สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษาดัชนีเก็บเกี่ยวผลอาโวกาโด
ชินวัฒน์ ยัพวัฒนพันธ์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาดัชนีเก็บเกี่ยวผลอาโวกาโด
ชื่อเรื่อง (EN): The Study ofHarvesting Index in Avocado.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชินวัฒน์ ยัพวัฒนพันธ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาดัชนีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับอาโวกาโดพันธุ์ 4 พันธุ์ได้แก่ พันธุ์ Booth 7 Booth 8 Buccaneer และ Hass ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง จังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ทำการเลือกต้นอาโวกาโดพันธุ์ละ 5 ต้น ติดเครื่องหมายที่ดอก เก็บเกี่ยวผลมาทำการบ่มหลังจากดอกบาน 180 วัน ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 10 ผล จากผลการทดลองพบว่า การนับอายุหลังจากดอกบานเป็นดัชนีการเก็บเกี่ยวอาโวกาโดที่แม่นยำที่สุด โดยอาโวกาโดพันธุ์ Booth 7 สามารถเก็บเกี่ยวผลได้หลังจากดอกบาน 171 วัน อาโวกาโดพันธุ์ Booth 8 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 177 วัน หลังจากดอกบาน อาโวกาโดพันธุ์ Buccaneer ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง มีอายุการเก็บเกี่ยวผล 181 วันหลังจากดอกบาน อาโวกาโดพันธุ์ Buccaneer ที่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง มีอายุการเก็บเกี่ยวผล 187 วันหลังจากดอกบาน อาโวกาโดพันธุ์ Hass ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริงมีอายุการเก็บเกี่ยวผล 242 วันหลังจากดอกบาน และอาโวกาโดพันธุ์ Hass ที่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง มีอายุการเก็บเกี่ยวผล 251 วันหลังจากดอกบาน นอกจากนี้ยังใช้เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งเป็นดัชนีการเก็บเกี่ยวอาโวกาโดได้ อาโวกาโดพันธุ์ Booth 7 และ Booth 8 มีน้ำหนักแห้งที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว 14.76% และ 16.51 อาโวกาโดพันธุ์ Buccaneer ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริงมีน้ำหนักแห้งที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว 17.17% ขณะที่อาโวกาโดพันธุ์ Buccaneer ที่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง มีน้ำหนักแห้งที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว 17.22% ผลอาโวกาโดพันธุ์ Hass ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริงมีน้ำหนักแห้งที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว 24.72% ผลอาโวกาโดพันธุ์ Hass ที่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้งมีน้ำหนักแห้งที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว 28.98% ลักษณะภายนอกและภายในของผลอาโวกาโด เช่น สีผล สีเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดไม่แนะนำให้นำมาใช้เป็นดัชนีเก็บเกี่ยวผลอาโวกาโด เช่นเดียวกับความถ่วงจำเพาะของผล
บทคัดย่อ (EN): The study of harvesting index of 4 cultivars of Avocado; Booth 7, Booth 8, Buccaneer and Hass at Tung Rueng research station and Khun Huay Hang, Chiang Mai. 5 tree of each avocado cultivars were selected, flowers were tagged and the fruit were harvested after 180 days after blooming every 10 days and 10 fruit per day. The result showed that the date after blooming is precise harvesting index of avocado, Booth 7 cultivar can be harvested at 171 days after blooming and 177 days after blooming in Booth 8 cultivar. Buccaneer cultivar at Tung Rueng can be harvested at 181 days after blooming while Buccaneer cultivar at Khun Huay Hang can be harvest at 187 days after blooming. Hass cultivar at Tung Rueng can be harvested at 242 days after blooming while Hass cultivar at Khun Huay Hang can be harvest at 251 days after blooming. The percentage of dry weight can be harvesting index of 4 cultivars. The suitable dry weight of Booth 7 and Booth 8 cultivars are 14.76 and 16.51. The suitable dry weight of Buccaneer cultivar at Tung Rueng and Khun Huay Hang are 17.17 and 17.22%, While the suitable dry weight of Hass at Tung Rueng and Khun Huay Hang are 24.72% and 28.98%. The external and internal characteristic of the fruit such as fruit color, seed color, seed coat, are not recommend to use for harvesting index, the same as fruit gravity.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษาดัชนีเก็บเกี่ยวผลอาโวกาโด
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
โครงการวิจัยเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าอาโวกาโดและการปลูกอาโวกาโดบนพื้นที่สูง การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของอาโวกาโดบนพื้นที่สูง โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลโครงการหลวง โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลโครงการหลวง โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวสินค้าสำคัญของโครงการหลวง โครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเสาวรสหวาน ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของอาโวกาโดบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าอาโวกาโดและการปลูกอาโวกาโดบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก