สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี
ศิริวรรณ ชอบประดิถ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิริวรรณ ชอบประดิถ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไป การใช้เทคโนโลยีการปลูกถั่วเหลือง และปัญหาข้อเสนอแนะของการเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองจังหวัดลพบุรี ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองฤดูฝนปี 2546 ในจังหวัดลพบุรี จำนวน 103 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรเป็นรายบุคคลตามแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรร้อยละ 66.0 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.8 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.8 คน แรงงานเกษตรกรรมในครัวเรือนเฉลี่ย 2.1 คน ในรอบปีที่ผ่านมามีรายได้จากการปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 49,624.1 บาท มีพื้นที่ ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 49.4 ไร่ มีพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง ปี 2546 เฉลี่ย 15.5 ไร่ มีประสบการณ์ปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 9.6 ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. แหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกถั่วเหลืองส่วนใหญ่มาจากญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และพ่อค้า ร้อยละ 65.0 เคยเข้ารับการอบรมที่ทางราชการจัดขึ้น การใช้เทคโนโลยีการปลูกถั่วเหลืองของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรทุกรายใช้พันธุ์เชียงใหม่ 60 ส่วนใหญ่ซื้อจากพ่อค้า มีการไถพรวนและตากดินก่อนปลูกเฉลี่ย 4.5 สัปดาห์ ร้อยละ 60.2 มีการคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อไรโซเบี้ยม เกษตรกร ทุกรายปลูกโดยวิธีหยอดเป็นแถวโดยใช้เครื่องจักรกล อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 19.5 กิโลกรัมต่อไร่ การกำจัดวัชพืช เกษตรกรส่วนใหญ่มีการกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีในระยะก่อนปลูกจนถึงระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ การใช้ปุ๋ยเคมี ส่วนใหญ่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในระยะต้นอ่อน ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ระยะออกดอก จนถึงระยะฝักอ่อน เกษตรกรจำนวนหนึ่งในสองใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรกรร้อยละ 35.0 มีการใช้ในระยะก่อนปลูกถึงระยะปลูก อัตราเฉลี่ย 222.2 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรร้อยละ 77.7 มีการใช้ปุ๋ยน้ำ (ฮอร์โมน) ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ เกษตรกรทุกรายเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองโดยใช้แรงงานคน ผลผลิตถั่วเหลืองเฉลี่ย 340.5 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาที่จำหน่ายได้เฉลี่ย 10.8 บาทต่อกิโลกรัม กำไรสุทธิเฉลี่ย 1,807 บาทต่อไร่ ปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญคือ การขาดแคลน เมล็ดพันธุ์ โรคแมลงระบาด และปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ปัญหาด้านการตลาดที่สำคัญคือ ราคาผลผลิตไม่แน่นอน และราคาผลผลิตต่ำ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะต้องการให้ทางราชการสนับสนุนช่วยเหลือประกันราคาขั้นต่ำผลผลิตถั่วเหลืองกิโลกรัมละ 12 บาท ให้ควบคุมราคาปัจจัยการผลิต สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ดี สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และจัดหาแหล่งน้ำทางการเกษตร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดลพบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2547 สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย การผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดแพร่ โครงการวิจัยศึกษาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวในฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตที่สำคัญบางจังหวัด เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งของเกษตรกรในและนอกโครงการพัฒนาการผลิตและการตลาดถั่วเหลือง เขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก