สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคโนโลยีการใช้เทคนิคสเปกโตรสโกปีย่านใกล้(NIRS) เพื่อการวัดค่ายาปฏิชีวนะอ๊อกโซลินิค แอซิก ในเนื้อกุ้งขาวอย่างรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่าง
สมศักดิ์ ระยัน, สุกัญญา คำหล้า, บุญทิวา ชาติชำนิ, อรอนงค์ พวงชมภู - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีการใช้เทคนิคสเปกโตรสโกปีย่านใกล้(NIRS) เพื่อการวัดค่ายาปฏิชีวนะอ๊อกโซลินิค แอซิก ในเนื้อกุ้งขาวอย่างรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Near Infrared Spectroscopy for nondestructive and rapidly measurement of oxolinic acid in White Shrimp
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เทคนิคสเปกโตรสโกปีย่านใกล้เพื่อใช้ทำนายค่ายาปฏิชีวนะอ๊อกโซลินิค แอซิด ในเนื้อกุ้งขาว โดยสุ่มเก็บตัวอย่างกุ้งขาวที่เลี้ยงในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 200 ตัวอย่าง จากเกษตรกร 12 ราย เกษตรกรทุกรายเลี้ยงกุ้งด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูป ตรวจสอบตัวอย่างกุ้งขาวโดยใช้เครื่อง HPLC วิเคราะห์ไม่พบตัวอย่างกุ้งขาวมียาปฏิชีวนะอ๊อกโซลินิค แอซิดตกค้าง แต่จากการทดลองใช้ยาปฏิชีวนะอ๊อกโซลินิค แอซิดผสมอาหารให้กุ้งขาวกินในอัตรา 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักกุ้ง 1 กิโลกรัม เก็บตัวอย่างกุ้งขาวหลังกินอาหารผสมยาปฏิชีวนะที่ระยะเวลา 1, 3, 7, 10, 14, 21, 24 และ 28 วัน นำตัวอย่างกุ้งขาวตรวจวัดด้วยเครื่อง HPLC เปรียบเทียบกับเครื่องสเปกโตรสโกปี่ย่านใกล้ (NIR Flex-500) แล้วตรวจวัดค่า อ๊อกโซลินิค แอซิดในเนื้อกุ้งขาวด้วยเครื่อง HPLC พบมีค่าในช่วง 0.21-0.27 พีพีเอ็ม มีค่าเฉลี่ย 0.24+0.02 พีพีเอ็ม นำค่าสเปกตรัมและค่าทางเคมีมาทำการวิเคราะห์แบบ Partial Least Squares พบว่า สมการสามารถใช้ทำนายค่าอ๊อกโซลินิค แอซิดได้ โดยมีค่าความเชื่อมั่น (R2cal ) เท่ากับ 0.102 ถือว่ามีค่าค่อนข้างต่ำมาก และมีค่า SEC เท่ากับ 1.30 และ SEP 1.38 ผลจากการศึกษาครั้งนี้มีแนวโน้มสามารถใช้ FT-NIR ซึ่งเป็นสเปกโตรสโกปี่ที่มีช่วงคลื่นปานกลางตรวจวัดค่าอ๊อกโซลินิค แอซิดในเนื้อกุ้งขาวได้ คำสำคัญ : สเปกโตรสโกปี่ย่านใกล้ อ๊อกโซลินิค แอซิด กุ้งขาว
บทคัดย่อ (EN): The study used a technique Near Infrared Spectroscopy for the approach to be used to predict the antibiotics (oxolinic acid : OXO) in frozen white shrimp. 200 samples white shrimp cultured by commercial feed from 12 agriculturists in Jantaburi province not finding of OTC residue analyses by HPLC method. However, study of OXO with commercial feed for white shrimp 50 mg/1 kg feed at 1, 3, 7, 10, 14, 21, 24 and 28 day finding of OXO residue 0.21-0.27 ppm (mean=0.24+0.02 ppm) by HPLC method and compare by using NIR Flex-500. Using of spectroscopic measurements OTC comparison with the chemically measured by Partial Least Squares analysis. The results can be used to predict the OTC in white shrimp show low R2cal 0.102 and SEC SEP were 1.30 and 1.38, respectively. In conclusion, FT-NIR with middle-wavelength has possibility to predict OTC in white shrimp. Keywords : Near infrared, Oxolinic acid, White shrimp
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคโนโลยีการใช้เทคนิคสเปกโตรสโกปีย่านใกล้(NIRS) เพื่อการวัดค่ายาปฏิชีวนะอ๊อกโซลินิค แอซิก ในเนื้อกุ้งขาวอย่างรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2558
การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เทคนิคสเปกโตรสโกปีย่านใกล้(NIRS) เพื่อการวัดค่ายาปฏิชีวนะเอนโรฟอกซาซินในเนื้อกุ้งขาวอย่างรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่าง การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เทคนิคสเปกโตรสโกปีย่านใกล้(NIRS) เพื่อการวัดค่ายาปฏิชีวนะอ๊อกโซลินิค แอซิก และ คลอแรมฟินิคอลในเนื้อปลานิลอย่างรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่างเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งขาว การใช้เทคโนโลยี bio-flocs ในการเลี้ยงกุ้งขาวและปลานิลแบบผสมผสาน การพัฒนาการใช้เทคนิคสเปกโตรสโกปีย่านใกล้(NIRS) เพื่อการวัดค่ายาปฏิชีวนะอ๊อกซี่เตตตร้าซัยคลินในเนื้อปลานิลอย่างรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่าง ประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกมังคุด (Gracinia mangostana, Linn) ในการกำจัดจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้งทะเล การใช้แหล่งแคโรทีนอยด์ธรรมชาติเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสีเปลือกและเนื้อในกุ้งขาว Penaues vannamei (Boone 1931) การพัฒนาเทคนิคไบโอเซนเซอร์เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยไวรัส WSSV, YHV, TSV, HPV, MBV, IHHNV ในกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ การพัฒนาระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ่อเลี้ยงกุ้งขาว การเพิ่มศักยภาพการขนส่ง shRNA ด้วยเปปไทด์ เพื่อใช้ในการป้องกันโรคตัวแดงดวงขาวในกุ้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก