สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2
สุนิยม ตาปราบ - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2
ชื่อเรื่อง (EN): Research and development of rice varieties using biotechnology under project collaboration between Rice Department and NSTDA: Phase II
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนิยม ตาปราบ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): N/A
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: N/A
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): N/A
คำสำคัญ: การวิจัย
คำสำคัญ (EN): Research
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: เนื่องจากข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับหนึ่งของประเทศ ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศนั้นต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตข้าวส่งออกรายอื่นๆ ทั้งนี้ เนื่องมาจากพื้นที่นาส่วนใหญ่ของประเทศไทยนั้นอยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ พื้นที่ดังกล่าวนั้นไม่มีระบบน้ำชลประทาน ดังนั้น จึงเป็นพื้นที่เสี่ยงสำหรับการผลิตข้าวเนื่องจากต้องอาศัยน้ำจากฝนที่ตกตามธรรมชาติซึ่งการกระจายของฝนในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก เนื่องจากสภาวะโลกร้อน บางครั้งมีปริมาณฝนตกมากในช่วงสั้นๆ ทำให้เกิดสภาพน้ำท่วม หรือบางครั้งฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานทำให้เกิดสภาวะแล้ง ดินในพื้นที่ผลิตโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็มักมีปัญหาความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และปริมาณเกลือสูง นอกจากนั้น ปัญหาการระบาดของโรคเช่น โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และแมลง เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหลังขาว แมลงบั่ว ก็เป็นปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นเกือบทุกฤดูการผลิต โดยทำให้ผลผลิตของข้าวนาน้ำฝนต่ำ ที่ผ่านมาศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ กรมการข้าว ได้ร่วมมือกันในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน พันธุ์หลัก 2 พันธุ์ คือข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข6 ให้มีความสามารถในการทนทานต่อน้ำท่วม ดินเค็ม ทนแล้ง และ ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จนประสบความสำเร็จ โดยมีสายพันธุ์ข้าวใหม่จำนวน 3 สายพันธุ์ที่อยู่ในขั้นตอนการรับรองพันธุ์โดยกรมการข้าวคือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วม ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนเค็ม และ ข้าว กข6 ต้านทานโรคไหม้ และยังมีสายพันธุ์ข้าวที่ดีสายพันธุ์ต่างๆที่พัฒนาโดยการใช้โมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอในการคัดเลือกจำนวนมากซึ่งอยู่ในขั้นตอนกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ และหลายสายพันธุ์อยู่ในขั้นตอนการทดสอบพันธุ์<br />จากความสำเร็จเบื้องต้นดังกล่าว ทั้งสามหน่วยงานจึงเห็นพ้องต้องกันว่าการพัฒนาพันธุ์ข้าวของประเทศให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วตามยุทธศาสตร์ของประเทศ และการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันน่าจะเป็นการทำงานร่วมมือกันในหลายหน่วยงาน โดยใช้จุดแข็งของแต่ละหน่วยงานมาร่วมกันทำงานค้นคว้าวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวแบบบูรณาการ โดยความร่วมมือในระยะที่สองนี้มีเป้าหมายที่ทดสอบพันธุ์ที่พัฒนาในโครงการระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของกรมการข้าว ผลที่คาดว่าจะได้ในระยะเวลา 5 ปี โดยเมื่อสิ้นสุดโครงการระยะที่ 2 คาดว่าจะมีพันธุ์ข้าวที่จะรับรองพันธุ์โดยกรมการข้าว จำนวน 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย 1) ข้าวเจ้าไม่ไวแสง คุณภาพเหมือนข้าวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลันและทนแล้ง (IR57514 introgression lines) 2) ข้าวเจ้าไม่ไวแสง พันธุ์สุรินทร์1 ทนแล้ง 3) ข้าวเจ้าไวแสง ทนน้ำท่วมฉับพลัน และมีความสามารถในการขึ้นน้ำ 4) ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ที่มีความหอม 5) ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ และขอบใบแห้ง 6) ข้าวเหนียว กข6 ที่มีการรวมยีนต้านทานโรคไหม้ ซึ่งพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ได้มาจากการพัฒนาในโครงการระยะที่ 1<br />เนื่องจากขั้นตอนการทดสอบสายพันธุ์ข้าวนั้นมีจำนวนสายพันธุ์ข้าวที่ต้องผ่านการทดสอบจำนวนมากในแต่ละปี และเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของโครงการพัฒนาพันธุ์ข้าวของประเทศ ภายใต้โครงการความร่วมมือนี้ในแต่ละหน่วยงานฯ จะร่วมกันพัฒนาวิธีการทดสอบลักษณะปรากฏที่มีประสิทธิภาพรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยมีมาตรฐานการทดสอบที่ดีทั้งในระดับเรือนทดลอง (โดยหน่วยค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว) และในแปลงทดสอบ (กรมการข้าว) เพื่อใช้ในการประเมินคุณค่าของพันธุ์ปรับปรุงได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยจะจัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการทดสอบพันธุ์ข้าวและความดีเด่นของพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์<br />สำหรับการเผยแพร่สายพันธุ์ที่พัฒนาใหม่ที่พัฒนาร่วมกันก็จะเปิดโอกาสให้เกษตรกร หรือเอกชนที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมในการคัดเลือกก่อนที่จะพิจารณาเสนอเพื่อรับรองพันธุ์โดยกรมการข้าว โดยในส่วนการขยายผลหรือการส่งเสริมพันธุ์ใหม่แก่เกษตรกรนั้น จะดำเนินการโดยยึดขั้นตอนของกรมการข้าวเป็นหลัก สำหรับสายพันธุ์ที่พัฒนาโดยหน่วยข้าวฯ ทางศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จะนำพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นบางส่วนไปศึกษาผลกระทบของงานวิจัยต่อเศรษฐกิจสังคมในภูมิภาคต่างๆ และศึกษารูปแบบวิธีการถ่ายทอดการผลิตเมล็ดพันธุ์ดีผ่านขบวนการของชุมชนเข้มแข็งและภาคเอกชนโดยร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะเป็นแบบอย่างของการถ่ายทอดในแต่ละสภาพของสังคมในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): Phase 1 of the project &ldquo;Breeding for Rainfed Lowland&rdquo; brought about successful results particularly in improving KDML105 and RD6. Marker-assisted selection is efficient in hastening line development and its efficiency in transferring gene/QTL conferring traits related to biotic and abiotic stresses and rice grain qualities was proven. Three lines such as KDML105 with submergence tolerance, KDML105 with salinity tolerance and RD6 with blast resistance will be released as products of the project. The success of phase 1 encouraged collaboration among National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, Kasetsart University and Rice Department to continue the unfinished products generated from phase 1 and include new materials and traits that are identified necessary under rainfed lowland ecosystem. Blast resistance in RD6 will be broaden by adding new resistance QTL identified from IR64 on chromosomes 2 and 12 and on chromosome 5 contributed in HYI71. Blast and bacterial leaf blight resistance will be incorporated to RD6. Blast resistance of RD6 with brown planthopper and drought resistance will be improved. Blast resistance will be added to RD6 with tolerance to submergence, resistance to bacterial leaf blight and brown planthopper.</p> Six lines are expected in phase 2 to be certified by rice department namely, 1) IR57514 introgression lines with grain quality similar to KDML105 and with submergence tolerance 2) Surin 1 with drought tolerance 3) photoperiod non-glutinous rice with submergence tolerance and deep-water resistance 4) aromatic RD6 with blast resistance 5) RD6 with blast and bacterial blight resistance and 6) RD6 with several resistance QTL pyramided against blast. Most of these materials are part of the unfinished products of phase 1.</p> It is expected that secured and more solid collaboration will result from phase 2 since all institutes concerned have intention to improve rice production of the country and at the same time improve the quality of life of Thai rice farmers by developing rice with good quality and with resistance against biotic and abiotic stresses.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: N/A
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: N/A
เลขทะเบียนวิจัยกรม: N/A
ชื่อแหล่งทุน: N/A
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: N/A
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: N/A
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563
เอกสารแนบ: https://zebra.nstda.or.th/vou/index.php?type_code=IM
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: N/A
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: N/A
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 0000
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2563
เอกสารแนบ 1
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชภายใต้โรงเรือน การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม โครงการวิจัยและพัฒนาแบบครบวงจร ปี 2528-2530 ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตแอนติบอดีบนผิวเฟจเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร โครงการวิจัยเพื่อทดสอบพันธุ์องุ่นรับประทานสด และพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกองุ่นพันธุ์ Beauty Seedless โครงการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชในโรงเรือน การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ จากข้าวพันธุ์ใหม่ : รายงานการวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน-มิถุนายน 2561 วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว. โดย สำนักดิจิทัลและสารสนเทศ วว. ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มีนาคม 2561 วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว. โดย สำนักดิจิทัลและสารสนเทศ วว.

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก