สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ปรากฏของโภชนะ สมรรถภาพการผลิตและคุณภาพของไข่ไก่
มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ปรากฏของโภชนะ สมรรถภาพการผลิตและคุณภาพของไข่ไก่
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Schizochytrium sp. Supplementation in Laying Hen Diets on Apparent Nutrient Digestibility, Productive Performance and Egg Quality
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Manatsanun Nopparatmaitree
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารไก่ไข่ โดยใช้ไก่ไข่สายพันธุ์ Hisex Brown® จำนวน 180 ตัว อายุ 30 สัปดาห์ เลี้ยงในโรงเรือนเปิดภายใต้สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) ประกอบด้วย 4 ทรีทเมนต์ 3 ซ้ำ ดังนี้ การเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp.ในอาหารไก่ไข่ที่ระดับ 0, 5, 10 และ 20 กรัมต่อกิโลกรัม โดยไก่ไข่จะได้รับอาหารแบบจำกัด 110 กรัมต่อตัวต่อวันที่มีค่าโภชนะโปรตีนหยาบเท่ากับ 18 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ 2,850 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม (ME) ใช้เวลาทดลองทั้งหมด 3 ช่วง ช่วงละ 28 วัน และให้น้ำสะอาดแบบเต็มที่ ผลการทดลองพบว่าการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารไก่ไข่ไม่มีผลต่อค่าการย่อยได้ของโภชนะในอาหารไก่ไข่รวมถึงไม่ส่งผลต่อสมรรถนะการผลิตของไข่ไก่ (P>0.05) การเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อการเพิ่มค่าคะแนนสีของไข่แดง (P<0.05) อีกทั้งการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาวเชิงซ้อน (PUFA และ LC- PUFA) คือ linoleic acid (C18:2n6), linolenic acid (C18:3n3), arachidonic acid (C20:4n6), eicosapentanoic acid (EPA) (C20:5n3), docosa-hexaenoic acid (DHA) (C22:6n3), docosapentaenoic acid (DPA) (C22:5) ในไข่แดง (P<0.01) โดยการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ที่ระดับ 20 กรัมต่อกิโลกรัม ทำให้มีการสะสมกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ในไข่แดงและช่วยเพิ่มสัดส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ต่อ          โอเมก้า 6 สูงสุด (P<0.01) นอกจากนี้ยังพบว่าการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ทุกระดับไม่มีผลต่อเสถียรภาพออกซิเดชั่นของไขมันในไข่ไก่ (TBARS) (P>0.05) การทดลองนี้สรุปว่าการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ที่ระดับ 20 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหารไก่ไข่มีศักยภาพในการผลิตไข่ไก่ที่มีการสะสมของกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3
บทคัดย่อ (EN): The experiment was conducted to examine the utilization of Schizochytrium sp. in laying hen diets. One hundred and eighty laying hens (Hisex Brown®), 30 weeks of age were raised under ambient temperature and assigned in a completely randomized design (CRD) with four dietary treatments and three replications per treatment. Each treatment contains different levels of Schizochytrium sp. as 0, 5, 10, and 20 g/kg. All birds were fed with diets containing 18% of crude protein and 2,850 kcal/kg (ME) of laying hen diets to meet nutrient requirements of poultry according to NRC (1994). Diets were restricted (110 g/h/d) throughout the study in 3 periods (28 day per period) and drinking water was offered ad libitum to the birds. The results showed that nutrients digestibility were not significantly different among levels of Schizochytrium sp. Also, yolk color score of egg was increased (P<0.05) with increasing dietary Schizochytrium sp. In addition, supplementing Schizochytrium sp. resulted in increased but different PUFA and LC- PUFA in egg yolk, mainly linoleic acid (C18:2n6), linolenic acid (C18:3n3), arachidonic acid (C20 : 4n6), eicosapentanoic acid (EPA) (C20:5n3), docosahexaenoic acid (DHA) (C22:6n3), docosapentaenoic acid (DPA) (C22:5) enrichment (P<0.01). The highest amounts of n-3 fatty acid and n3 per n6 ratio in egg yolks were obtained with 20 g/kg Schizochytrium sp on diets. Furthermore, the results also shows that four levels of Schizochytrium sp. has no effect on lipid oxidation (TBARS). The results implied that Schizochytrium sp. could be used as suitable alternative feedstuffs in laying hen diets and 20 g/kg of Schizochytrium sp. has the potential enhance omega-3 fatty acid enrich in egg qualities.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245731/167981
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ปรากฏของโภชนะ สมรรถภาพการผลิตและคุณภาพของไข่ไก่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ วิถีชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์… เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ผลการเสริมบีเทนในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต โลหิตวิทยา คุณภาพไข่ ระดับคอเลสเตอรอล และกรดไขมันในไข่แดง ผลของการเสริมสารสกัดอัญชัน ในอาหารไก่ไข่ โครงการวิจัยพันธุไก่ไข่เพื่อทดแทนการนำเข้า 1.สมรรถภาพการให้ผลผลิตไข่ การเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของไข่โดยการเสริมใบหม่อน และไนอะซิน ในอาหารไก่ไข่ ผลการเสริมผงใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตคุณภาพไข่และ ปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่ ผลการเสริมผงใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตคุณภาพไข่และปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่ อิทธิพลของโปรตีนต่ออัตราการไข่ และรูปร่างลักษณะต่าง ๆ ของแม่ไก่พันธุ์พื้นเมือง โครงการวิจัยพันธุ์ไก่ไข่เพื่อทดแทนการนำเข้า 2. อิทธิพลของพันธุ์ต่อลักษณะคุณภาพไข่และค่าสหสัมพันธ์ปรากฎในไก่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก