สืบค้นงานวิจัย
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสุกรแบบครบวงจร
สุทัศน์ ศิริ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสุกรแบบครบวงจร
ชื่อเรื่อง (EN): TECHNOLOGY TRANSFER ON COMPLETE CYCLE SWINE PRODUCTION PROJECT
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุทัศน์ ศิริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): SUTHUT SIRI
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตสุกร ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ทางวิซาการ บริการข้อมูลข่าวสารแก่ เกษตรกรและกลุ่มผู้สนใจทางเอกสารและการฝึกอบรม และเพื่อส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของ ผู้เลี้ยงสุกรในการผลิตและจำหน่ายสุกรแบบครบวงจร โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา โดย มีกระบวนการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรกเป็นการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเพื่อค้นหาปัญหาและ ความต้องการในการเลี้ยงสุกร จากนั้นได้นำปัญหาและความต้องการมากำหนดเป็นหลักสูตรให้ สอดคล้องและทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ และในขั้นตอนสุด ท้ายเป็นการติดตามประเมินผลสำเร็จของโครงการในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงสุกร ของเกษตรกร สำหรับพื้นที่การวิจัยอยู่ในเขต 3 จังหวัดภาคเหนือคือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา ผลการวิจัยในแต่ละขั้นตอนมีดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมของพื้นที่เป้าหมาย และการสำรวจเกษตรกรผู้เข้าร่วม โครงการพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในเขตพื้นที่เป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง วัยกลางคน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เลี้ยงสุกรเป็นอาชีพเสริม โดยมีรายได้จากการ เลี้ยงสุกร 5.000 บาทต่อปี ประสบการณ์ในการเลี้ยงสุกรไม่เกินสองปี สุกรที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็น สุกรขุน รูปแบบการเลี้ยงเป็นแบบปล่อยธรรมชาติ ซึ่งยังไม่ถูกหลักการเลี้ยงที่ถูกต้อง เกษตราร ส่วนใหญ่ขาดความรู้และทักษะในการเลี้ยงสุกร ทำให้ประสบปัญหาสุกรที่เลี้ยงไม่ได้มาตราฐาน 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสุกรแบบครบวงจร จากผลการวิจัยในข้อที่ 1 คณะผู้วิจัยได้นำมากำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยง สุกรผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 หลักสูตร โดยเน้นรูปแบบการบรรยาย การสาธิต การฝึก ปฏิบัติจริง และการศึกษาดูงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการประเมินผลสำเร็จของการถ่ายทอด ทคโนโลยีทั้ง 5 หลักสูตร พบว่า เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับ มากในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ทักษะในการเลี้ยงสุกรเพิ่ม ขึ้น สถานที่จัดการฝึกอบรมมีความเหมาะสม การประชาสัมพันธ์ทั่วถึง และสามารถนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสุกร 3. การประเมินผลสำเร็จของโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสุกร ผลการ วิจัย พบว่า เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไป ประยุกต์ใช้กับฟาร์มของตนเอง โดยสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น 30,000 บาทต่อปี เพิ่มจำนวนสุกร ในฟาร์มจากเฉลี่ยไม่เกิน 2 ตัวต่อฟาร์มเป็นเฉลี่ยไม่เกิน 10 ตัวต่อฟาร์ม โดยมีการเพิ่มการ ลงทุนในฟาร์มจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่าง จากเดิมที่ใช้แต่เงินทุนส่วนตัวเท่านั้น และมีการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงสุกรจากการเลี้ยงตามธรรมชาติเป็นการนำมาเลี้ยงในโรงเรือน แบบหน้าจั่ว พื้นคอกแบบคอนกรีต ส่งผลให้สุกรมีสุขอนามัยที่ดีมีมาตราฐานขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The objects of this study were as follews; 1) to transfer the optimal pig production technology for the small scale pig farms,2) to distribute academic information to the farmers and interested people via the publications and training, and 3) to promote the gathering of farmers for complete cycle pig production and marketing. This project, a continuing/developing research had 3 steps of research methodology: The first was sample survey to find out the problems and requirements in pig raising by farmers. The subsequent step was to set up the training programs related with the problems and requirements of farmers and continuing the training courses to transfer the knowiedge and technology for the target farmers. The last step was evaluating the success of the project in terms of the farmers' abilities to use new knowledge for pig raising. This project covered three northern provinces: Chiang Mai, Chiangrai and Prayao. The results of this study were as follows; 1. From area the sample survey, it was found that the farmers raising pigs in the target area were mostly male in middle age, finished primary education level,raised pigs as supporting job. Most of them had not more than 2 years experience in pig raising, mainly using improper methods due to lack of knowledge and skill in pig raising. 2. With the resuits of the first step in complete cycle pig production technology transfer, the researchers setup five training programs to relate with the problem and needs of pig raising farmers as members of the project. The training programs were conducted with lectures, demonstration,practices and field trips. The results of the evaluation of the five training programs showed that most of farmers were highly satisfied with the new knowledge received from the training, on stills in pig raising, the suilable training place, information service and the application of knowledge in pig raising. 3. Results of the evaluation the success of complete cycile pig production technology transfer project showed that most of the farmers can use the knowledge received from training and apply in their pig farms. Their incomes gained to 30,000 bath per year, the number of pigs produced increased from 2 pigs to 10 pigs per farm. There were increased investments by borrowed money from the Financial Institute. The system of pig farms deveioped from natural raising to using concrete fioor house with roof for good sanitation.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-45-014
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2549/Suthut_Siri_2547/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%20%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%202547.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสุกรแบบครบวงจร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2547
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการไผ่เพื่อใช้ในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและหัตถกรรมในครัวเรือนครบวงจร โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำแป้งข้าวกล้องงอกไรซ์เบอรรี่ให้กับผู้ประกอบการผลิตทองม้วนในจังหวัดสุโขทัย โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และพัฒนาสาหร่ายสไปรูลิน่าระดับพื้นบ้านเพื่อเป็นอาหารปลา ศักยภาพการผลิตปลากัดไทยของจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อเป็นสินค้า OTOP และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปลากัดไทย โครงการการพัฒนาคอนกรีตพิเศษสำหรับพื้นฟาร์มสุกร การวิจัยเพื่อผลิตผักด้วยการใช้ปุ๋ยมูลสุกรและไก่ ผลของระบบกกลูกสุกรแบบแผ่นเรียบโดยใช้ความร้อนจากการผลิตแก๊สชีวภาพแบบสองขั้นตอนร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์จากมูลสุกรที่มีต่ออัตราการรอดชีวิต และอัตราการตายของลูกสุกร การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพดีเชิงบูรณาการ โดยเกษตรกรต้นแบบสู่เกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่นอกเขตชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี (ปีที่2) ข้อสังเกตผลของการถอนไวตามินในอาหารต่อค่าภูมิคุ้มกันและสมรรถนะการผลิตในสุกรขุน การผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากมูลสุกรโดยใช้กระบวนการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก