สืบค้นงานวิจัย
ผลของลำดับคลอด ฤดูกาล คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย อุณหภูมิ และความชื้น ของสิ่งแวดล้อม ต่อการทำงานของรังไข่หลังคลอดของโคขาลำพูน
เพทาย พงษ์เพียจันทร์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของลำดับคลอด ฤดูกาล คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย อุณหภูมิ และความชื้น ของสิ่งแวดล้อม ต่อการทำงานของรังไข่หลังคลอดของโคขาลำพูน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Parity, Season, Body Condition Score, Temperature and Humidity on Postpartum Ovarian Activity of White Lumpoon Cattle
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพทาย พงษ์เพียจันทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Petai Pongpiachan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้ ใช้โคขาวลำพูนซึ่งเป็นโคพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทยเป็นสัตว์ทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ: (1) เปรียบเทียบผลของลำดับคลอด (Parity), ฤดูกาล, อุณหภูมิ ความชื้น (THl), การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัว (BWC) และคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย (BCS) ต่อการทำงานของรังไข่หลังคลอด (POA) (2) ลดระยะเวลาระหว่างวันคลอดลูก กับวันเป็นสัดครั้งแรกหลังคลอด โดยการเสริมแร่ธาตุปลีกย่อย, แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส (3) เปรียบเทียบอุณหภูมิทวาร (Rectal temperature) ระหว่างโคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนxพื้นเมือง กับโคขาวลำพูน ภายใต้สภาพความเครียดเนื่องจากอุณหภูมิสูง, โคทดลองมี 2 กลุ่ม : กลุ่มแรก เป็นโคที่ สถานีวิจัยและฝึกงานแม่เหียะ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 62 ตัว; กลุ่มที่สอง เป็นโคขาวลำพูน ในหมู่บ้าน เขตจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 18 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่มทดลองละ 6 ตัว ประกอบด้วย กลุ่มควบคุม กลุ่มเสริมแร่ธาตุปลีกย่อย และกลุ่มเสริมแร่ธาตุปลีกย่อย + แคลเซียมและฟอสฟอรัส. โคทดลองทั้งในสถานีวิจัยฯ และในหมู่บ้าน กินอาหารจากแปลงหญ้าธรรมชาติในเวลากลางวันเป็นหลัก เวลากลางคืนโคอยู่ในโรงเรือน. การเก็บตัวอย่างน้ำนม หรือพลาสม่าสำหรับวิเคราะห์หาระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน (Progesterone) โดยวิธีเรดิโออิมมูนโนแอสเซ (RIA) เพื่อวัดการทำงานของรังไข่. ผลการศึกษาที่สถานีวิจัยพบว่า: จำนวนโคคิดเป็นเปอร์เซนต์สะสม (Cummulative percentage) ที่มี POA ครั้งแรกเมื่อ 10-20, 21-40, 41-60, 61-80, 81-100, 101-120, 121-140 และ มากกว่า 140 วันหลังคลอด เป็น 12.9, 48.4, 61.3, 74.2, 8.5, 93.5, 98.4 และ 100 เปอร์เซนต์ตามลำดับ. ลำดับคลอดไม่มีผลต่อค่า OA แต่สำหรับอัตราการตั้งท้อง ระหว่างลำดับคลอด 1-2 vs 3-6 และ 1-3 vs 4-6 มีค่า 13.3 vs 51.1 และ 21.7 vs 53.8 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ (P <.05). ค่า BCS ในฤดูร้อน-ชื้น (มิถุนายน-กันยายน) มีค่า 2.96 ± 0.12 ต่ำกว่าในฤดูหนาวแห้ง (ตุลาคม-กุมภาพันธุ์) และฤดูร้อน-แห้ง (มีนาคม-พฤษภาคม) ซึ่งมีค่า 3.51 ± 0.07 และ 3.73 ± 0.12 ตามลำดับ (P <.05). สำหรับผลของความเครียดเนื่องจากความร้อน และความชื้นวัดเป็นด่า Temperature humidity index (THI) พบว่ามีสหสัมพันธ์ทางบวกระหว่างค่า THI และ BCS (r2= 0.33, P < .0.5).ไม่พบสหสัมพันธ์ระหว่าง BCS vs POA, BWC vs POA และ BWC vs BCS (P<05), อุณหภูมิทวาร ของโค โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน x พื้นเมือง และโคขาวลำพูนเมื่อเวลา 8:30 นาฬิกา มีค่า 37.8 ± 0.07 และ 38.0: 0.10 °C ในเวลา 15:30 นาฬิกา มีค่า 38.9 ± 0.08 และ 38.7 ± 0.11 °C ตามลำดับ. การทดลองในหมู่บ้านการเสริมแร่ธาตุปลีกย่อย และเสริมแร่ธาตุปลีกย่อย+ แคลเซียมและฟอสฟอรัส มีแนวโน้มที่จะทำให้จำนวนวันระหว่างวันคลอดลูก กับวันผสมพันธุ์ครั้งแรกหลังคลอดสั้นลง การศึกษาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าโคขาวลำพูน เป็นพันธุ์ที่สามารถสืบพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ และความชื้นสูง.
บทคัดย่อ (EN): White Lumpoon (WL) cows, a native cattle breed in northern Thailand, were used experimental animals to: (1) assess effects of parity, season, ambient temperature, body weight change (BWC) and body condition score (BCS) on postpartum ovarian activity (POA); (2) reduce postpartum anoestrous interval by supplementation of trace minerals, Ca, and P and; (3) compare rectal temperature between Holstein x Native crossbred and WL cows under heat stress condition. Two groups of the WL cows were used. The first group of cows were at Mae Hia Rescarch Station and Training Center, Chiang Mai University, and comprised 62 primiparous and multiparous cows. The second group were WL cows in village farms to which 6 cows per group were allocated to 3 treatments, control, trace minerals and trace minerals with additional Ca plus P supplementation. The cows in both University and village farms were allowed to graze in natural pasture during the day and kept in bousing at night. Milk and plasma progesterone, assayed by solid-phase radioimmunoassay (RIA), were used for monitoring ovarian activity. The results from the University farm were : cumulative percentage of the POA at 10-20, 21-40, 41-60, 61-80, 81-100, 101-120,121-140 and over 140 d were 12.9, 48.4, 61.3,74.2, 85.5, 93.5, 98.4, and 100 percent respectively. There were no significant differences among the POA of parity numbers, but pregnancy rate of parities 1-2 vs 3-6 and 1-3 vs 4-6 were 13.3 vs 51.1 and 21.7 vs 53.8 % respectively (P < .O5). The BCS was less in the hot-wet (2.96+ 0.12) than cool-dry (3.51 + 0.07) and hot-dry(3.73+ 0.12) (P < .05). For temperature humidity index (THI) as indicator of beat stress, there was positive correlation between THI and BCS (R2 - 0.33, P < .05). In addition, there were no significant difference (P > .05) between BCS vs POA, BWC vs POA, and BWC vs BCS. Rectal temperature of the WL and Holstein x Native cows at 830 h were 37.8 + 0.07 and 380 + 0.10 °C while at 1530 h the values were 389 + 0.08 and 38.7 + 0.11 °C respectively with no statistical difference between type of the cows. In village farms, supplementation of trace minerals and trace additional Ca plus P tended to shorten days from calving to first mating. The study showed that the WL cows was a tolerable breed to heat stress condition when assess by reproductive parameters.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2534
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247642/169446
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของลำดับคลอด ฤดูกาล คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย อุณหภูมิ และความชื้น ของสิ่งแวดล้อม ต่อการทำงานของรังไข่หลังคลอดของโคขาลำพูน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2535
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อิทธิพลของฟอสเฟต ความเป็นกรด-เบสของดิน ความชื้นและอุณหภูมิที่มีต่อการดูดและการคายโบรอนในดิน อิทธิพลของฤดูกาลและดัชนีอุณหภูมิความชื้นต่อการเกิดรกค้างในโคนมลูกผสมขาวดำ อิทธิพลของอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่มีผลต่อพฤติกรรมของเห็บโค ภาชนะรองรับทางชีวภาพอย่างสร้างสรรค์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผลของอุณหภูมิและวิธีการเก็บรักษาต่อแตนเบียนไข่, Trichogramma spp. ข้อสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ซากกับอายุและน้ำหนักฆ่าในโคขาลำพูนเพศผู้ไม่ตอน ผลของอุณหภูมิต่อการระงับความรู้สึกด้วยน้ำมันกานพลูในปลานิล (Oreochromis niloticus) ความทนทานต่ออุณหภูมิสูงของไหมอีรี่ต่าง ecorace ผลของอุณหภูมิต่อแมลงพาหะ Matsumuratettix hiroglyphicus นำโรคใบขาวอ้อย การวิเคราะห์เชิงเทคนิคและสิ่งแวดล้อมสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงอัดแข็งจากพืชพลังงาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก