สืบค้นงานวิจัย
โรคใบจุด corynespora ของถั่วเขียวผิวดำ
พัฒนา สนธิรัตน - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โรคใบจุด corynespora ของถั่วเขียวผิวดำ
ชื่อเรื่อง (EN): Black gram leaf spot disease
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัฒนา สนธิรัตน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: พบโรคใบจุดอีกหนึ่งของถั่วเขียวผิวดำ (black gram, vigna mungo (L.) Wilezek) นอกเหนือไปจากโรคใบจุดสีน้ำตาลที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Cercospora canescens Ellis & Martin ระบาดกับถั่วเขียวผิวดำลูกผสมจากต่างประเทศหลายสายพันธุ์ ซึ่งปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เมื่อปลายปี พ.ศ. 2533 ลักษณะแผลบนใบรูปกลมรี หรือถูกจำกัดรูปร่างโดยเส้นใบ สีน้ำตาลแดง มีวงซ้อนกันเป็น zonate อาการคล้ายเป้ากระสุน ทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด รายละเอียดทางสัณฐานวิทยาของเชื้อสาเหตุและได้พิสูจน์โรคด้วยวิธี Koch's postulate กลับไปยังถั่วเขียวผิวดำลูกผสมสายพันธุ์ 280/20013 (India), 293/24001 (Afghanistan), 266/14001 (Philippines) และ 265 (Kolodal) พบว่าเกิดจากเชื้อรา Corynespora cassiicola (Berk. & Curt.) Wei
บทคัดย่อ (EN): A new leaf spot disease of black gram was found at Chainat Field Crops Research Center on hybird lines limported from India, Pakistan and the Philippines. The symptomns on the leaf were reddish brown, circular or irregularly shaped zonate sports. The morphology of the causal agent was studied in detail and identified as the fungus Corynespora cassiicola (Berk, & Curt.) Wei, Artificial inoculation was conducted on 4 lines of one month old black gram hybrids, namely lines 280/20013 (India), 293/24001 (Afghanistan), 266/14001 (Philippines) and 265 (Kolodal). All plants were obviously infected 2 days after inoculation. Symoptoms on line 293/24001 Afghanistan were more severe than the others.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2534
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2534
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โรคใบจุด corynespora ของถั่วเขียวผิวดำ
กรมวิชาการเกษตร
2534
เอกสารแนบ 1
ผลของปริมาณการให้น้ำ และระยะเวลาสิ้นสุดการให้น้ำต่อถั่วเขียวบนดินชนิด Silty Clay Loam การควบคุมโรคเน่าดำของถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์ อิทธิพลของการป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเขียวผิวดำ อิทธิพลของการให้ปุ๋ยทางดินและทางใบต่อผลผลิตถั่วเขียว การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำจากลักษณะภายนอกแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอล การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำจากลักษณะภายนอกแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอล อิทธิพลของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและอัตราการหว่านต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตถั่วเขียวผิวดำ การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคใบจุดสีน้ำตาลและการป้องกันกำจัด การพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานโรคใบจุดก้างปลาของยางพารา ศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีบางชนิดกับเชื้อราโรคใบจุดตานก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก