สืบค้นงานวิจัย
ผลของอาหารผสมเสร็จหมักจากเศษเหลือสับปะรดต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม
พรพรรณ แสนภูมิ - มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชื่อเรื่อง: ผลของอาหารผสมเสร็จหมักจากเศษเหลือสับปะรดต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of fermented total mixed ration (FTMR) from pineapple wastes on growth performance and nutrients digestibility in crossbred goat
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรพรรณ แสนภูมิ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อนันท์ เชาว์เครือ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการศึกษาวิจัยพบว่า อาหาร FTMR จากกากสับปะรดมีปริมาณเยื่อใยสูงกว่าอาหาร FTMR จากเปลือกและใบสับปะรด แต่อาหาร FTMR จากกากสับปะรดมีค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง (68.04%) สูงกว่าอาหาร FTMR จากเปลือก (57.29%) และใบสับปะรด (55.46%) แต่ในทางตรงกันข้ามอาหาร FTMR จากกากสับปะรดมีปริมาณผลผลิตแก๊สสะสมต่ำกว่าอาหาร FTMR จากเปลือกและใบสับปะรด และอาหาร FTMR จากกากสับปะรดมีปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนและกรดไขมันระเหยง่ายทั้งหมดสูงกว่าอาหาร FTMR จากเปลือกและใบสับปะรด โดยปริมาณกรดไขมันที่ระเหยง่ายมีค่า 167.76, 159.07 และ185.39 mmol/l ตามลำดับ นอกจากนี้ปริมาณการกินได้ของแพะแต่ละกลุ่มการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) โดยแพะที่ได้รับกระถินสดร่วมกับอาหารข้นมีปริมาณการกินได้สูงกว่าแพะที่ได้รับอาหาร FTMR แต่อย่างไรก็ตามสมรรถนะการเจริญเติบโตและสัมประสิทธิ์การย่อยได้โภชนะของแพะในแต่ละกลุ่มการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ปริมาณไนโตรเจนของแพะแต่ละกลุ่มการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ยกเว้นปริมาณไนโตรเจนที่ได้รับ โดยแพะที่ได้รับกระถินสดร่วมกับอาหารข้นจะมีปริมาณไนโตรเจนที่ได้รับสูงกว่าแพะที่ได้รับอาหาร FTMR (P<0.01) ส่วนปริมาณยูเรียไนโตรเจนและกลูโคสในกระแสเลือดของอาหาร FTMR แต่ละกลุ่มการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ที่ชั่วโมง 0 และ 4 ตามลำดับ โดยแพะที่ได้รับกระถินร่วมกับอาหารข้นจะมีปริมาณยูเรียไนโตรเจนและกลูโคสในกระแสเลือดสูงกว่าแพะที่อาหาร FTMR และสามารถสรุปได้ว่า อาหาร FTMR จากเศษเหลือสับปะรด (เปลือก ใบ และกาก) ในอัตราส่วน 60 : 40 สามารถนำมาสามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกสำหรับการนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูแล้งหรือช่วงขาดแคลนอาหารหยาบได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการย่อยได้และสมรรถนะการเจริญเติบโตในแพะลูกผสม ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้ คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง สามารถทำอาหาร FTMR ไว้สำหรับเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ เพื่อประหยัดแรงงานให้การเลี้ยงสัตว์ได้ ตลอดจนยังสามารถเก็บไว้ใช้เลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูแล้งหรือช่วงขาดแคลนอาหารหยาบไ
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-08-10
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-08-09
เอกสารแนบ: https://epms.arda.or.th/src/Research/OldSummaryExSummary.aspx?ID=10306
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของอาหารผสมเสร็จหมักจากเศษเหลือสับปะรดต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม
มหาวิทยาลัยศิลปากร
9 สิงหาคม 2561
เอกสารแนบ 1
ผลของอาหารไก่เนื้อและอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ของไก่พื้นเมืองไทย (ประดู่หางดำ ชั่วรุ่นที่ 5) ผลของระดับการใช้เปลือกตาลหมักร่วมกับเปลือกสับปะรดทดแทนกระถินเพื่อเป็นอาหารหยาบทดแทนในช่วงฤดูแล้งต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม ผลของความเข้มข้นของโคลชิซีนต่อการเจริญเติบโต ของต้นกล้าสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ผลของการใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ผลของการใช้รำ เดือยทดแทนรำ ข้าวในอาหารต่อสมรรถนะ การเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ผลของปลายเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี ผลของโปรตีนที่กินได้ต่อศักยภาพในการเจริญเติบโตและความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะในโคเนื้อลูกผสมบราห์มัน ผลของการเสริมเอนไซม์โปรติเอสในอาหารต่อการเจริญเติบโตและสัมประสิทธิ์การย่อยอาหาร ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ผลของการจัดการการให้อาหารแบบขั้นบันใดในช่วงก่อนวัยเจริญพันธุ์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและค่าเมทาโบไลท์ในเลือดแพะ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก