สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยสาเหตุ และแนวทางในการควบคุมกลุ่มอาการทยอยตายในกุ้งก้ามกราม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ - มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยสาเหตุ และแนวทางในการควบคุมกลุ่มอาการทยอยตายในกุ้งก้ามกราม
ชื่อเรื่อง (EN): Identification of the causative agent and control strategy for running mortality syndrome (RMS) in the freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “ปัจจัยสาเหตุ และแนวทางในการควบคุมกลุ่มอาการทยอยตายในกุ้งก้ามกราม” แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ผศ.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อกุ้งก้ามกรามที่เป็นโรคอุบัติเหตุใหม่โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เพื่อแยกเชื้อก่อโรคอุบัติเหตุใหม่ในกุ้งด้วยวิธีการทางชีวเคมี และทำการวิเคราะห์ทางชีวเคมีระดับโมเลกุล เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการแพร่เชื้อก่อโรคจากกุ้งก้ามกรามไปยังกุ้งขาว การพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์โรคด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล หรือการก่อพยาธิสภาพในเซลล์เพาะเลี้ยง การสืบค้นปัจจัยการก่อโรค และศึกษากลไกการก่อให้เกิดโรคต่อระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและรักษาโรค จากการศึกษาวิจัย พบว่า ทีมวิจัยได้ศึกษาการติดเชื้อในเนื้อเยื่อต่างๆ จากตัวอย่างกุ้งจากเกษตรกรที่ประสบปัญหากุ้งก้ามกรามตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ด้วยเทคนิคทางด้านเนื้อเยื่อวิทยา และชีววิทยาโมเลกุล โดย จากการวิเคราะห์ทางเนื้อเยื่อวิทยา พบรอยโรคที่น่าจะเป็นกลุ่มของเชื้อโรคที่ย้อมติดสีน้ำเงินจนไปถึงสีน้ำเงินปนสีชมพูอยู่ภายในเซลล์ที่กระจายตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างท่อตับ และไม่พบการรวมกลุ่มกันของเม็ดเลือดกุ้ง ซึ่งมักจะพบในกรณีการติดเชื้อแบคทีเรีย เมื่อตรวจสอบเซลล์ติดเชื้อในบริเวณที่แสดงพยาธิสภาพในเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน พบว่า มีกลุ่มของแบคทีเรียที่ไม่มีผนังเซลล์อยู่ภายในเซลล์ มีลักษณะสัณฐานที่แตกต่างกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150 นาโนเมตร เมื่อทดลองสืบค้นสายพันธุ์จำเพาะของแบคทีเรียโดยใช้เทคนิคเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมโดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่จำเพาะต่อ SSU rDNA เป็นเป้าหมาย จากนั้นหาลำดับเบสของดีเอ็นเอเป้าหมายพบว่า มีความเหมือนกับแบคทีเรีย S. eriocheiris มากถึง 99.9% จึงทดสอบยืนยันการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ โดยเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมโดยใช้ดีเอ็นเอสกัดจากเนื้อเยื่อตับเป็นต้นฉบับ พบว่า มีผลบวกในการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ทำการทดสอบการติดเชื้อแบคทีเรียจำเพาะชนิดนี้ในตับด้วยเทคนิค in situ hybridization โดยใช้ดีเอ็นเอติดตามจำเพาะต่อจีโนมของแบคทีเรียพบว่า ให้ผลบวกเช่นเดียวกัน จึงยืนยันได้ว่าบริเวณเนื้อเยื่อช่องว่างระหว่างเซลล์ตับมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดพยาธิสภาพสอดคล้องกับการย้อมสีติดฉลากแบคทีเรีย เมื่อทดสอบในเนื้อเยื่ออื่นๆ พบผลบวกในเซลล์ที่มีลักษณะพยาธิ สภาพติดสี เบส/กรด ในเนื้อเยื่ออื่นด้วยเช่นกัน ได้แก่ ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลาย เหงือก เนื้อเยื่อ เกี่ยวพัน และเนื้อเยื่อระบบประสาท นอกจากนี้พบว่า การติดเชื้อชนิดนี้ทำให้เกิดพยาธิสภาพในอวัยวะสร้างเม็ดเลือดด้วยการติดเชื้อ S. eriocheiris ที่เกิดขึ้นในอวัยวะสร้างเม็ดเลือดนี้ทำให้เกิดการตายและการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด และอาจเป็นสาเหตุร่วมทำให้เกิดการตายของกุ้งก้ามกรามอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยเชื้อนี้โดยใช้เทคนิค PCR ร่วมกับการแสดงพยาธิสภาพเนื้อเยื่อในเซลล์ช่องว่างระหว่างเนื้อเยื่อตับที่มีลักษณะเฉพาะนี้สามารถใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมการแพร่ระบาด และการอุบัติของโรคในกุ้งก้ามกรามหรือสัตว์ทะเลเพาะเลี้ยงชนิดอื่นต่อไป นอกจากนี้ยังได้ทำการทดสอบการติดเชื้อ S. eriocheiris ในกุ้งขาว โดยนำ inoculums ที่เตรียมได้จากกุ้งก้ามกรามติดเชื้อมาฉีดกุ้งขาวปลอดโรค ขนาด 6-8 กรัม โดยฉีดเชื้อในปริมาณที่เท่ากับการก่อโรคในกุ้งก้ามกรามพบว่า กุ้งไม่มีการตายเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงการทดลอง 14 วัน อย่างไรก็ตามจะมีการตรวจสอบ การติดเชื้อในระดับเนื้อเยื่อและ PCR ในกุ้งขาวต่อไป จากการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงถึงพยาธิสภาพและชี้จำเพาะ ชนิดของจุลชีพในการก่อโรคตายสะสมจำนวนมากของกุ้งก้ามกรามว่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย S. eriocheiris ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์โรคอุบัติใหม่ และกลไกการติดเชื้อในกุ้งก้ามกราม เพื่อประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคกุ้ง ควบคุมและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทยอยตายในกุ้งก้ามกราม นอกจากนี้ยังได้มีการสร้างนักวิจัยที่มีความรู้ความชำนาญด้านการตรวจวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคกุ้ง และเผยแพร่ความรู้ไปยังเกษตรกร ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกุ้ง และนักวิชาการอีกด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-10-09
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-10-08
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยสาเหตุ และแนวทางในการควบคุมกลุ่มอาการทยอยตายในกุ้งก้ามกราม
มหาวิทยาลัยมหิดล
8 ตุลาคม 2561
โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณลักษณะของ Complementary DNAs (cDNAs) และการตอบสนองต่อการเกิดความเครียดของยีน Heat Shock Protein 40, 90 และ Glucose Regulated Protein 78 ในกุ้งก้ามกราม การสร้างอนุภาคไวรัส MrNV ก่อโรคกุ้งก้ามกรามในระบบเซลล์แมลง SF9 การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งก้ามกราม การแปลงเพศกุ้งก้ามกรามโดยวิธี Andrectomy การตายของลูกกุ้งก้ามกรามจากการติดเชื้อ การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนาโดยใช้อัตราปล่อยต่างๆกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก