สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องคัดแยกคุณภาพมังคุดโดยความถ่วงจำเพาะ
ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องคัดแยกคุณภาพมังคุดโดยความถ่วงจำเพาะ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Quality Grading Machine of Mangosteens by Specific Gravity
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษา และพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกคุณภาพมังคุดโดยค่าความถ่วงจำเพาะของสารละลายในการแยกคัดมังคุดแบบไม่ทำลายโดยอุปกรณ์ควบคุมแบบแสงอินฟราเรด และ แบบเสียงอุลตราโซนิค มังคุดเนื้อแก้วจะถูกแยกออกโดยการจมในสารละลาย ระบบการคัดแยกประกอบด้วยหัววัด แสงอินฟราเรดและเสียงอุลตราโซนิค วงจรขยายและปรับสภาพสัญญาณ และวงจรไมโครคอนโทลเลอร์ กลไกควบคุมแบบย้อนกลับถูกออกแบบให้ควบคุมการไหลของสารละลายตัวกลางในการคัดแยกที่บรรจุอยู่ในถังพักโดยอุปกรณ์โซลินอยด์วาล์ว ประสิทธิภาพการคัดแยกระหว่างฤดูการผลิตที่เป็นฤดูร้อนจะสูงกว่าในฤดูฝนเนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของน้ำในผลมังคุด ซึ่งมีผลให้ค่าความถ่วงจำเพาะทับซ้อนกันระหว่างมังคุดเนื้อแก้วกับมังคุดปกติ ประสิทธิภาพการคัดแยกโดยเฉลี่ยของต้นแบบเครื่องคัดแยกคุณภาพมังคุดโดยค่าความถ่วงจำเพาะที่ได้จากอุปกรณ์ควบคุมทั้งสองแบบอยู่ที่ร้อยละ 94 โดยอุปกรณ์ควบคุมแบบแสงอินฟราเรดจะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าแบบเสียงอุลตราโซนิค
บทคัดย่อ (EN): Infrared and ultrasonic specific gravity controlling system for quality grading of mangosteen between translucent and normal flesh fruits were designed, manufactured, and subsequently tested. The systems involved specific gravity infrared and ultrasonic sensor, amplifying and conditioning circuit and microcontroller. Feedback control mechanism was meant to control flow of prepared solution from supply tank to separating tank by pump through solenoid valve. Results indicated that the continuous on-off mechanism maintained specific gravity value of the solution in separating tank at the setting point. Efficiency of grading system in summer season was higher than rainy season due to the increasing of sucked water caused in overlapping of specific gravity value of translucent and normal fruits. Average sorting efficiency of normal fruit by specific gravity value for both controllers was 94 %. Production cost of infrared specific gravity controlling system was lower than ultrasonic system.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องคัดแยกคุณภาพมังคุดโดยความถ่วงจำเพาะ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การวิจัยในสภาพสวนเพื่อพัฒนาการผลิตมังคุดนอกฤดูจังหวัดนครศรีธรรมราช การผลิตถ่านจากเปลือกมังคุดและผลมังคุดคัดทิ้งหรือมังคุดตกเกรดเพื่อใช้เป็นถ่านกรองน้ำและถ่านดูดซับความชื้นและกลิ่น โครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกคุณภาพผลมังคุดโดยค่าความถ่วงจำเพาะของสารละลายแบบต่อเนื่องด้วยอุปกรณ์ควบคุมอัลตร้าโซนิค ชุดโครงการวิจัยและพัฒนามังคุด โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุดคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแก้ปัญหาการเกิดอาการเนื้อแก้ว และยางไหลในผลมังคุด การปรับปรุงเครื่องคัดขนาดผลมังคุด การพัฒนาเครื่องจำแนกคุณภาพมังคุดโดยใช้เทคนิคการตรวจวัดแบบไม่ทำลาย โครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งเนื้อมังคุดด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อน โครงการวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมังคุดผลสดและกระบวนการผลิตมังคุด และผลไม้อื่นๆ ตัดแต่งพร้อมรับประทาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก