สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปงาขี้ม้อนที่มีคุณภาพดี
พันธ์ศักดิ์ แก่นหอม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปงาขี้ม้อนที่มีคุณภาพดี
ชื่อเรื่อง (EN): Qualities Development For Processing
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พันธ์ศักดิ์ แก่นหอม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปงาม้อนที่มีคุณภาพ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน ระหว่างปี 2554-2557 ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพันธุ์และการผลิตงาม้อน 2 การทดลอง กิจกรรมวิธีการแปรรูปและการใช้ประโยชน์จากงาม้อน 3 การทดลอง ในกิจกรรมแรกทำการสำรวจรวบรวม และคัดเลือกพันธุ์งาม้อน จากแหล่งปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน รวม 30 แหล่งผลิต 130 สายพันธุ์ ปลูกในแปลงรวบรวม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงและคุณภาพดี พบว่า สายพันธุ์งาม้อนมีจำนวน 10 สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตดีและมีคุณภาพ สามารถจำแนกตามอายุการเก็บเกี่ยวได้ 3 กลุ่ม คือ สายพันธุ์อายุสั้น (อายุน้อยกว่า 190 วัน) จำนวน 3 สายพันธุ์, สายพันธุ์อายุกลาง (อายุ 190-230 วัน)จำนวน 4 สายพันธุ์ และสายพันธุ์อายุยาว (อายุมากกว่า 230 วัน) จำนวน 3 สายพันธุ์ รวม 10 สายพันธุ์ ดังนี้ สายพันธุ์ NAN/NN-Cp#114 สายพันธุ์ NAN/NN-Cp#115 สายพันธุ์ NAN/NN-Ck#122 สายพันธุ์ NAN/CR-MA#073 สายพันธุ์ NAN/CR-MA#079 สายพันธุ์ NAN/CR-MA#087 สายพันธุ์ NAN/PY-Po#040สายพันธุ์ NAN/CR-Ma#054 สายพันธุ์ NAN/CR-Ma#058 สายพันธุ์ NAN/NN-Bk#112 ลักษณะเมล็ดแตกต่างกันมีทั้งขนาดเมล็ดใหญ่ เมล็ดเล็ก และมีสีต่างๆ กัน ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลไหม้ สีเทาเข้ม เทาอ่อนจนถึงสีขาว ซึ่งมีปริมาณน้ำมันและโอเมก้า 3 แตกต่างกัน และได้มีการวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันจากเมล็ดงาม้อนจำนวน 4 สายพันธุ์ พบว่า มีปริมาณน้ำมันรวมร้อยละ 43-55 และเป็นโอเมก้า 3 ถึง ร้อยละ 11-15 เมล็ดงาม้อนสีขาวขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันรวมร้อยละ 43.1 เป็นโอเมก้า 3 ร้อยละ 15.01 งาม้อนเมล็ดสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็ก มีปริมาณน้ำมันรวมร้อยละ 52.02 เป็นโอเมก้า 3 ร้อยละ 11.08 เมล็ดงาม้อนสีเทาอ่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันรวมมากที่สุดร้อยละ 55.83 เป็นโอเมก้า 3 ร้อยละ 12.73 ส่วนเมล็ดงาม้อน สีเทาอ่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันร้อยละ 44.94 เป็นโอเมก้า 3 ร้อยละ 13.54 แตกต่างกันไปตามแต่ละแหล่ง หรือแต่ละสายพันธุ์ เนื่องจากงาม้อนมีความหลากหลายทางพันธุกรรม การปลูกงาม้อนส่วนใหญ่จะปลูกในพื้นที่ดอนเชิงเขา และอาศัยน้ำฝน เกษตรกรที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ส่วนการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์งาม้อนปรุงรส ได้วิธีการแปรรูปงาม้อนอัดแท่งเพื่อความสะดวก ในการรับประทาน โดยมีส่วนผสมของ งาม้อน น้ำ เกลือ น้ำตาลทรายขาว และแบะแซ หลังผลิตนำไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่างาม้อนปรุงรสมีรสชาติ หวาน มัน กรอบ และมีคะแนนการยอมรับอยู่ระหว่าง 5.65-6.08
บทคัดย่อ (EN): Research, technology development, manufacturing and processing of perilla production quality. Implementation of the Nan Agricultural Research and Development Center. During the years 2011-2014.Composed of two activity include . Research, technology development and production perilla the second trial. Event processing methods and uses of perilla the three trials. The first activity to survey and collect genetic perilla. From growing in the northern Gulf. Is chiang rai ,chiang mai , Mae Hong Son, Phayao Phrae and Nan Total 30 sources 130 lines.Grown to gather at Nan Agricultural Research and Development Center. To select varieties with high yield. And good quality .found perilla with a total of 10 strains of the species. Yield and quality. Harvesting can be classified according to three groups. Is Short-lived species of the three species. (Younger than 190 days), Middle age of four species breed (190-230 days of age ). Long lifespan of three species breed. (More than 230 days old), As well as 10 species Species NAN/NN-cp#114. Species NAN/NN-cp#115. Species NAN/NN-ck#122. Species NAN/CR-MA#073. Species NAN/CR-MA#079. Species NAN/CR-MA#087. Species NAN/PY-Po#040. Species NAN/CR-Ma#054. Species NAN/CR-Ma#058. Species NAN/NN-Bk # 112. Different seeds are the size of small seeds, large seeds and different colors. Ranging from light brown to dark brown, dark gray, light gray and white. The oil content and Omega 3 different. Has analyzed the amount of oil perilla seed the four species. Found that 43.1 percent of the total amount of oil. Omega 3 percent of 11-15. Although the large white perilla seed oil content includes 43.1 percent. Omega 3 percent to 15.01 perilla seeds, dark brown, small. With 52.02 percent of the total amount of oil. Omega 3 percent to 12.73. perilla seed a light gray large quantities of oil 44.94 percent. Omega 3 percent to 13.54. Varies according to the individual or source, but species. Because the perilla with genetic diversity. Before planting perilla most of it grown in upland hillside. And rainfed. Most of the growers are small farmers. Improve product quality, perilla seasoning. How to privatize perilla bars so easy to eat. The ingredients include perilla bars water, salt, sugar and glues. The production used to test consumer acceptance. Found that although the perilla flavored with sweet frame . Scores ranged from 5.65 to 6.08 are accepted.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปงาขี้ม้อนที่มีคุณภาพดี
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2557
โครงการพัฒนาต้นแบบการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตลำไยอินทรีย์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การประเมินคุณภาพฟักทอง (Cucurbita spp.) และการพัฒนากระบวนการที่เหมาะสมในการผลิตแป้งฟักทอง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ โครงการวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะไฟจีนที่มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ โครงการวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง 2559A17001004 การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพจากหนามแดง (Carissa carandas Linn.) แผนงาน โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตมะนาว โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตไผ่เชิงพาณิชย์ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการผลิตขมิ้นชันที่มีคุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก