สืบค้นงานวิจัย
ผลของการทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยไมยราบยักษ์ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและเนื้อของนกกระทาญี่ปุ่น
กฤตภาค บูรณวิทย์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของการทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยไมยราบยักษ์ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและเนื้อของนกกระทาญี่ปุ่น
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Replacement of Soybean Meal with Giant Mimosa on Growth, Carcass and Meat Quality of Japanese Quails
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กฤตภาค บูรณวิทย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Krittaphak Buranawit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: มนตรี ปัญญาทอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Montri Punyatong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ไมยราบยักษ์ที่ระดับต่างกันเพื่อทดแทนกากถั่วเหลืองต่อลักษณะการเจริญเติบโต ซากและคุณภาพเนื้อบางประการของนกกระทาญี่ปุ่น โดยใช้นกกระทาญี่ปุ่น เพศผู้ อายุ 21 วัน จำนวน 160 ตัว ทำการสุ่มนกกระทาญี่ปุ่นออกเป็น 4 กลุ่ม ให้ได้รับอาหารทดลองที่แตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มควบคุม (T1) กลุ่มที่ได้รับการทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยไมยราบยักษ์แห้งป่นที่ระดับ 2, 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ (T2, T3 และ T4 ตามลำดับ) โดยทำการทดลองกลุ่มละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 10 ตัว ผลการทดลองพบว่า นกกระทาญี่ปุ่นกลุ่ม T2, T3 และ T4 มีสมรรถภาพการเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมในทางสถิติ (p>0.05) น้ำหนักมีชีวิตก่อนฆ่าของนกกระทาญี่ปุ่นกลุ่ม T1 มีค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ขณะที่นกกระทาญี่ปุ่นกลุ่ม T3 แสดงแนวโน้มที่จะมีเปอร์เซ็นต์ซากสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ เนื้อของนกกระทาญี่ปุ่นกลุ่ม T2 มีค่า L* มากที่สุด ขณะที่เนื้อของนกกระทาญี่ปุ่นกลุ่ม T3 มีค่า a* และ b* มากที่สุด (p<0.05) เมื่อพิจารณาความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อพบว่า เนื้อของนกกระทาญี่ปุ่นกลุ่ม T3 และ T4 มีค่าการสูญเสียน้ำขณะเก็บ และค่าการสูญเสียน้ำหลังจากการละลายต่ำที่สุดตามลำดับ (p<0.05) ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยไมยราบยักษ์แห้งป่นที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มที่จะช่วยทำให้ลักษณะซากและคุณภาพเนื้อดีที่สุด โดยไม่ส่งเสียต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของนกกระทาญี่ปุ่น
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to investigate the effect of supplementing different levels of giant mimosa replaced soybean meal on some growth, carcass and meat quality traits of Japanese quails. The experiment was carried on one hundred and sixty 21-day old male birds which randomly divided into 4 treatment groups fed with different experimental diets: control group (T1) and the diet replacing soybean meal with 2, 4 or 6% of giant mimosa (T2, T3 and T4, respectively). There were 4 replicates of each treatment (10 birds per replicate). The results showed that the growth performance of T2, T3 and T4 were not statistically significantly different compared with control group (p>0.05). The T1 group had the significant highest values of live weight (p<0.05), whereas, the T3 group tended to have more carcass yield than the others. The meat of T2 showed the maximum L*, while the highest a* and b* were found in T3 meat (p<0.05). Considering water holding capacity, the minimum drip or thawing losses was found in T3 and T4, respectively (p<0.05). The present results indicated that replacement of soybean meal with 4% giant mimosa tended to improve carcass characteristics and meat quality without adverse effects on growth performance in Japanese quails.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245540/167857
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยไมยราบยักษ์ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและเนื้อของนกกระทาญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การตอบสนองของถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ ต่อสภาพที่ขาดน้ำ การเจริญเติบโต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และคุณภาพซากและเนื้อของไก่เบตงภายใต้ระบบการเลี้ยงที่ต่างกัน การเจริญเติบโต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และคุณภาพซากและเนื้อของไก่เบตงภายใต้ระบบการเลี้ยงที่ต่างกัน สมรรถภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพของไก่ลูกผสมพื้นเมืองที่เลี้ยงในศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง ผลของการใช้กากถั่วเหลืองในสูตรอาหารปลาช่อนต่อการเจริญเติบโตของและต้นทุนการผลิต ผลการใช้กากเนื้อในเมล็ดปาล์มระดับสูงในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพ การเจริญเติบโตและลักษณะซากของเป็ดเทศสายพนธุ์กบินทร์บุรี อิทธิพลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของสุกรพันธุ์กระโดน ผลของของการเสริมข้าวแดงจากเชื้อราโมแนสคัสในอาหารนกกระทาไข่ที่มีต่อคุณภาพซาก และค่าทางโลหิตวิทยาในนกกระทาญี่ปุ่น การคัดเลือก Bacillus spp. ที่สามารถละลายฟอสฟอรัสเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของถั่วเหลือง การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่ไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก