการและรูปแบบของโครงการจัดระบบการใช้และครอบครองเครื่องจักรกลการเกษตร ของกรมส่งเสริมการเกษตรมาใช้เพื่อบริหารจัดการ และบำรุงรักษาเครื่องจักรกลเกษตรได้ จากการนำร่องกลุ่มผู้ใช้เครื่องจักรกลเกษตรร้อยละ 100 สามารถนำเครื่องจักรกลเกษตรไปให้บริการแก่สมาชิกในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ โดยร้อยละ 85 สามารถใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเกินจุดคุ้มทุนที่มีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ สำหรับรูปแบบการบริหารจัดการนั้นร้อยละ 96 เห็นว่าเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมและปฏิบัติได้ มีการจัดแบ่งโครงสร้างขององค์กรการดำเนินงานชัดเจนและครอบคลุมทั้งในด้านแผนการปฏิบัติงาน การเงิน และบำรุงรักษาซ่อมแซมเครื่องจักรกลเกษตร รวมทั้งมีหลักเกณฑ์การบริหารจัดการทางด้านการใช้งานและการเงินหลัก ๆ เป็นกรอบไม่ให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการ กลุ่มผู้ใช้เครื่องจักรกลเกษตรทุกกลุ่มสามารถดำเนินธุรกิจได้จากการบริหารจัดการรายได้ที่เกิดขึ้นและมีการวางแผนที่จะจัดซื้อเครื่องจักรกลเกษตรจากทุนสะสมตามแนวทางการจัดสรรรายได้ โดยร้อยละ 48 สามารถพัฒนาธุรกิจของตนโดยการจัดซื้อเครื่องจักรกลเกษตรเพิ่มเติม ซึ่งพบว่ายังมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพราะเกษตรกรในชุมชนยังไม่มีศักยภาพในการรวมตัวเพื่อลงทุนเนื่องจากสภาพรายได้และภาระด้านหนี้สิน ตลอดจนงบประมาณขององค์กรบริหารในระดับท้องถิ่นยังมีปริมาณจำกัด โดยสนับสนุนการลงทุนในรูปแบบของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือให้ชุมชนสมทบบางส่วนในกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ผลิตที่เข้าใจและคุ้นเคยกับระบบและปัญหาการผลิตอย่างแท้จริง ส่วนการเผยแพร่เทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกลเกษตรโดยการจัดทำแปลงสาธิตและบริการเป็นแนวทางที่สามารถทำให้เกษตรกรร้อยละ 75-78 เห็นผล เกิดการยอมรับ และมีความต้องการใช้งานได้ จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในแนวขนานกันไป สำหรับเครื่องจักรกลเกษตรที่เหมาะสมกับการพัฒนาการใช้ในระดับชุมชนนั้น พบว่าเครื่องจักรกลเกษตรที่ใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานพื้นที่ทำการเกษตร ความจำเป็นและสำคัญมาก ส่วนเครื่องจักรกลเกษตรอื่นที่สำคัญ แต่มีผู้ให้บริการที่แพร่หลาย เช่น ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวควรนำมาใช้ในชุมชนที่ยังมีผู้รับจ้างให้บริการในจำนวนน้อย หรือยังไม่มีผู้รับจ้างให้บริการเนื่องจากข้อจำกัดในด้านพื้นที่ สำหรับเครื่องจักรกลเกษตรขนาดเล็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในระดับชุมชน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครื่องจักรกลเกษตรชุมชน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
แผนงานการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรในการปรับปรุงสภาพดินและการลดผลกระทบของเครื่องจักรกลเกษตรต่อดินในการเพาะปลูกอ้อย การศึกษารูปแบบการพัฒนาทายาทเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ขององค์กรชุมชนและเครือข่ายเพื่อการวางแผนพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนวทางการพัฒนาการใช้เครื่องจักรกลเกษตรของไทยจากบทเรียนของญี่ปุ่น โครงการศึกษาอุปสรรคและปัญหาการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนพื้นที่บ้านช้าง เพื่อจัดทำแนวคิดและแผนในการแก้ไขเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง กลยุทธการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อการพึ่งตนเอง ปี 2550 วิสาหกิจชุมชนบ้านโนนศิลา ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง ความคิดเห็นต่อเรื่องโครงสร้าง ปัญหา และอุปสรรค ในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาชุมชนที่ปฏิบัติงานในโครงการพัฒนาชนบทระดับหมู่บ้านตามโครงการเงินกู้ญี่ปุ่น โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการศึกษาภาวะผู้นำในชุมชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่สูง โครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนและดัชนีชี้วัดความสุขของชุมชนบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก