สืบค้นงานวิจัย
การใช้ไคโตซานในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ (ระยะที่ 2)
ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: การใช้ไคโตซานในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ (ระยะที่ 2)
ชื่อเรื่อง (EN): Application of chitosan on the control of plant disease pathogen on seeds (Phase 2)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): SONGSIN PHOTCHANACHAI
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของไคโตซานที่ความเข้มข้น 0.2 – 0.8 เปอร์เซ็นต์ ในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum, Rhizoctonia solani และ Pythium sp. สาเหตุโรคพืชที่สำคัญในมะเขือเทศ ข้าว และแตงกวาตามลำดับ โดยทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์เมื่อผ่านการแช่ด้วยสารละลายไคโตซาน แช่น้ำกลั่น (ชุดควบคุม 1) และเมล็ดที่แช่กรดอะซิติก 0.5 เปอร์เซ็นต์ (ชุดควบคุม 2) ผลการทดลองพบว่า เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศที่คลุกและไม่คลุกสารละลายสปอร์เชื้อรา F. oxysporum แล้วนำมาแช่ด้วยสารละลายไคโตซานความเข้มข้น 0.8 เปอร์เซ็นต์ มีเปอร์เซ็นต์ความงอก ดัชนีการงอก และต้นกล้าอยู่รอดสูงที่สุด แต่ลดการปนเปื้อนเชื้อราที่เกิดกับเมล็ดได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับสารละลายไคโตซาน 0.6 เปอร์เซ็นต์ กรดอะซิติก 0.5 เปอร์เซ็นต์ (ชุดควบคุม 2) และน้ำกลั่น (ชุดควบคุม 1) สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่ด้วยสารละลายไคโตซาน 0.4 และ 0.6 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดเพิ่มขึ้นมากกว่าการที่แช่ด้วยน้ำกลั่น และกรดอะซิติก 0.5 เปอร์เซ็นต์ แต่เมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่สารละลายไคโตซานแล้วนำมาเพาะบนกระดาษเพาะเมล็ดที่ปนเปื้อนเส้นใยเชื้อรา R. solani มีเปอร์เซ็นต์การอยู่รอดของต้นกล้าไม่แตกต่างจากชุดควบคุมทั้งสอง เช่นเดียวกันกับเมล็ดพันธุ์แตงกวาที่แช่สารละลายไคโตซาน 0.2 เปอร์เซ็นต์กระตุ้นให้เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกและดัชนีการงอกสูงที่สุด รองลงมาคือ เมล็ดที่แช่กรดอะซิติก 0.5 เปอร์เซ็นต์ และแช่ด้วยน้ำกลั่น แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการลดการเข้าทำลายของเส้นใยเชื้อรา Pythium sp. ที่ปนเปื้อนบนกระดาษเพาะเมล็ดได้ ดังนั้น สารละลายไคโตซานที่ความเข้มข้นสูงกว่า 0.8 เปอร์เซ็นต์น่าจะสามารถนำไปใช้และมีศักยภาพในการลดการเข้าทำลายโรคพืชทั้ง 3 ชนิดในต้นกล้าได้
บทคัดย่อ (EN): This research aims to study the efficacy of chitosan solution (0.2 – 0.8%) on controlling Fusarium oxysporum, Rhizoctonia solani and Pythium sp., which are important plant pathogens in tomatoes, rice and cucumberes, respectively. The seeds soaked in chitosan solution, distilled water (control 1) or 0.5% acetic acid (control 2) were determined for their qualities. The results showed that tomato seeds with or without inoculation with spore suspension of F. oxysporum before soaking with 0.8% chitosan solution presented the greatest germination percentage, germination index and seedlings survival, but lower seed infection compared to seeds treated with 0.6% chitosan, 0.5% acetic acid (control 2) and distilled water (control 1). In the case of rice seeds, soaking the seeds with 0.4 and 0.6% tended to enhance the germination percentage compared to soaking with distilled water and 0.5% acetic acid. But, the rice seeds soaked with chitosan solution did not significantly enhance seedling survival on the blotter paper contaminated with mycelia of R. solani compared to the control treatments. Similarly to cucumber seeds, 0.2% chitosan induced the highest germination percentage and germination index followed by 0.5% acetic acid and distilled water. However, 0.2% chitosan did not decrease seed infection from the mycelia of Pythium sp. contaminated in germination paper. Therefore, chitosan concentrations beyond 0.8% are able to be used and will potentially reduce seedling infection from those 3 plant pathogens.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 296,900.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ไคโตซานในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ (ระยะที่ 2)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2555
การใช้ไคโตซานในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ (ระยะที่ 1) การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อราในข้าวแบบรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่าง โดยใช้ Near infrared spectroscopic-Chemical imaging ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโต การฟื้นตัวจากการขาดน้ำและการเพิ่มผลผลิตของข้าวนาน้ำฝน 5 พันธุ์ แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก