สืบค้นงานวิจัย
ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ
สันติไมตรี ก้อนคำดี - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of sugarcane varieties on weed control in ratoon sugarcane crop
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สันติไมตรี ก้อนคำดี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Santimaitree Gonkhamdee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัชพืชเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่งในการทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงการเลือกใช้พันธุ์อ้อยที่มีความสามารถในการเจริญ เติบโตเร็วและแตกกอดี อาจจะเป็นแนวทางที่ช่วยลดการแข่งขันของวัชพืชกับอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพวัตถุประสงค์ของ งานวิจัยนี้ เพื่อการศึกษาพันธุ์อ้อยที่มีประสิทธิภาพควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ ดำเนินงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่ง ปลูกในฤดูกาลผลิตปี 2557/2558 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized complete block design: RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ โดยศึกษาในอ้อยพันธุ์ต่งๆ จำนวน17 พันธุ์ ได้แก่ 1) KKU99-01, 2) KKU99-02, 3) KKU99-03, 4) KKU99-06, 5) V38 (28-0941), 6) V46 (28-1211), 7) CSB 07-219, 8) CSB 07-79, 9) UT 84-12, 10) UT 84-13, 11) TP 06-501, 12) TP 06-419, 13) MP-458, 14) MP-187,15) KK3, 16) K88-92 และ 17) KPS01-1-12 โดยสุ่มเก็บ วัชพืชเมื่ออ้อยตอ อายุ เดือน สภาพไม่เผาใบอ้อย จากการทดลองพบว่าพันธุ์อ้อยที่ทำให้วัชพืซมีความหนาแน่นและ น้ำหนักแห้งน้อยที่สุด คือ อ้อยพันธุ์ K88-92 ซึ่งมีปริมาณและมวลชีวภาพแห้งของวัชพืซเท่ากับ 40.00 ต้น/ตร.ม. และ 6.44 ก./ตร.ม. ตามลำดับ ดังนั้น อ้อยพันธุ์นี้ จึงมีศักยภาพที่จะคัดเลือกเป็นพันธุ์ที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีประสิทธิภาพ ในการแข่งข้นกับวัชพืชได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ แต่การศึกษานี้ ควรมีการศึกษาในหลายสภาพแปล่ง และงานทดลองยังต้องการ ข้อมูลเกี่ยวกับการแตกกอ พื้นที่ใบอ้อย และผลผลิตของอ้อยเพื่อยืนยันผลการทดลองที่ซัดเจนยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Weeds play an important role in sugarcane production. Therefore, selection for sugarcane varieties which is able to grow faster and has good tillering capacity may reduce the problem of weeds in sugarcane field. The objective of this research was to investigate the effect of 17 sugarcane varieties on weed population in a ratoon sugarcane crop. The experiment was arranged in a randomized complete block design with three replications at Khon Kaen University farm in 2014/2015.The 17 sugarcane variety treatments were, 1) KKU99-01, 2) KKU99-02, 3) KKU99-03, 4) KKU99-06, 5) V38 (28-0941), 6) V46 (28-1211), 7) CSB 07-219, 8) CSB 07-79, 9) UT 84-12, 10) UT 84-13, 11) TP 06-501, 12) TP 06-419, 13) MP-458, 14) MP-187, 15) KK3, 16) K88-92 and 17) KPS01-1-12. Weeds were sampled when unburned ratoon sugarcane was 9 months old. The results revealed that K88-92 variety gave lower weed density and weed dry weights at 40.00 plant. m-2 and 6.44 g m-2, respectively. The results of this study indicate that K88-92 has a potential to be used in sugarcane variety improvement for weed competition effectiveness. However, more studies are needed to be conducted in many locations and the data on tillering, leaf area and cane yield are needed to confirm this result.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P120 Agr362.pdf&id=2500&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย ความต้องการน้ำและค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ผลของการปลูกอ้อยแบบร่วมพันธุ์ต่อการให้ผลผลิตในอ้อยตอ1 ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum) สมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจังหวัดขอนแก่น ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ผลของการจัดการแปลงอ้อยระยะยาวต่อการกระจายตัวของราก และการให้ผลผลิตอ้อย ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) โรคใบขาวอ้อย ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติเคมีบางประการของดิน กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้โรงงานน้ำตาลต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตของอ้อยและสมบัติบางประการของดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก